คุณคิดว่าเนื้อหาในพระอภัยมณี ขุนช้างขุนแผน ฯลฯ เหมาะสมกับการนำมาสอนเด็กนักเรียนหรือไม่?

กระทู้จากหมวด 'ETC' โดย ffpokemon, 16 พฤศจิกายน 2011.

  1. ffpokemon

    ffpokemon Editor

    EXP:
    1,691
    ถูกใจที่ได้รับ:
    79
    คะแนน Trophy:
    113
    นาน ๆ ทีจะได้มาคุยกันเรื่องจริงจังบ้างนะครับ ^^

    หัวข้อที่ผมอยากจะมาชวนคุยในวันนี้คือเรื่องเกี่ยวกับวรรณคดีไทยหลายเรื่อง (ที่เห็นชัด ๆ เลยก็คือ พระอภัยมณี ขุนช้างขุนแผน อิเหนา) ที่อยู่ในบทเรียนในทุกชั้นเรียน ตั้งแต่ ป.1 ถึง ม.6 และในวรรณกรรมเหล่านี้ล้วนแต่นำเสนอสิ่งผิดศีลธรรมอย่างร้ายแรงสำหรับคนสมัยนี้ เช่น
    • ตัวเอกมีเมียมากมายหลายคน (พระอภัยมณีมี 4, ขุนแผนนี่เพียบ, อิเหนามี 10) มั่วประเวณีกับหญิงสาวในทุกที่ที่ไป พระอภัยมณีมีเพศสัมพันธ์กับสิ่งที่ไม่ใช่มนุษย์ และขุนแผนแอบมีเพศสัมพันธ์กับนางสายทองตอนบวชเป็นเณรอยู่
    • ตัวเอกไม่ได้เลี้ยงดูลูกของตนเองอย่างสมควร หลายครั้งไปออกไข่ทิ้งไว้แล้วก็ไปทำอย่างอื่นต่อโดยไม่สนใจใยดี ทำให้ลูกต้องมาตามหาพ่อ บางคนยิ่งแล้วใหญ่ เช่นขุนแผนถึงกับฆ่านางบัวคลี่ภรรยาของตนพร้อมกับลูกในท้อง เพื่อเอาเด็กมาทำเป็นกุมารทอง แต่น่าแปลกใจว่าแม้จะมีพฤติกรรมเช่นนี้ แต่เด็กนักเรียนกลับถูกสอนว่าคนเหล่านี้น่ายกย่อง กล้าหาญ มีสเน่ห์ ซื่อสัตย์ ฯลฯ
    • แนวคิดความไม่เท่าเทียมกันระหว่างหญิงและชาย ในวรรณคดีเหล่านี้ผู้หญิงนั้นถูกตีค่าให้ต่ำ จะถูกยกให้ใครก็ได้ ไม่มีสิทธิ์เลือก ถ้าผู้ชายมีหลายเมียถือว่าเก่ง แต่ผู้หญิงพอมีสามีใหม่ (เพราะสามีเก่าหายหัวไปไหนไม่รู้) กลับถูกเรียกว่าหญิงแพศยา ต้องถูกประหาร
    • การใช้อำนาจอย่างไม่มีวิจารณญาณ พาทหารไปตายเป็นแสนพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ตอบสนองตัณหาของตัวเอง และสุดท้ายตัวละครเหล่านี้ล้วนได้ดิบได้ดี ผู้คนยกย่อง ได้ครองเมือง
    นอกจากนี้ยังมีสิ่งที่เป็นเนื้อหารุนแรง การบรรยายฉากฆ่ากันอย่างละเอียด การบรรยายฉากร่วมเพศอย่างละเอียด ฯลฯ

    แน่นอนว่าวรรณคดีเหล่านี้ล้วนแต่มีการร้อยเรียงถ้อยคำที่สละสลวย มีการใช้ภาษาที่น่าทึ่งของศิลปินเอกในระดับตำนานที่หาตัวได้ยาก และยังถ่ายทอดแนวคิดของคนสมัยก่อนได้ดี

    แต่ปัญหาก็คือ มันเหมาะสมหรือไม่ที่จะนำสิ่งเหล่านี้มาสอนเด็ก? (โดยเฉพาะเด็กประถม)

    เรามาลองคุยกันมั้ยครับ ว่าการเรียนการสอนวรรณคดีที่มีเนื้อหาเช่นนี้มีความเหมาะสมหรือไม่ หรือว่าจะปรับปรุงการสอนได้อย่างไรบ้าง เช่นเลือกเฉพาะบางตอนที่เหมาะสมมาสอน หรือแต่งเรื่องอื่นที่ดีกว่ามาใช้แทน
  2. taleoftrue

    taleoftrue Well-Known Member

    EXP:
    900
    ถูกใจที่ได้รับ:
    52
    คะแนน Trophy:
    113
    ส่วนตัวว่าเรื่องเนื้อหาไม่เหมาะสมเนี่ย มันเห็นได้จากหลายอย่างรอบตัวฮะ

    ดังนั้นแทนที่จะมานั่งปิดกั้นเด็กๆสู้ใช้เป็นตัวอย่างให้เห็นว่าการกระทำพวกนี้ไม่ใช่เรื่องดีน่าจะดีกว่า
  3. Marioak

    Marioak นักข่าว

    EXP:
    786
    ถูกใจที่ได้รับ:
    4
    คะแนน Trophy:
    88
    เห็นด้วยครับ

    เนื้อหาวรรณกรรมไทยส่วนใหญ่ผมเห็นว่าค่อนข้างไม่เหมาะสมกับเด็กเลยซักนิด ตัวเอกหื่นกาม มีเมียหลายคน เจอผู้หญิงไม่รู้โผล่มาจากไหนจับทำเมียทันที ไข่เสร็จแล้วทิ้ง ฯลฯ
  4. Agleam

    Agleam Member

    EXP:
    246
    ถูกใจที่ได้รับ:
    11
    คะแนน Trophy:
    18
    จากประสบการณ์ส่วนตัว
    ตอนเด็กผมก็ไม่ได้รู้สึกว่ามันไม่เหมาะสมอะไรเลยอะครับ มาคิดว่าพฤติกรรมมันไม่ดีเลยก็ตอนโตแล้วนี่แหละ แล้วผมก็โตมาได้โดยไม่เคยไปผิดลูกเมียใครเค้าด้วยสิ
    ก็เลยคิดว่า ถ้าคนสอนสอนดี มันจะมีสิ่งที่ต้องการจะสอนชัดเจนกว่าพฤติกรรมที่ไม่ดีละมั้งครับ
    สรุป ผมคิดว่าพฤติกรรมอาจจะไม่เหมาะสม แต่เด็กก็จำเป็นต้องเรียนรู้สิ่งที่ไม่เหมาะสมด้วยครับ
    ffpokemon และ pentita ถูกใจสิ่งนี้
  5. Azemag

    Azemag Aze McDowell

    EXP:
    2,368
    ถูกใจที่ได้รับ:
    262
    คะแนน Trophy:
    163
    สำหรับผมนะครับ

    1. การสอนวรรณคดีให้กับเด็ก

    ตัวอย่างวรรณคดีที่พอจะเอามาสอนได้มันก็คงหนีไม่พ้นวรรณคดีที่กล่าวๆมานั่นแหละครับ ครั้นจะให้เอาเรื่องที่ดูดีมีคุณธรรมขึ้นมา ไม่มั่วเมียหน่อยก็ "รามเกียรติ์"

    แต่อันนั้นอย่าว่าแต่เด็กประถมเลยครับ เด็กมหาวิทยาลัยบางคนอ่านแล้วยังมึยตึ๊บเลย

    ปล. ถึงรามเกียรติ์จะไม่มีมั่วเมีย แต่ก็มีมั่วผัวอยู่ดี (หรือจะนับหนุมานที่ไปไข่ทิ้งไว้เยอะแยะดี ?)
    อีกอย่าง รามเกียรติ์เองก็ยังแฝงด้วยความรุนแรง ความเจ้าเล่ห์เพทุบายและมีการโกหกเพื่อให้ได้มาซึ่งผลที่ต้องการอีกด้วย


    2. เนื้อหาในวรรณดคี

    ด้วยเหตุที่วรรณกรรมที่ใช้ในการสอนมันเป็นเรื่องที่แต่งขึ้นในยุคสมัยเก่าที่ระบบสังคมยังมีการกดขี่เพศหญิงและยกย่องเพศชายให้เหนือกว่า การเป็นยอดบุรุษคือมากเมีย เป็นที่เคารพยกย่อง

    แถมกวีเอกของเรา สุนทรภู่ ที่แต่ง "พระอภัยมณี" ก็ขึ้นชื่อเป็นยอดนักรักตัวยง

    ผมว่าเนื้อหาของวรรณกรรมมันเป็นไปตามยุคสมัยนะ


    3. การเรียนการสอนในปัจจุบัน

    มันคงจะดีกว่านี้ถ้าการสอนในโรงเรียนมันไม่ใช่การสอนแบบนกแก้วนุกขุนทอง สอนให้จำมากกว่าเข้าใจ
    และที่สำคัญ "ไม่ได้สอดแทรกกระบวนการคิด" , "สิ่งที่ดีงาม" , "คุณธรรม" , "ค่านิยมที่ถูกต้อง" ให้กับเด็กๆ

    ทุกวันนี้โรงเรียนสอนเด็กเพื่อให้เด็กใช้สอบ เด็กเองก็เรียนเพื่อให้สอบผ่านและเลื่อนระดับไปเรื่อยๆ
    ไม่ใช่การสอนเพื่อ "ความรู้" สักเท่าไรนักในสายตาของผม

    หากคนสอนมีเมตตาธรรมแก่เด็ก ก็ควรสอนและชี้แนะสิ่งดีๆที่สอดแทรกอยู่ในวรรรคดีเหล่านั้น
    ส่วนสิ่งใดที่ดี ไม่เหมาะสม ไม่เหมาะกับยุคสมัยก็ต้องชี้แนะแนว สั่งสอน เพื่อให้เด็กรู้ว่าสิ่งไหนควร/ไม่ควร

    มีเทคนิคการแนะแนวชีวิตให้กับเด็กระหว่างการสอน ไม่ใช่สักแต่ท่อง

    กลอนแปดมีแปดคำ สัมผัสท้าย-สาม
    กาพย์ยานี วรรคหน้าห้า วรรคหลังหก

    อะไรแบบนี้



    จริงๆแล้ว สมัยผมเรียนประถมศึกษา ผมก็เรียนพระอภัยมณีนะ แต่เป็นตอนสุดสาครออกจากเกาะไปเจอชีเปลือย มีการสอดแทรกเรื่องการมองคนดังบทที่ว่า

    "แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์ มันแสนสุดลึกล้ำเหลือกำหนด ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด ยังไม่คดเท่าหนึ่งในน้ำใจคน"


    ตอนเรียนม.ต้น เรียนขุนช้างขุนแผน ก็เรียนตอนพลายแก้วแต่งงาน
    ฉากเนื้อหาผมจำได้ลางๆว่าเป็นเรื่องพิธีทางศาสนา การช่วยเหลือในงานบุญ การสร้างบ้านแปลงเรือน

    ผมว่าเขาก็มีการกำหนดและเลือกเนื้อหาที่สอนพอสมควรนะ
    แต่ภาพรวมของวรรณคดีไทย(โบราณ)มันเทไปทางเรื่องอย่างว่าเสียเยอะ มันก็เลยเป็นที่พูดถึงกันว่า
    "พระอภัยมณี = คนซั่มกับเงือก"

    ในภาพรวมสำหรับผมนะครับ มันอยู่ทีระบบการสอนและผู้สอนเป็นหลัก

    เราอยากให้เด็กได้รับอะไรจากการเรียนการสอนวรรณคดี ?

    ความซาบซึ้งกินใจของเนื้อหา ? การใช้ภาษาที่คล้องจองสละสลวย ? คุณธรรมความดี ?
    หรือว่าให้เด็กจำได้แต่เพียงว่า "วรรณคดีเรื่องนี้พระเอกมีเมียกี่คน"
    ffpokemon, swanton, taleoftrue และ อีก 2 คน ถูกใจสิ่งนี้
  6. shinkyoto

    shinkyoto Well-Known Member

    EXP:
    580
    ถูกใจที่ได้รับ:
    3
    คะแนน Trophy:
    88
    อย่างน้อยก็ดีกว่าละครหลังข่าวแล้วกัน ในยุคที่ของดีไม่ได้มีสำหรับทุกคน(ที่ไม่มีกำลังจะจ่าย)
  7. Aki

    Aki Paradox Observer

    EXP:
    485
    ถูกใจที่ได้รับ:
    41
    คะแนน Trophy:
    48
    มาแบบสั้น ๆ ง่าย ๆ (ก่อน?)
    พูดยังกับจะมีแบบยาว ๆ แบบนั้นหล่ะ ฮา

    บางทีคำตอบมันก็คงชัดเจนในตัวมันเองอยู่แล้วหล่ะ...


    โดยส่วนตัว ผมขอตอบในแง่ประเด็นความคิดเห็นปนแนวคิดทางจิตวิทยาเล็ก ๆ

    ตามที่แฟฟถามไว้ในต้นกระทู้ว่า...

    อ้างอิงจากคำถามนะครับ
    คำว่า "เหมาะสม" นี้เรากำลังใช้เกณฑ์อะไรในการพิจารณา และแน่นอนว่าขอบเขตส่วนใหญ่ที่เราพูดถึง (อย่างน้อยก็ในกระทู้นี้) ก็คือ ความเหมาะสมทางศีลธรรมจรรยาของเนื้อหา ความเหมาะสมของการยกย่องและมีทรรศนะต่อตัวละครทางวรรณคดีในทิศทางที่ดี (และควรเป็นแบบอย่างเพื่อให้เด็กน้อยผู้น่ารักปฏิบัติตาม ?)

    การ เรียนรู้ในทางจิตวิทยาเพื่อลอกเลียนแบบพฤติกรรม (และส่วนมากมีแนวโน้มที่จะไปส่งผลต่อความคิดและเจตคติ) ขึ้นอยู่กับความเข้มและความสำคัญขององค์ประกอบหลาย ๆ อย่าง ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ "ตัวแบบ"

    และผมไม่คิดว่าปัจจุบันนี้ "พระอภัยมณี" จะเป็นตัวแบบที่สำคัญเท่ากับ "ดาราเกาหลี"
    เมื่อเป็นแบบนั้น... เด็กและนักเรียนก็ไม่ได้พิจารณา "ตัวละครในวรรณกรรม" ว่าสำคัญมากพอที่จะสนใจไปเรียบร้อยแล้ว
    กระบวนการและขั้นตอนที่จะส่งต่อไปให้เกิดพฤติกรรมก็ไม่มี

    -- ทุกวันนี้เราถึงเจอแคมเปญที่ว่า "อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย" --

    ความสำคัญในการพิจารณาการควรเอาเป็นเยี่ยงอย่างของตัวละครในวรรณคดีจึงตกไปในระดับหนึ่ง


    มองในมุมเนื้อหา... ฆ่า ข่มขืน พ่อฆ่าลูก... ลูกข่มขืนแม่... แค่ทุกวันนี้เปิดทีวีก็มีให้เห็นว่าน่าสยดสยองกว่าในวรรณคดีเป็นไหน ๆ

    บางทีเราก็คงไม่สามารถป้องกันให้ผ้าขาวของเด็กไม่เลอะสีได้

    เสียแต่ว่าใครจะแต้มมันลงไปมากกว่า


    ความใส่ใจและความหวังดีของผู้ใหญ่เป็นเรื่องที่มีมากันนาน ระหว่างยุคสู่ยุคแล้วครับ และผมคิดว่ามันเป็นเรื่องดีที่เราเอาเรื่องนี้มาพิจารณาและถกกันอย่างมีสาระ เพียงแต่ว่า...
    เราต้องมั่นใจในหลาย ๆ สิ่งที่ "เรา ณ ขณะนี้" แตกต่างไปจาก "เรา ณ ขณะนั้น"
    เพราะ บางครั้ง เราก็อาจเผลอไผลและหลงลืมความรู้สึกของเราในสมัยก่อนได้ และทำสิ่งที่ตอนนี้เราเชื่อว่ามันเป็นเรื่องที่เหมาะสม แม้ว่าจะเคยคัดค้านหัวชนฝาในตอนนั้น

    ผลลัพธ์ที่เกิดจากการใส่ใจมากเกินไป
    ก็คือ
    "การเซนเซอร์นมชิสุกะ"

    สิ่ง ที่ผมเชื่ออย่างหนึ่งก็คือ เจ้าหน้าที่ของกระทรวงต่าง ๆ ไม่ได้มีเจตนาไม่ดีหรอก (เพราะถึงทำแบบนั้นไป แนวโน้มที่เขาจะได้ผลประโยชน์จากการปฏิบัติหน้าที่ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับ นโยบายระดับชาติและจะนำเงินมาให้ก็ไม่มี (ไม่เหมือนพวกเมกะโปรเจคต่าง ๆ) แถมยังโดนเด็กถอนหงอกกันเป็นแถว ๆ)
    แต่มันกลายเป็นเรื่อง "ปัญญาอ่อน" สำหรับคนรุ่นใหม่เสมอ

    เมื่อเราเปลี่ยนสังคมและระบบวิธีการเรียนรู้ของสังคมไม่ได้...
    เราก็ไม่ควรปิดบังมันเพราะคิดว่ามันจะทำให้สถานที่ที่เราเคยอยู่นั้นผิดแผกไป...

    โลกและสังคมหมุนไปแบบที่มันเป็นเสมอ

    แบบที่คนบางคนมองว่ามันดี
    และคนบางคนมองว่ามันไม่ดี

    บ่อย ครั้ง... เราแทนตัวเองเป็นผู้เชี่ยวชาญการคงอยู่และความเหมาะสมของโลก... จนกลายเป็นชาย-หญิงชราที่ไม่ยอมให้มันเปลี่ยน และไม่เชื่อว่ามันจะเป็นเรื่องที่ดีได้


    สำหรับผม... มันสำคัญจริง ๆ ในประเด็นแบบนี้
    แต่ก่อนหน้าที่เราจะพิจารณาว่า เด็กได้รับอิทธิพลจากบทบาทของเนื้อหาทางวรรณกรรมมากน้อยแค่ไหน
    เราควรพูดถึง... จำนวนเด็กที่ไม่สามารถอ่านออกเขียนได้มีมากน้อยแค่ไหนก่อน

    เพราะเมื่อเป็นแบบนั้น
    เมื่อเด็กไม่สามารถรับข้อมูลจากตัวอักษรได้
    ก็มีแต่เพียง การมองเท่านั้นที่เด็กจะใส่ใจ และจดจำ

    ทีวี ดารา นิตยสาร ภาพยนตร์ แฟชั่น หนังเกาหลี

    พวกนี้... แค่พูด-ฟังภาษาไทยออก เหล่าเด็กน้อยที่เราหวงแหนก็รับรู้ไปเต็ม ๆ และอย่างง่าย ๆ
    มากกว่าการนั่งอ่านวรรณกรรมไทย


    แล้วเราก็มองว่ามัน... สำคัญ

    แต่เด็กสมัยใหม่จะบอกว่า "พวกเรานั้นแก่กะโหลกกะลา"

    เหมือนที่บางทีเราอาจจะเคยทำกับคนอื่น


    เราไม่มีทางรู้หรอกว่า... ถ้าเราเป็นเขา... เราจะไม่ทำแบบนั้น

    จริงไหมครับ ?
    ffpokemon, swanton, Azemag และ อีก 1 คน ถูกใจสิ่งนี้
  8. Ryuto

    Ryuto 終わる道、始まる夢

    EXP:
    964
    ถูกใจที่ได้รับ:
    16
    คะแนน Trophy:
    88
    เข้ามาดูอะไรสั้นๆข้างบน....
  9. swanton

    swanton Dragon on Board

    EXP:
    1,424
    ถูกใจที่ได้รับ:
    69
    คะแนน Trophy:
    113
    มันตอบไปกันขนาดนั้นแล้ว เราจะเอาอะไรไปตอบอีกล่ะเนี่ย (ฮา)
  10. ffpokemon

    ffpokemon Editor

    EXP:
    1,691
    ถูกใจที่ได้รับ:
    79
    คะแนน Trophy:
    113
    ดูท่าทางบอร์ดเราจะชอบอะไรแบบนี้กันนะ (นี่ขนาดตอบสั้น ๆ แล้วนะ :p
    แต่เอาจริงแล้วเหมือนคุ้น ๆ ว่าเคยเจอท่านประทานร่าย A4 เจ็ดหน้าจบมาแล้ว เพราะฉะนั้นนี่คงสั้นอ่ะแหละ ฮ่า ๆ)

    ประเด็นที่ทุกท่านตอบมานั้นน่าสนใจมากครับ ผมอ่านแล้วทำให้เข้าใจหลักการมากขึ้นพอสมควรเลย

    ผมเห็นด้วยว่าผู้สอนกับวิธีการสอนนั้นสำคัญมาก เพราะถ้าผู้สอนสอนโดยไม่เพียงแค่ให้ท่องจำ แต่สอนแบบให้คิดไปด้วย
    พอตัวละครมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ถ้าหากครูผู้สอนอธิบายไปด้วยว่านี่คือสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เด็กก็จะเข้าใจและรู้ว่านั่นไม่ดี
    แม้ว่าตัวละครเหล่านั้นจะได้รับการชื่นชม ได้รับสิ่งที่ดีจากการทำสิ่งแย่ ๆ เหล่านั้น แต่นั่นเพราะสังคมสมัยก่อนกับสมัยนี้ไม่เหมือนกัน

    แต่มันก็จะมีคำถามต่อมาว่า "แล้วทำไมเราต้องเอาเรื่องที่คนทำไม่ดีแล้วได้ดีมาให้เด็กดู แล้วค่อยอธิบายว่านั่นมันไม่ดี?"
    ผมเห็นด้วยว่าเราควรสอนเด็กทั้งว่าอะไรดีและไม่ดี ไม่ใช่สอนเด็กให้เป็นพวกโลกสวย
    แต่ถ้าเราจะสอนว่ามันไม่ดีอยู่แล้ว ทำไมเราไม่เอาเรื่องที่คนทำชั่วแล้วได้รับผลไม่ดีมาสอนซะเลยล่ะ? จะตรงไปตรงมากว่ารึเปล่า?

    ซึ่งถ้าผมต่อประเด็นแบบนี้ แสดงว่าประเด็นเรื่องเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมนั้นผ่านไปแล้ว คือผมเห็นด้วยกับทุกท่านว่า
    "มันมีความเหมาะสมพอสมควร" แต่เรากำลังจะต่อประเด็นไปถึงว่า "แล้วมันมีอะไรที่เหมาะสมกว่านี้ไหม" ครับ
    ทุกท่านเห็นว่าอย่างไรครับ?

    =========

    สำหรับเรื่องพฤติกรรมเลียนแบบ ผมไม่ได้คิดว่าเด็กอ่านวรรณคดีพวกนั้นแล้วจะพยายามทำตัวเลียนแบบตัวเอกเหล่านั้นหรอกนะครับ เพราะผมเชื่อว่าเด็ก ๆ มีวิจารณญาณมากพอ แยกแยะออกว่าอะไรคือเรื่องแต่ง อะไรคือเรื่องจริง

    หลักฐานก็คือ ตอนพวกเรายังเด็ก เราและเพื่อน ๆ ทุกคนก็แยกแยะออก ไม่เห็นมีใครเลียนแบบตัวละครเหล่านั้นซักคน นอกจากนั้นก็ยังมีงานวิจัยชื่อ Video Games and Youth Violence: A Prospective Analysis in Adolescents ของคุณ Ferguson ในปี 2010 ชี้ให้เห็นว่าเด็กและวัยรุ่นนั้นแยกแยะได้และไม่มีพฤติกรรมเลียนแบบ โดยใช้ตัวอย่างเป็นเด็กที่เล่นเกมที่ใช้ความรุนแรง

    แต่การที่เด็กแยกแยะได้ ไม่เลียนแบบแล้วจะแปลว่ามันเหมาะสมนะครับ อย่างแรกเลยก็คือในงานวิจัยนั่นคนที่เค้าเล่นเกมเค้าเลือกเองนะครับว่าจะ เล่น แต่กับแบบเรียนนี่เด็กไม่มีสิทธิเลือก แต่โดนบังคับให้เรียนเรื่องที่ผู้ใหญ่กำหนดให้ (จะไม่เอาก็ไม่ได้ สอบตก) อย่างที่สองก็คือการที่ไม่เลียนแบบไม่ได้แปลว่าจะไม่มีค่านิยมผิด ๆ เช่นการไม่เท่าเทียมกันทางเพศ ฝังลงไปในจิตใต้สำนึก ซึ่งมีงานวิจัยที่ชี้ว่าแม้คนส่วนใหญ่จะซึนเดเระว่าตัวเองเห็นคนเท่าเทียมกัน แต่ที่จริงแล้วคนส่วนใหญ่ล้วนแอบเหยียดเพศ เหยียดชนชั้นอยู่ลึก ๆ ด้วย

    ==========

    สำหรับประเด็นท่านประทาน ผมอ่านที่ท่านประทานเขียนมาแล้วจุกไปเลยทีเดียว
    เพราะว่าเรากำลังพูดถึงเรื่องว่า "เหมาะสมหรือไม่เหมาะสมอยู่" แต่ท่านประทานชี้ให้เห็นว่า
    ก่อนที่เราจะบอกว่าอะไรเหมาะสมไม่เหมาะสม เรานิยามได้รึยังว่าเหมาะสมมันคืออะไร

    ผมอ่านที่ท่านประทานว่ามาแล้วก็ยอมรับจริง ๆ ว่าผมเอง (และคนอีกหลายคน) ก็ไม่อาจตอบได้แน่ชัดว่า "อะไร ถึงจะเรียกว่าเหมาะสม"
    จะบอกว่า "สิ่งที่ทำให้เด็กเรียนแล้วโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ" ก็จะเจอคำถามต่อไปอีกว่า "แล้วอะไรคือคุณภาพ?"
    จะบอกว่า "สิ่งที่คนส่วนใหญ่ยอมรับ" "วัฒนธรรม" ของพวกนี้มันก็ไม่แน่ชัดเอามาก ๆ

    ส่วนตัวแล้วผมเองเป็นคนที่คงเส้นคงวา อะไรที่ผมเคยเห็นว่าดีตอนเด็ก ๆ ตอนนี้ผมก็ยังรู้สึกว่าสิ่งเหล่านั้นดีอยู่
    อะไรที่ผมเคยเห็นว่าแย่ ตอนนี้ผมก็ยังรู้สึกว่าแย่อยู่
    แต่ต่อให้ผมพูดความเหมาะสมสำหรับผม มันก็ยังเป็นของผมคนเดียวอยู่ดี

    บางทีสำหรับคำว่าเหมาะสมเราอาจจะต้องมองไปที่สิ่งที่ดูห่างออกไปจากคำว่าเหมาะสมเล็กน้อย แต่พอจะนิยามได้แน่ชัดอาจจะดีกว่า
    เช่น "ทำให้เด็กโตขึ้นมาเป็นคนที่เคารพกฏหมาย" "ทำให้เด็กโตมาไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น" "ทำให้เด็กโตมามีความสามารถที่จะประกอบอาชีพ" พวกนี้ดูว่าจะนิยามให้ชัดเจนได้ง่ายกว่ากระมังครับ
  11. ultimaweapon

    ultimaweapon ULTIMA WEAPON

    EXP:
    4,247
    ถูกใจที่ได้รับ:
    8
    คะแนน Trophy:
    88
    ตอนเรียนสมัยนั้น ก็ไม่เคยคิดลึกถึงเรื่องวิธีการนำเสนอ การฆ่าฟัน เรื่องผิดวัฒนธรรมจรรยา บอกตรงๆเหมือนให้อ่านไรไปสอบ ก็อ่านไป ไม่ได้ไปคิดเลยว่าเนื้อเรื่องแบบนี้มันควรจะให้วัยอย่างเราเรียนรึเปล่า
    มาหลังตอนที่โตแล้ว กลับมาอ่านเจอบางบทบางฉากนี่ก็ เออ สมัยก่อนเรียนก็ไม่คิดเนอะ ทำไมตอนนี้ โน่นนี่ก็เลว ไอ้ตัวนี้ก็หื่น เห็นภาพเป็นฉากๆ ใครจะปล้ำใครไรงี้ 55
  12. Aki

    Aki Paradox Observer

    EXP:
    485
    ถูกใจที่ได้รับ:
    41
    คะแนน Trophy:
    48
    ท่าทางเรพนี้จะยาวแล้วหล่ะครับ... (ฮา) แต่คงไม่ถึงเจ็ดหน้าเอสี่หรอกมั้ง ?

    ก่อนที่จะแสดงความเห็นต่อตามประเด็นของกระทู้เกี่ยวกับ "ความเหมาะสมของเนื้อหาการสอนและหลักสูตร"

    ผมขอกลับมาเคลียร์ความคิดเห็นของผมในคอมเม้นท์ที่แล้วเสียก่อน
    เพราะขนาดผมกลับมาอ่านเองยังรู้สึกไม่พอใจในคำตอบตัวเองเลย กร๊ากกกก
    คาดไว้อยู่แล้วว่าการอธิบายความเห็นแบบสั้น ๆ (เนื่องจากรีบ) สำหรับผมมันสื่อเนื้อหาและเจตนาผิดจากการใส่รายละเอียดจริง ๆ ด้วย

    แล้วก็คงจะยาวกว่าเดิมเพราะจะขอแสดงความเห็นตามประเด็นที่แฟฟยกขึ้นมาอีก
    (สำหรับคนขี้เกียจอ่าน กรุณาลากผ่านไปเลยครับ... มันจะเต็มไปด้วยความปวดหัวและศัพท์เทคนิคทางจิตวิทยาอีกมาก ฮ่า ๆ ๆ)

    ปล. สำหรับการตอบประเด็นที่แฟฟยกขึ้นมาหลังจากผมพูดไปนั้นก็เพื่อความชัดเจนในความคิดเห็นของผมก่อนหน้านี้นะครับ ไม่ได้เกี่ยวกับการโน้มน้าวให้เชื่อตามหลักการ (เพราะคนเรามีขอบเขตของการคิดที่แตกต่างกันอยู่แล้ว... แต่ขอชี้แจงเล็กน้อยเพื่อไม่ให้เข้าใจวัตถุประสงค์ของผมผิด(สำหรับคนอื่น ๆ) อิอิ)

    โดยผมจะยกข้อความของทั้งผมและแฟฟมาตอบทีละประเด็น
    (เพื่อความสะดวกและครอบคลุมของแต่ละเรื่องที่เรากำลังอภิปรายกันอยู่นะครับ)


    ประเด็นแรก
    (คำว่า "เลียนแบบ" และ "ตัวแบบ" นี่หล่ะที่ผมเกรงว่าคนอื่นจะเข้าใจความหมายของผมผิด... ซึ่งมันก็เป็นยังงั้นจริง ๆ)


    ก็ตามความเห็นของแฟฟหล่ะครับ... นั่นคือสิ่งที่ "ผมกลัวว่าคนอื่นจะเข้าใจผิดกับความหมายของผม"
    เพราะคำว่าเลียนแบบของผม มันไม่ได้หมายถึงพฤติกรรมที่เกิดจากการถูกวางเงื่อนไขตามทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม (Social Learning Theory) ของ Albert Bandura
    (ที่เป็นเช่นนั้นเพราะคำว่า 'เลียนแบบ' และคำว่า 'ตัวแบบ' (model) คือ technical term ที่ใช้สำหรับทฤษฎีนี้)

    และงานวิจัยส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการเลียนแบบมักศึกษาเชื่อมโยงกับ "ความก้าวร้าว" เพื่อตรวจสอบดูว่า เมื่อเด็กได้รับตัวแบบในการเรียนรู้แล้ว เด็กจะเลียนแบบพฤติกรรม (โดยเฉพาะพฤติกรรมก้าวร้าว) หรือไม่

    งานวิจัยส่วนมากตามทฤษฎีนี้จึงพยายามอธิบายว่า... เด็กมีแหล่งของข้อมูลในการเลียนแบบพฤติกรรมจาก "สื่อ" (media) ที่เด็กถูกสอดแทรกเข้าไปในชีวิตประจำวัน แล้วพยายามชี้ให้เห็นว่าพฤติกรรมก้าวร้าวก็เกิดมาในกระบวนการวิธีคิดเช่นนี้ด้วย

    เนื่องจากทฤษฎีเกี่ยวกับความก้าวร้าวสมัยก่อนพยายามอธิบายว่า โดยส่วนมากแล้วความก้าวร้าวเกิดมาได้ในหลายทาง เช่น เป็นแรงขับตามสัญชาตญาณแห่งการทำลาย (death instinct หรือ Thanatos) ในทฤษีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ หรือแม้แต่พยายามอธิบายว่าเป็นผล (output) ที่บุคคลปฏิบัติเพื่อลดความคับข้องใจให้สภาพจิตใจของบุคคลกลับมาสู่ภาวะสมดุลตามหลักสุขนิยม (hedonism)

    แต่ Albert Bandura พยายามชี้ให้เห็นว่า แม้คนเรามีโครงสร้างและพลังงานซึ่งไม่พึงประสงค์และเต็มไปด้วยความรุนแรงจริง... แต่เราแต่ละคนเลือกใช้พฤติกรรมที่แสดงออกถึงความรู้สึกเหล่านั้นได้อย่างไร ? ถ้าไม่ได้เห็นหรือผ่านการจดจำมาก่อน
    ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมมีเหตุผลมากในส่วนนี้ เพราะแสดงให้เห็นว่า พฤติกรรม หรือ output ภายในกระบวนการ (process) ถูกคัดสรรออกมาไม่กี่รูปแบบ แม้ปัจจัยสาเหตุที่ส่งผลต่อความคับข้องใจมีอย่างมากมายและแตกต่างกัน คนก็ยังเลือกปฏิบัติในทางคล้าย ๆ กัน

    และเมื่อมันไม่ได้ถูกสืบทอดผ่าน DNA มันย่อมเกิดจากการมี "ตัวแบบ" ให้เด็ก "เลียนแบบ" ผ่านการเรียนรู้

    นั่นคือที่มาที่ทำให้คำว่า "เลียนแบบ", "ตัวแบบ", เชื่อมโยงกับคำว่า "ความรุนแรง" และคำว่า "ก้าวร้าว" ในงานวิจัยที่เราพบกันครับ


    คราวนี้สิ่งที่ผมจะชี้จริง ๆ นั้น คำว่า "ตัวแบบ" มีอีกมากมายเหลือเกินในทางจิตวิทยา
    และคำว่า "เลียนแบบ" ก็เช่นเดียวกัน
    โดยเฉพาะในทางพัฒนาการ

    เช่นตามแนวคิดจิตวิเคราะห์ของ Freud เด็กมีตัวแบบที่สำคัญเพื่อลอกเลียนพฤติกรรมจนเกิด "Gender role" ที่เหมาะสม
    เช่น เด็กผู้ชายเลียนแบบพ่อ เลียนแบบพฤติกรรมของพ่อ ความนึกคิด ความรู้สึก (ในขั้นพัฒนาการ Phallic stage) ก็เลยทำให้เด็กชายมีพฤติกรรมสมชายในท้ายที่สุดเมื่อกลายเป็นวัยรุ่น
    -- เหตุผลของการเลียนแบบก็คือ... ในช่วงขั้นพัฒนาการของเด็กในระดับ Phallic stage (ช่วงระหว่าง 3-11 ขวบ) จุดที่ทำให้เด็กพึงพอใจ (libido: ฟรอยด์เรียกว่าจุดที่ทำให้มีความพึงพอใจทางเพศ -- คำว่าเพศของฟรอยด์ไม่ได้มีขอบเขตแค่ความสัมพันธ์ทางเพศ แต่มีขอบเขตไปถึงตัวตนในขั้นพัฒนาการทั้งหมด) นั้นอยู่ที่อวัยวะเพศ เด็กชายจะชอบโช์อวัยวะเพศของตัวเองให้คนอื่นดู และชอบดูของคนอื่น เด็กที่ติดขัดชะงักงัน (fixation) ในการตอบสนองตามจุด libido ในขั้นนี้ก็จะไปเติมเต็มในวัยผู้ใหญ่และกลายเป็นพวกชอบโชว์ (exhibitionism) และพวกถ้ำมอง (voyeurism) และในขั้นพัฒนาการนี้จะมีขั้นแทรกเรียกว่า Lantency period (ช่วงระหว่าง 7-11 ขวบ) เด็กชายจะมีความพึงใจในตัวแม่ เด็กสาวก็จะมีความพึงใจในตัวพ่อ จนอยากเสพสมกับพ่อหรือแม่ของตัวเอง เด็กชายอยากมีเพศสัมพันธ์กับแม่ จึงอิจฉาพ่อ และพยายามถอดแบบพ่อ (identification) เพื่อให้แม่รักตัวเอง (หากมีการชะงักงันในช่วงนี้ก็จะกลายเป็นปม oedipus complex -- โดยเด็กชายไม่อยากเลียนแบบพ่อ พ่อทำตัวไม่ดี เด็กชายเกลียดพ่อ เด็กชายก็จะไม่เห็นพ่อเป็นตัวแบบหรือบุคคลสำคัญ (authority) จึงไม่เลียนแบบพฤติกรรม และเมื่อเด็กชายรักแม่ เด็กชายก็จะเลียนแบบพฤติกรรมของแม่แทน นำไปสู่ homosexuality) ในทางตรงกันข้ามเพศหญิงก็เช่นเดียวกัน แต่จะมีคำศัพท์เรียกแตกต่างกันออกไป (นอกจากนั้นในช่วงนี้เพศหญิงจะยังมีปม penis envy ที่แตกต่างไปจากเพศชายด้วย)

    เพราะงั้นคำว่า "ตัวแบบ" ในทฤษฎีของฟรอยด์ จะเกี่ยวข้องกับคำว่า "authority" หรือ บุคคลสำคัญในชีวิต
    และคำว่า "เลียนแบบ" ก็จะเกี่ยวข้องกับคำว่า "identification" หรือ การถอดแบบ


    กลับเข้ามาประเด็นของเราก็คือ คำว่า "เลียนแบบ" ของผม ไม่ได้อยู่ในกรณีแรก (ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม) และก็ไม่ได้อยู่ในกรณีหลัง (ทฤษฎีจิตวิเคราะห์) เสียทีเดียว แต่มีแนวโน้มที่จะสื่อกว้างกว่า


    แน่นอนอยู่แล้วครับ ตามผลงานวิจัย เราย่อมต้องพบว่า เด็กสามารถแยกแยะตัวเองออกจากความเพ้อฝัน (fantasy) ได้ เพราะจริง ๆ แล้วในทางทฤษฎีจิตวิทยา ความเพ้อฝัน (fantasy) เป็นกลไกการป้องกันตัวเอง (defense mechanism) อย่างหนึ่ง ซึ่งบุคคลใช้เพื่อลดความตึงเครียดหรือความขัดแย้งระหว่างพลังงานทางจิต (psychic energy)

    บุคคลที่ไม่สามารถแยกแยะว่า "Fantasy" หรือ "Reality" ได้ คือบุคคลที่มีอาการทางจิต (psychotic) ครับ เพราะเกณฑ์ที่ชัดเจนก็คือบุคคลประเภทนี้ Out of reality (ไม่อยู่กับความเป็นจริง)

    แตกต่างจากเด็กที่... ตามหลักจิตวิทยาพัฒนาการ เด็กเริ่มถอดถอนตัวเองออกจากโลกของตนเข้าสู่โลกของคนอื่นมากขึ้นเรื่อย ๆ (โดยไม่เกี่ยวข้องว่าได้เลียนแบบ หรือเห็นตัวแบบหรือไม่ ?)
    ดังนั้นเราจึงพบภาวะ egocentrism (เอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง) น้อยลง


    เพราะเช่นนั้น ผมจึงไม่ได้หมายความว่า เด็กจะไม่สามารถแยกตัวออกจาก "ตัวละครทางวรรณคดี" และ "ความเป็นจริง" ได้
    แต่ ผมกำลังหมายถึง "Authorities" หรือบุคคลสำคัญของเด็กซึ่งเด็กจะถอดแบบ (identification) พฤติกรรมและความคิดมาเป็นส่วนสำคัญในชีวิตและใช้ปฏิบัติได้...

    ซึ่งแม้ในความหมายที่กว้างขวางกว่า "การเลียนแบบ"
    เนื้อหาทางวรรณกรรมก็ไม่ได้มีบทบาทต่อความคิดและพฤติกรรม เมื่อเทียบกับ authorities ที่สำคัญกว่า

    จริง ๆ ประเด็นนี้แฟฟเองก็ได้ตอบข้อสงสัยไว้ในตัวของแฟฟเองแล้วนะครับ
    เพราะงั้นสิ่งที่แฟฟต้องการจะสื่อว่า "วรรณกรรมหรือวรรณคดีที่มีตัวละครโฉดชั่วแต่ได้รับคุณงามความดี" คืออะไรครับ ?
    ในเมื่อเด็กไม่ได้ให้ความสำคัญกับเนื้อหา "ทั้งเชิงศาสตร์และศิลป์" ของเนื้อเรื่อง ?

    ถ้าเด็กจะเรียนรู้จากความไม่ดีของตัวเอกแล้วหล่ะก็... มันไม่ได้มาจากวรรณกรรมหรอกครับ... มันมาจากสังคม...
    เพราะวรรณกรรมไม่ใช่ Authorities ของเด็ก...
    พ่อแม่... ครู... และสังคมต่างหากที่เป็น authorities ของเด็ก

    ความคิดที่คนสำคัญในชีวิตคิด... ทำให้เราถอดแบบความคิดแบบนั้น...

    เราเรียนรู้การเหยียดเพศ... มาจากคนที่รู้จักคำว่า "เหยียดเพศ" ใช่ไหมครับ ?


    ก่อนที่เด็กจะตัดสินว่า "ใครคือพระเอก ?" "ใครคือผู้ร้าย ?"
    ผู้ใหญ่ตัดสินให้เด็กก่อนเสียแล้วครับ

    เราไม่เคยเล่าเรื่อง หรือให้เด็กอ่าน โดยให้เขาพิจารณาเอง
    เพราะเราไม่รับฟังสิ่งที่เด็กพูด
    เราฟังแต่สิ่งที่ตัวเราเองพูด

    นั่นคือสิ่งที่ผมอยากชี้ในรีพลายแรกว่าว่า... งานวรรณกรรมคืองานวรรณกรรมครับ มันมีทั้งเรื่องที่ดีและเรื่องที่ไม่ดี
    มีทั้งตัวเอกและตัวร้าย
    ก่อนที่เด็กจะบอกว่า พระอภัยมณีคือตัวเอก
    เราบอกให้เด็กฟังไปเรียบร้อยแล้วครับ

    ผมไม่ทราบว่าท่านสุนทรภู่เคยพูดไว้หรือไม่ว่า "พระอภัยมณีคือคนดี ?"
    เราเข้าใจกันไปเองว่า "ตัวเอก" = "คนดี"
    เราบอกต่อ ๆ กันมาว่า "ตัวเอก" = "ควรได้รับการยกย่อง"

    เราถูกเลี้ยงดูในสังคมแบบนั้น...
    เมื่อโตขึ้นจนเห็นสิ่งที่สังคมและผู้ใหญ่ทำกับเรา... เราจึงตั้งคำถามกับสังคม
    โดยที่ลืมสังเกตไปว่า... สิ่งที่คนอื่นทำกับเรา เราก็กำลังทำกับคนอื่นเช่นเดียวกัน ?


    ดูมันเริ่มเลยเถิดแหะ...

    จากความเห็นของผม... ตามหัวข้อกระทู้ ผมจึงขอแปลความหมายในทางจิตวิทยาแล้วเขียนวัตถุประสงค์ของการอภิปรายกันใหม่เป็น...
    สิ่งที่เรากำลังกังวล คือ "เด็กมีความคิดความเข้าใจ (concept) ในหลักของมโนธรรมและจริยธรรม (moral) บิดเบือนไปจากที่ควรจะเป็น"

    และนั่นคือประเด็นที่สองที่ผมจะแสดงความเห็นครับ

    จากสิ่งนั้น... มันแตกต่างมากเลยนะครับ กับประเด็นที่เรากำลังพูดเรื่อง
    "ความเหมาะสม"

    ผมไม่ขอพูดถึงนิยามของคำว่า "เหมาะสม" นะครับ
    ผมขอพูดถึงสิ่งที่แฟฟต้องการจะสื่อก่อน

    การที่เด็กโตขึ้นมาเป็นคนที่เคารพกฎหมาย ไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น มีความสามารถที่จะประกอบอาชีพ = พฤติกรรม

    นั่นก็คือ เราจะสอนอย่างไรให้เด็กมีพฤติกรรมที่ดีต่อสังคม... นั่นคือความเหมาะสมใช่ไหมครับ ?

    แต่มันไม่ใช่ความคิดความเข้าใจ (concept)

    เพราะในเมื่อตัวละครและเนื้อหาทางวรรณกรรมไม่ได้ส่งผลต่อพฤติกรรมของเราแล้ว... สิ่งที่เรากำลังกังวลคือ "เด็กมี concept เกี่ยวกับคุณธรรมและจริยธรรมบิดเบือนไป" จากการอ่านวรรณกรรมเหล่านี้

    แต่ความเข้าใจที่ถูกต้องไม่ได้ช่วยทำให้เด็กมีพฤติกรรมที่ถูกต้อง
    (จริง ๆ ถ้าจะให้ละเอียดผมก็คงต้องพูดถึงทฤษฎีการให้เหตุผลเชิงจริยธรรมกับทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมอีก... แต่เกรงว่าจะเวิ่นเกินไปครับ)

    ปัจจุบัน... ปัญญาชนรู้กันดีว่าเหล้าไม่ดีต่อสุขภาพ แต่เขาเหล่านั้นก็บริโภค

    เมื่อเด็กไม่ได้รับอิทธิพลจากบทบาทของตัวละครในวรรณคดี แล้วเราจะเปลี่ยนให้เขาเป็นคนดีได้ด้วยการทำให้เขาเข้าใจคอนเซ็ปต์ของความดีที่ถูกต้องได้เหรอครับ ?

    นิทาน นิยาย และวรรณกรรม คือ ความรู้ที่สร้างองค์ประกอบทางปัญญา (cognitive component) ให้กับเด็ก... และมันเป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลต่อพฤติกรรม แต่จากงานวิจัยจำนวนมาก เรามักพบว่ามันเป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญน้อยที่สุดต่อการเกิดพฤติกรรม (อย่างน้อยก็น้อยกว่าความรู้สึก เจตคติ และพลวัตอื่น ๆ ในกระบวนการทางปัญญา)


    สิ่งที่ผมอยากสื่อสารมาตั้งแต่ต้นก็คือ... ผมไม่ได้บอกว่าการสอนเรื่องพวกนี้เป็นสิ่งที่ดีที่ควรสอนให้กับเด็ก
    (ผมยังไม่ได้พูดประเด็นนี้เลยตั้งแต่รีพลายแรก)
    ผมแค่บอกว่า... บางทีเราอาจมองมันแบบเกินจริง (overestimated) มากเกินไป...

    แน่นอนว่า... ถ้ามีแบบเรียนที่ดีกว่า ยกตัวอย่างได้ชัดเจนและพูดสิ่งที่ความดีควรจะมาก่อน นั่นก็ต้องเป็นเรื่องที่ดีกว่าแน่นอน
    เสียแต่ว่า... เราลืมนึกถึงผลกระทบที่มันจะส่งต่อเด็ก ๆ ว่ามันอาจไม่ได้ช่วยสังคมอะไรเลย

    ในบริบทของสังคมที่มีความซับซ้อนมากของพฤติกรรม... สิ่งที่สำคัญมาก ๆ มักคือสิ่งที่เราลืมมองเสมอครับ

    แต่ความหวังดีนี้ก็เป็นเรื่องที่สำคัญครับ... อย่างที่ผมบอกไว้ในรีพลายแรก

    เพราะถ้าจะให้เราไปเปลี่ยนที่ระบบสังคม มันก็เป็นเรื่องที่ยาก และพูดไปมันก็เหมือนติดอยู่ในเขาวงกตที่เราไม่ใช่คนสร้าง

    ในรีพลายแรก...ผมจึงแค่อยากเคลียร์ประเด็นที่แฟฟสนใจ กับประเด็นที่แฟฟกำลังพูดถึง

    แฟฟอยากให้หลักสูตรการศึกษาวิชาภาษาไทยทำให้เยาวชนกลายเป็นบุคคลที่ดีของสังคม
    แต่หนังสือ...ไม่ได้ช่วยเราเสมอไปนี่ครับ
    ผู้มากด้วยความรู้และความชำนาญก็ไม่อาจปฏิบัติตัวได้เหมาะสมกับสังคมนี้เสมอไป

    เพราะก่อนที่ "มโนธรรม" จะเกิดขึ้นใจ
    ความรู้สึกของเราเอ่อท้นเสียแล้ว


    กลับเข้ามาประเด็นต่อไปของกระทู้นะครับ

    ประเด็นที่สาม
    ข้อแรก... ผมมองถึงความเป็นไปได้ที่จะไปต่อถึงความเหมาะสมกว่านี้นะครับ

    ความเป็นไปได้ที่เราจะก้าวไปถึงจุดที่เหมาะสมกว่านี้คงเป็นเรื่องยากสำหรับระบบการศึกษาสมัยนี้ที่เน้นให้อาจารย์ทำวิทยฐานะครับ...
    ระบบการศึกษาที่ไม่ถูกควบคุมด้วยคนที่มีความเข้าใจลึกซึ้งในระบบการศึกษา

    หรือถ้ามันเป็นไปได้ ก็จะเข้าสู่ข้อสองของผมครับ...

    ข้อสองก็ขออ้างหลักการจากเนื้อหาข้างบนที่พิมพ์ไว้...
    ว่าการปรับเนื้อหาหรือหลักสูตรในการเรียนการสอนมีความสำคัญ แต่ไม่เท่ากับลักษณะของการสอนครับ
    ไม่ว่าเราจะใช้หนังสือเล่ม ก ข ค หรือ ง
    ผลลัพธ์ที่เด็กได้เรียนรู้... ไม่ได้อยู่ในเนื้อหาครับ... มันเป็นแค่ content ในองค์ความรู้ (knowledge) เท่านั้น โดยเฉพาะเมื่อเนื้อหามีความสำคัญหรือบทบาทที่สำคัญต่อเด็กน้อยมาก

    มันจึงไม่เข้าสู่กระบวนการคัดสรรพฤติกรรมครับ


    ก่อนปิดท้าย... ผมชอบรีพลายนี้ของแฟฟมากครับ
    มันเป็นเรื่องยากที่เราจะเป็นแบบนั้นในทุกสถานการณ์ครับ นั่นคือเรื่องที่ผมนับถือมาก
    เพราะโดยส่วนใหญ่แล้ว... เราไม่ได้เปลี่ยนเพราะเราอยากเปลี่ยน
    เราเปลี่ยนโดยที่เราไม่รู้ตัว... แล้วนั่นคือเรื่องที่เจ็บปวดกว่า

    (ไว้ว่าง ๆ จะอธิบายสามบรรทัดข้างบนแบบหลักการทางจิตวิทยาให้ฟังครับ ถ้าสนใจ ฮา)


    รู้สึกว่ารีพลายนี้ยาวสมใจหลาย ๆ ท่านแล้ว... แล้วก็เริ่มเวิ่น
    จริง ๆ ประเด็นไม่ได้มีอะไร แค่มาแถลงจุดยืนเพื่อกันความเข้าใจผิดจากสิ่งที่จะอธิบายไว้ในรีพลายก่อนแค่นั้นเอง
    แล้วมันก็ยาวได้โล่จริง ๆ

    บางทีก็แอบคิด เขียนสั้น ๆ แบบนั้นมันคงง่ายกว่า... แต่ก็ไม่อยากให้คนอ่านตีความเนื้อหาและเจตนาของเราไปอีกทางครับ ฮา

    เจอกันรีพลายหน้าเมื่อมีสาระเพิ่มเติม
    joi100 และ Azemag ถูกใจสิ่งนี้
  13. near

    near Member

    EXP:
    334
    ถูกใจที่ได้รับ:
    4
    คะแนน Trophy:
    18
    ถ้ามองกันประเด็นเดียวที่ว่าเหมาะสมกับการนำมาสอนเด็กนักเรียนไหม?

    ส่วนตัวคิดว่ามันเอามาใช้สอนได้อยู่ เพราะสิ่งที่ดีมันก็มีอยู่(เยอะเหมือนกันนะ) ถ้าเราเลือกที่จะงัดออกมาให้เด็กเห็น

    ตัวอย่างที่ดีบางครั้ง ก็อาจทำหน้าที่ไม่ดีเท่าตัวอย่างที่ไม่ดีหรอกครับ ผมเชื่อแบบนั้นนะ
  14. ffpokemon

    ffpokemon Editor

    EXP:
    1,691
    ถูกใจที่ได้รับ:
    79
    คะแนน Trophy:
    113
    เข้ามาตอบไว้ก่อนว่าเห็นคำตอบของท่านประทาน (จริง ๆ เข้ามาดูตั้งแต่วันศุกร์แล้วแหละ)
    แต่ยังอ่านไม่จบเลยครับ ขอเวลาอ่านต่อแป๊บนึง
  15. A.K.Thathap

    A.K.Thathap Active Member

    EXP:
    128
    ถูกใจที่ได้รับ:
    36
    คะแนน Trophy:
    28
    จากเว็บ
    http://www.thaipoet.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=538786883&Ntype=2
    หรือหาอ่านแบบเต็มๆได้จากหนังสือ คึกฤทธิ์วิจารณ์นักเขียน โดย ทองแถม นาถจำนง

    ----------------------------------------------------​

    1. ในหนังสือพระอภัยมณี มีข้อความตอนหนึ่งว่า
    “รู้อะไรไม่สู้รู้วิชา รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี”

    เฉพาะวรรคหลัง ผมขอถามว่า

    ก.โดยที่หนังสือพระอภัยมณีตอนนี้ กระทรวงศึกษาธิการเคยให้ใช้เป็นแบบเรียนของเด็กมาจนถึงปัจจุบัน
    ผมเห็นว่าข้อความดังกล่าวสอนให้เด็กพยายามเอาตัวรอดแต่เพียงคนเดียว หรือสอนให้เป็นคนเห็นแก่ตัว
    การที่คนเราไม่ว่าใครทำผลร้ายหรือผลเสียหายให้แก่ประโยชน์ส่วนรวม เมื่อถึงเวลาที่จะต้องรับผิดคนๆนั้นก็เอาตัวรอด
    เสียคนเดียวเช่นนี้ ย่อมเป็นการไม่สมควรอย่างยิ่งและดูกระไรอยู่ ในฐานะที่เด็กเป็นคนอ่อนไหวต่อเหตุการณ์ง่าย
    ฉะนั้นข้อความดังกล่าวหม่อมเห็นว่าจะเป็นผลร้ายเกี่ยวแก่จิตใจเด็กหรือไม่ ? เพราะเหตุใด ?

    ข. การที่ผู้แต่งได้เขียนข้อความเช่นนี้ ขอทราบความเห็นหม่อมว่า ผู้แต่งๆขึ้นโดย
    มีความมุ่งหมายอันแท้จริงไปในทางใด คือหมายความว่าให้ผู้อ่านหรือผู้เขียนและผู้เรียนนึกตีความไปในทางใด ?

    ถ้าหม่อมเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ หม่อมเห็นว่า
    ควรเปลี่ยนแปลงแบบเรียนวรรณคดีไทยตอนนี้หรือไม่ (กรุณาอย่าตอบว่าหม่อมยังไม่ได้เป็นนี่จึงยังตอบไม่ได้)

    อาจารย์หม่อมคึกฤทธิ์ ตอบปัญหาสามข้อข้างต้นดังนี้

    ก.การนำหนังสือพระอภัยมณีมาใช้เป็นแบบเรียนนั้น ผมเข้าใจว่าเพื่อให้เด็ก
    ได้เรียนถึงสำนวนกลอนชั้นเยี่ยมของสุนทรภู่มากกว่าที่จะให้ถือว่าสุนทรภู่กล่าวสิ่งใดถูกไปหมด
    ข้อความที่ว่า “รู้อะไรไม่สู้รู้วิชา รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี” นั้น เด็กจะเข้าใจว่าอย่างไรก็สุดแล้วแต่ครูผู้สอนจะชี้แจง
    ถ้าครูผู้สอนชี้แจงเสียให้ถูกต้อง ก็ไม่น่าจะมีผลเสียอย่างไร

    ข. สุนทรภู่เขียนความข้อนี้ไว้ อาจเป็นด้วยเหคุใดเหตุหนึ่งในสองข้อต่อไปนี้ คือหนึ่ง สุนทรภู่อาจเขียน
    ประชดประชันสังคมในสมัยนั้นซึ่งอาจเต็มไปด้วยคนเอาตัวรอดก็ได้ หรือสอง สุนทรภู่อาจพูดไปโดยซื่อ
    เพราะในสมัยนั้นอาจถือสุภาษิตนั้นว่าเป็นของดีจริงๆ ก็ได้ และสุนทรภู่ซึ่งเป็นคนสมัยนั้นก็ถือสุภาษิต
    ไปตามกาลสมัย แต่ถ้าจะดูประวัติสุนทรภู่ซึ่งปรากฏว่าเอาตัวไม่ค่อยรอด

    ผมออกจะเห็นว่าสุนทรภู่เขียนด้วยเหตุที่หนึ่งมากกว่า...

    ค. เห็นไม่ควรเปลี่ยน เพราะวรรณคดีนั้นเป็นวรรณคดีด้วยเหตุต่าง ๆ มากมายหลายประการ
    มิใช่ว่ากวีผู้แต่งพูดอะไรไม่ถูกนิดเดียวก็ถือเป็นเหตุ เปลี่ยนเอาเสียเลย ความวรรคที่กล่าวถึงนี้
    อย่างน้อยก็เป็นประโยชน์ให้กุลบุตรได้รู้ว่า ในสมัยหนึ่งคือสมัยสุนทรภู่คนมีความคิดเห็นอย่างไร จะถูกหรือผิด
    เชื่อได้หรือไม่ ก็เป็นหน้าที่ของคนสมัยนี้จะต้องพิจารณาเอาเอง และถ้าจะพูดกันไปจริง ๆแล้ว
    คำกล่าวของสุนทรภู่ที่คุณเห็นว่าไม่สมควรนั้น ก็ยังมีคนถือเอาไปเป็นหลักปฏิบัติอยู่ในสมัยนี้มากมายมิใช่หรือ
  16. ffpokemon

    ffpokemon Editor

    EXP:
    1,691
    ถูกใจที่ได้รับ:
    79
    คะแนน Trophy:
    113
    ความจริงมีเรื่องอยากจะตอบท่านประทาน (ผมหมายถึงคุณ Aki นะครับ เผื่อบางคนไม่รู้ว่าผมเรียกเค้าอย่างนี้)
    แต่พูดตามตรงว่าบางเรื่องมันยากเกินกว่าผมจะตอบได้ เพราะมันเป็นเรื่องทางจิตวิทยาที่คนธรรมดา ๆ อย่างผมแทบไม่มีความรู้
    ถึงแม้อยากจะตอบ แต่ตอบไปมันก็อาจจะกลายเป็นว่าผมเข้าใจผิดไปอีกรอบก็ได้


    ดังนั้นของออกความเห็นในเรื่องที่ผมพอจะถกกับท่านประทานได้นะครับ



    1.สำหรับเรื่องที่ว่าวรรณคดีนั้นมีผลต่อพฤติกรรมน้อยกว่า ความรู้สึก เจตคติ และพลวัตอื่น ๆ ในกระบวนการทางปัญญา นี่ยอมรับว่าเป็นความรู้ใหม่ของผมเลยครับ ที่ตลกก็คือพอลองมาคิดดูดี ๆ แล้วมันก็ควรจะเป็นอย่างนั้นอยู่แล้ว แต่สิ่งที่ผมได้ประโยชน์จากสิ่งนี้ก็คือผมได้รู้ว่ามีคนทำวิจัยมาแล้วซะด้วย เวลาเอาไปเถียงกับคนอื่นจะได้เอาไปอ้างอิงได้

    แต่ในความเห็นของผม แม้ว่าเราจะรู้ดีว่ามันส่งผล "น้อย" แต่ถ้ามีอะไรที่เหมาะสมมากกว่าก็ควรเปลี่ยนครับ (แต่ผมคิดว่าท่านประทานก็เห็นด้วยกับประโยคนี้อยู่แล้ว) และไม่ใช่อย่างเดียวที่ควรจะเปลี่ยน แต่อะไรที่รู้ว่าปรับปรุงแล้วมันจะดีขึ้น เราก็ต้องทำทั้งนั้น


    สิ่งที่ผมจะออกความเห็นในประเด็นนี้ก็คือ ผมคิดว่านอกจากเรื่องจิตวิทยา เรื่องผลต่อมุมมองและพฤติกรรมของเด็ก มันยังมีมุมมองอื่นด้วยครับ เช่นสิทธิที่จะเลือกรับข้อมูลของเด็ก เช่นถ้าอยู่ดี ๆ เราไปดูหนังแฟนตาซีเรื่องหนึ่งที่เราคาดหวังว่าจะเป็นเรื่องสนุกธรรมดา ๆ แต่มันดันมีฉากฟันคอขาดให้เราช็อคเล่น ถ้าก่อนเริ่มหนังหรือใน trailer หรือในการโปรโมตอื่น ๆ ไม่มีบอกไว้ก่อนว่าจะมีฉากรุนแรงนะ แบบนี้บริษัทเจ้าของหนังเรื่องนั้นโดนด่าเละแน่ ๆ (และในบางประเทศอาจโดนฟ้องด้วย)

    ถามว่าความจริงแล้วฉากรุนแรงของหนังแฟนตาซีมันทำให้พฤติกรรมเราแย่ลงหรือเปล่า? มันทำให้เราเสียความรู้สึกมากหรือเปล่า? ก็ตอบได้เลยว่ามันมีผลต่อพฤติกรรมน้อยกว่าพลวัตอีกมากมายแน่ ๆ (เลียนแบบคำ ฮ่า ๆ ) แต่มันเป็นประเด็นเพราะเรามีสิทธิที่จะได้รับการแจ้งล่วงหน้า และมีสิทธิเลือกที่จะไม่ดูหนังเรื่องนั้นก็ได้


    ถ้าจะให้ยกตัวอย่างให้คล้ายยิ่งขึ้นอีก วรรณกรรมหลายเรื่องที่มีเนื้อหาบางตอนเป็นเรื่องล่อแหลมหรือกระทบความรู้สึก ก็ยังจั่วหัวไว้บนหน้าปก (หรือไม่ก็แจ้งไว้ในหน้าแรก ๆ ซักหน้า) ว่า "เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้อาจจะ... ควรมีวิจารณญาณในการอ่าน" อะไรประมาณนี้ ให้เราเลือกได้ว่า เรายังจะตัดสินใจอ่านวรรณกรรมนั้นหรือไม่ จะเห็นได้ว่าเราไม่ได้กลัวผู้อ่านแยกแยะไม่ออกว่ามันเป็นเรื่องแต่ง เรารู้ทั้งรู้ว่ามันกระทบกับมโนธรรมและคุณธรรมของผู้อ่านเพียงเล็กน้อย แต่เราก็ยังระบุคำเตือนเอาไว้ เพราะเราเคารพสิทธิของเขา

    แต่กับแบบเรียน เด็กนั้นไม่มีสิทธิที่จะเลือกเลย ไม่มีทางที่โรงเรียนไหนจะบอกตอนต้นเทอมว่า "ขุนช้างขุนแผนมีเนื้อหาล่อแหลมนะจ๊ะ ถ้าไม่ถูกจริตก็ไม่ต้องอ่านแล้วไปสอบเรื่องอื่นแทนนะจ๊ะ" แต่เด็กต้องเสพย์เรื่องเหล่านี้เข้าไปโดยไม่มีสิทธิเลือก ไม่ได้รับการเตือนล่วงหน้า แถมยังต้องยัดใส่สมองเพื่อเอาไปสอบ ผมจึงคิดว่าเรื่องที่นำมาสอนเด็กจึงต้องมีเรื่องที่เป็น controversy ให้น้อยกว่าที่เป็นอยู่


    สำหรับประเด็นนี้ผมไม่ได้บอกเพียงแค่ว่ามีมุมมองเรื่องสิทธิที่จะเลือกรับข้อมูลเท่านั้นนะครับ แต่ผมจะสื่อว่ามันยังมีอีกหลายมุมมองที่สนับสนุนว่ามันควรจะมีอะไรที่ดีกว่าวรรณคดีเหล่านี้ ในการนำมาสอนเด็ก


    แน่นอนว่าผมเห็นด้วยว่าปัญหาเรื่องครูด้อยคุณภาพและที่คุณครูต้องทำผลงานแบบพิศดารซึ่งไม่เกี่ยวกับการสอนเด็กเลยนั้นเป็นปัญหาที่ใหญ่หลวงกว่าเรื่องวรรณคดีนี้มาก อันนั้นก็ต้องแก้ไขเช่นกัน และต้องแก้ไขก่อนเรื่องนี้ด้วย แต่ลึก ๆ แล้วผมแอบเชื่อว่าคนที่จะก้าวมาแก้ไขสองเรื่องนี้จะเป็นคนเดียวกัน แต่ผมไม่ได้หมายถึง คนที่คุณก็รู้ว่าใคร หรอกนะครับ ^^



    2.ผมเข้าใจดีว่าเราต้องไม่ overestimate มันมากเกินไป ผมเชื่อว่าใคร ๆ ก็รู้ว่าแค่ปรับเปลี่ยนเนื้อหาในบทเรียนนั้นไม่สามารถทำให้เด็กรุ่นใหม่กลาย เป็นคนดีของสังคม จนสังคมกลายเป็นสังคมที่ดีแบบหน้ามือเป็นหลังเท้าได้ (แถมบางคนก็ยังนั่งถกกันอยู่เลยว่าสังคมที่ "ดี" นี่มันเป็นยังไง :p น่าปวดหัวชะมัด)

    ผมเชื่อว่าใคร ๆ ก็รู้ดีว่า พ่อ แม่ คนใกล้ตัวส่งผลต่อเด็กมากกว่า (ผมไม่แน่ใจว่าถ้าจะใช้ว่า "มีความเป็น authorities ต่อเด็กมากกว่า" จะถูกไหม) วรรณคดี แต่ผมคิดว่าเรื่องนี้มันไม่ใช่เป็น yes/no คืออันนู้นส่งผล อันนี้ไม่ส่งผลเลย ผมคิดว่าทุกตัวแปรมีผลทั้งนั้น อยู่ที่ว่ามันมีนัยสำคัญหรือไม่ เช่นพ่อแม่อาจส่งผล 100,000 หน่วย วรรณคดีอาจส่งผล 0.5 หน่วย (ผมกะจะใช้หน่วยเป็นกีอัส แต่กลัวไม่ฮา :p) แต่ปัญหามันอยู่ที่ว่าเราไม่มีทางรู้ว่าจริง ๆ แล้วมันส่งผลเท่าไหร่นี่สิ


    ประเด็นเรื่องที่ว่า "วิธีการสอน สำคัญมากกว่าตัวอัักษรในหนังสือ" เป็นสิ่งที่ถกเถียงกันมานานมาก และถึงแม้ผมจะแอบเห็นด้วยว่าถ้าครูสอนดี ๆ เรื่องน่าเบื่อก็สนุกได้ เรื่องธรรมดาก็ลึกซึ้งได้ แต่ผลในเชิงประจักษ์มันไม่เป็นอย่างนั้นเสมอไป โรงเรียนหลายโรงเรียนที่เปลี่ยนมาใช้แบบเรียนของ สสวท. นั้นนักเรียนเรียนเก่งขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แม้จะเป็นครูชุดเดิม และโรงเรียนที่ได้รับบริจาคหนังสือดี ๆ แบบเรียนที่มีคุณภาพเข้าไป ก็ทำให้นักเรียน (และครู) เก่งขึ้นมาก หลังจากผมได้ลองสอนเด็กเหล่านี้ก็สัมผัสได้เลย

    สำหรับสายวิชามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์อาจจะต้องถามผู้มีประสบการณ์ แต่ทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์นี่แบบเรียนมีความสำคัญมาก ๆ ครับ แบบเรียนดี ๆ ทำให้ครูที่ไม่เก่งบางคนสามารถคิดได้ สอนอย่างเข้าใจมากขึ้นได้อย่างแน่นอน และครูเก่ง ๆ ถ้าได้แบบเรียนที่ดีก็จะเหมือนเสือติดปีกเข้าไปอีก


    แน่นอนว่ามันยังต้องถกเถียงกันต่อว่าแล้วการที่เข้าใจ concept มากขึ้น ดีขึ้น มันส่งผลต่อพฤติกรรมหรือไม่? จากประสบการณ์ ผมเห็นว่ามันช่วยได้เยอะครับ ถ้านักเรียนรู้สึกดีกับวิชา เรียนแล้วเข้าใจ มันส่งผลต่อพฤติกรรมให้เป็นคนรู้จักคิด รู้จักวิเคราะห์ ได้มาก แน่นอนว่าเราไม่อาจบอกว่ามันทำให้เด็กเป็นคน "ดี" ได้ แต่ถ้าเรื่อง "คุณภาพ" แล้วมันช่วยแน่ ๆ ครับ



    เขียนจบแล้วก็ยังรู้สึกอยู่ดีว่าผมก็ยังเข้าใจความหมายของท่านประทานผิดในหลายประเด็นอยู่ดี (ต้องแก้หลายรอบเลย) แต่ถ้าจะให้แก้จนเข้าใจถูกอาจไม่ได้ตอบพอดี (ฮา) ต้องขออภัยจริง ๆ ในจุดนี้นะครับ


    สุดท้ายนี้อยากบอกว่าผมชอบที่จะคุยเรื่องประเด็นซีเรียส ๆ กับท่านประทานและท่านอื่น ๆ ในบอร์ดมากครับ เพราะมันทำให้ผมได้เข้าใจหลาย ๆ อย่างมากขึ้นจากคนที่รู้จริง เพราะว่าการคุยกับคนในี้ทำให้ผมกล้าที่จะออกความเห็นต่อสิ่งที่ท่านอื่นเสนอมา แม้ว่าบ่อยครั้งผมจะเข้าใจผิดจุดก็ตาม :p ยิ่งคุยกันก็ยิ่งทำให้ผมต้องเปลี่ยนความเข้าใจของผมให้มันถูกต้องมากขึ้น กว้างขึ้น มันถึงสนุกไงครับ


    ปล.สำหรับที่คุณ A.K. Thathap ยกมานั่นก็น่าสนใจจริง ๆ ครับ ผู้ตอบตอบได้ดีมากเลย ยังไงผมขอไปอ่านทำความเข้าใจให้ลึกซึ้งก่อนตอบนะครับ
    Aki ถูกใจสิ่งนี้
  17. tales

    tales อัครเทวดาแมวเหมียว

    EXP:
    546
    ถูกใจที่ได้รับ:
    6
    คะแนน Trophy:
    88
    ไม่เหลืออะไรให้พิมพ์เพิ่มเลย -_-;

Share This Page