ประวัติศาสตร์ - Square กับสงครามแปลภาษาอังกฤษ!

กระทู้จากหมวด 'All Final Fantasy' โดย jpenguin, 27 กรกฎาคม 2011.

  1. jpenguin

    jpenguin Admin Staff Member

    EXP:
    2,537
    ถูกใจที่ได้รับ:
    93
    คะแนน Trophy:
    113
    vivipyro.jpg

    นี้เป็นหนึ่งในหลายๆ คำชม จากนักวิจารณ์เกมฝรั่ง ที่มีต่อการแปลภาษาใน Final Fantasy IX ซึ่งนับเป็นภาคแรกที่การแปลภาษานั้นสมบูรณ์แบบจริงๆ ในสายตาของเจ้าของภาษา นอกจากเนื้อเรื่องที่ถูกต้อง คำพูดที่เข้าใจง่าย ยังมีการใช้ศัพท์แสลงและมุขเด็ดๆ จากหนังดังหลายๆ เรื่อง ที่เข้าตากรรมการอย่างที่สุด ซึ่งกลายเป็นรากฐานสำคัญในการแปลภาษาของเกมอื่นๆ ของ Squaresoft - Square-Enix ให้กับเกมใหม่ๆ อีกมากมายมาถึงปัจจุบัน

    ก่อนหน้านี้ การแปลเกมเป็นภาษาอังกฤษยังไม่ได้รับความใส่ใจจาก Square มากนัก ทีมแปลภาษาต้องพบกับอุปสรรคและข้อจำกัด ทั้งทางฮาร์ดแวร์และซอฟ์ทแวร์มากมาย แถมการสื่อสารกับทีมโปรแกรมก็ยากแสนยาก... รายละเอียดจะค่อยๆ ทยอยแปลให้อ่านกันนะครับ

    จุดเริ่มต้นของการแปลภาษาอย่างจริงจังของ Square เริ่มมาจากยุคแรกของ Playstation 1 โดยจุดเปลี่ยนสำคัญ 2 อย่างเกิดขึ้นในปี 1997 เมื่อ
    1. Final Fantasy VII ออกวางจำหน่าย พาตลาด console ผงาดขึ้นในอเมริกา
      และ
    2. ซึ่งหลายๆ คนเห็นว่าสำคัญยิ่งกว่า ข้อ 1 เสียอีก คือการที่ Squaresoft จ้างโปรแกรมเมอร์หนุ่ม Richard Honeywood เข้าร่วมงานในฐานะ Localization Producer
    honeywood.jpg

    Richard Honeywood แต่แรกนั้นสมัครงานกับ Squaresoft ในตำแหน่งโปรแกรมเมอร์ เขามีส่วนร่วมโปรแกรมเกม arcade shooting ในยุคแรกๆ มากมายโดยใช้นามปากกาว่า Seibu Kaihatsu เกมที่รู้จักกันดีคงเป็นซีรีย์ Raiden

    Ted Woolsey เป็นผู้ที่รับหน้าที่แปลภาษาให้กับ Squaresoft สาขา North America ในยุค super famicom ตำแหน่งของเขาว่างลงหลังจากที่เขาลาออก ไปทำเกม Super Mario RPG , Squaresoft ซึ่งอยากขยับขยายทีมแปลภาษาในเวลานั้นอยู่แล้ว จึงให้ Honeywood และ Aiko Ito รับหน้าที่ Localization Producer ด้วยกันสองคน โดยคราวนี้ Squaresoft ได้จัดให้ทีมภาษาทำงานอยู่ที่สาขาหลักในโตเกียวโดยตรง

    จากบทสัมภาษณ์นั้น Ted Woolsey ได้กล่าวไว้ว่า

    ff7.jpg
    Final Fantasy VII ขายดีถล่มทลายในระดับโลก แต่การแปลภาษาของเกม เป็นเพียงการแปลลวกๆ เต็มไปด้วยข้อผิดพลาด ด้วยทีมแปลภาษาที่มีสมาชิกแค่คนเดียว Micheal Baskett หลายๆ คนค่อนข้างแปลกใจด้วยซ้ำ ว่ามันน่าจะมีจุดผิดมากยิ่งกว่านั้น

    ถึงแม้ว่าข้อจำกัดในในเรื่อง memory เหมือนสมัยเกมตลับจะหมดไป แต่ทั้งโปรแกรมของ Final Fantasy VII รวมถึงระบบในยุคนั้น ทำให้ Baskett งานท่วมหัวเอาตัวแทบไม่รอด มีข้อผิดพลาดในการใช้ภาษามากมาย แต่ก็โชคดีที่จุดผิดพลาดเหล่านั้น หลายๆ อย่างกลับกลายเป็นจุดที่แฟนๆ จดจำ เป็นเอกลักษณ์ของเกมอีกอย่างหนึ่งไป

    ข้อจำกัดที่ใหญ่มากของโปรแกรม Final Fantasy VII นั้น คือการที่ต้องพิมพ์ทุกอย่างเป็น Shift-JS (fix font ของญี่ปุ่น) เช่น

    Barret
    'C'mon newcomer. Follow me.'

    ก็ต้องเขียนเป็น
    barret.jpg

    อาจจะดูไม่ใช่ต่างกันมาก แต่... โปรแกรมเช็คคำผิด ไม่สามารถเช็ค Shift -JS ได้เลย และที่ซ้ำร้ายกว่านั้น หากมีตัวอักษรยุโรปบางตัวที่มีขีดแปลกๆ เช่น

    'Déjà vu at the café!'

    ทีมผู้แปลจำเป็นต้องพิมพ์ตัวอักษรเหล่านั้น เป็นตัวคันจิ
    deja.jpg

    คงพอนึกออกนะครับว่าการแปลภาษาในยุค FFVII นั้น มันทนทรฮึดขนาดไหน....หลังจากนั้น Honeywood ก็ได้พัฒนาโปรแกรมขึ้นมาตัวนึง ที่สามารถแปลตัวหนังสืออังกฤษธรรมดาๆ ไปเป็น shift-JS ได้ แต่กว่าจะได้ใช้ ก็ตอนทำ Final Fantasy VIII โน่นแล้วแหละครับ

    ติดตามตอนต่อไปครับ ....
    tales, Agleam, A.K.Thathap และ อีก 1 คน ถูกใจสิ่งนี้
  2. jpenguin

    jpenguin Admin Staff Member

    EXP:
    2,537
    ถูกใจที่ได้รับ:
    93
    คะแนน Trophy:
    113
    ต่อครับ

    ff7-2.jpg

    ถึงแม้ว่า grammar จะมีจุดผิดพลาดมากมายไปหมด แต่นักวิจารณ์หลายๆ คนเชื่อว่าการที่เกมนี้ตีตลาดเด็กวัยรุ่นได้อย่างแหลกลาญ ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากภาษาแบบดิบๆ และการใช้คำแสลงรวมไปถึงภาษาพูดแบบวัยรุ่น ซึ่งเห็นได้จาก Barret และ Cid

    หลังจากที่ Final Fantasy VII ขายถล่มทลาย เปิดหูเปิดตาให้ Squaresoft ทางบริษัทจึงริเริ่มที่จะพัฒนาทีมและระบบแปลภาษาขึ้นมาทันที และแน่นอน งานหนักทั้งหมดก็ตกอยู่กับ Richard Honeywood และ Aiko Ito เป็นฝีมือของ 2 คนนี้เอง พวกเขาต้องผจญกับกับระบบที่เละเทะราวตกนรก และเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงพัฒนาระบบ จนเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาอย่างในปัจจุบัน

    chocobo.jpg

    แต่ Chocobo's Dungeon ภาคแรก ไม่ใช่เกมเดียวที่มีปัญหาในปีนั้น (1997)

    200px-Tobal2_front.jpg

    Final Fantasy Tactics เองก็ประสบปัญหาเดียวกัน บางส่วนของมันถูกส่งไปให้ Baskett แปล บางส่วนก็ out source ไปให้ข้างนอกแปล และผลงานที่ออกมา ก็ได้รับคำวิจารณ์จากนิตยสารดัง Electronic Gaming Monthly ว่า

    กว่าเกมนี้จะได้ถูกแปลอย่างสมเกียรติ ก็ต้องรอกันถึงเวอร์ชั่น PSP "The War of the Lions" ซึ่งเว้นห่างไปถึง 10 ปี

    xeno.jpg

    หลังจากต้องล้มเลิกการแปล Chocobo's Dungeon , Honeywood ก็รับเกมล่าสุดของ Square ในขณะนั้น Xenogears เป็นโปรเจคต่อไปของเขา

    ถ้า Final Fantasy VII เป็นเกมที่ปลุกโปรแกรมเมอร์ของ Square ให้มาสนใจตลาดอเมริกา Xenogears ก็เรียกว่าเป็นการสาดน้ำให้ตื่นจากฝันละครับ เพราะมันเป็นเกมที่ทำให้ Square เข้าใจเลยทีเดียว ว่าการแปลภาษานั้นมันต้องใช้ความมุมานะพยายามขนาดไหน เกมนี้มีเนื้อเรื่องที่ซับซ้อน มีแฝงความหมายทั้งในเชิงเทคนิกและเชิงศาสนามากมาย นักแปลภาษามือใหม่ 2 คนที่ทำงานอยู่ที่สาขาอเมริกา เจอเกมนี้เข้าไปก็ถึงกับร้องจ้าก ขอเปลี่ยนโปรเจคกันเลยทีเดียว

    Honeywood อธิบายว่า

    Honeywood ต้องศึกษาเนื้อเรื่องของ Xenogears พร้อมริเริ่มตั้งทีม QA ขึ้นมาเอง เขาแทบจะกินอยู่ที่ออฟฟิสเพื่อแปลเกมนี้ให้ทันหมายกำหนดการณ์ มันเป็นงานที่เร่งรีบมาก และ Honeywood เองก็ไม่พอใจกับคุณภาพงานที่สำเร็จออกมาเอาเสียเลย

    ติดตามตอนต่อไปครับ
    tales และ Azemag ถูกใจสิ่งนี้
  3. jpenguin

    jpenguin Admin Staff Member

    EXP:
    2,537
    ถูกใจที่ได้รับ:
    93
    คะแนน Trophy:
    113
    ต่อครับ

    ถึงแม้ Honeywood จะไม่พอใจในผลงาน Xenogears ของเขา แต่ตัวเกมนั้นถือว่าแปลได้ดีมาก ข้อผิดพลาดที่พอจะมี ก็เป็นศัพท์เฉพาะทางศาสนาเสียทั้งนั้น เช่น Yahweh กลายเป็น Yabeh, Uroboros เป็น Urobolus, Golgotha เป็น Golgoda เรียกได้ว่าเป็นพัฒนาการที่ดีขึ้นกว่า Final Fantasy VII อย่างเห็นได้ชัด

    แต่ที่สำคัญ โปรเจคที่ Honeywood บอกว่า "ยากราวกับตกนรก" นี้ได้ทำให้เขาค้นพบระบบที่สำคัญมาก

    Final Fantasy VII and Xenogears ทำให้ Honeywood เข้าใจว่า ทีมแปลภาษา ไม่ว่าจะเก่งแค่ไหน ก็จำเป็นต้องมี Editor ควรตรวจสอบและคุมคุณภาพ เขาค่อยๆ พัฒนาระบบการทำงานของทีมแปลอย่างช้าๆ เริ่มวางแผนการแปลภาษาอย่างละเอียดถี่ถ้วนมากขึ้น เริ่มมีการสร้าง ไกด์ไลน์ เฉพาะของเกมแต่ละเกมขึ้นมา เพื่อกำหนดลักษณะของภาษาและอารมณ์ของแต่ละเกมออกจากกัน เช่น Brave Fencer Musashi ที่มีเนื้อหาที่ตลกเฮฮาในภาษาญี่ปุ่น ก็จะต้องตลก เฮฮา ได้อารมณ์ใกล้เคียงกันในภาษาอังกฤษด้วย ถึงแม้ว่าจะต้องเสียรายละเอียดบางส่วนไปบ้าง

    xeno2.jpg

    นอกจากความแตกต่างในด้านภาษาแล้ว Honeywood ยังต้องคำนึงถึงการรับรู้และวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ระหว่างชาวตะวันออกกับชาวตะวันตกด้วย

    เมื่อทีมแปลภาษาในโตเกียวและ Los Angeles เติบโตขึ้น Honeywood เริ่มแบ่งงานให้พนักงานตามความสามารถ บางคนเก่งเรื่องการเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ บางคนก็เก่งเรื่องการเขียนมุขตลก

    ใน Chrono Cross ภาษาญี่ปุ่นนั้น สำเนียงของตัวละครสามารถแบ่งได้ง่ายๆ ด้วยการเปลี่ยนวิธีการเรียกพระเอกของตัวละครแต่ละตัว ซึ่งวิธีดังกล่าวไม่สามารถใช้กับเกมภาษาอังกฤษได้แน่ๆ Honeywood จึงได้เขียนโปรแกรมขึ้นมาโปรแกรมหนึ่ง เอาไว้สำหรับการเพิ่มสำนวนเข้าไปในคำแปลเหล่านั้น

    chrono.jpg

    นอกจากระบบแทนที่ที่ปรับแต่งได้อย่างอิสระแล้ว โปรแกรมของ Honeywood จะทำการเลือกสี เลือก font และขนาดหน้าต่างที่เหมาะสมให้กับบทพูดและตัวละครนั้นๆ ด้วย โดยทีมตรวจสอบ ก็เพียงตรวจผลที่ได้จากโปรแกรมนี้ ว่าเหมาะสมกับตัวละครทั้ง 45 ตัวแล้วหรือไม่อย่างไร

    ต่อครับ....
    tales และ Azemag ถูกใจสิ่งนี้
  4. jpenguin

    jpenguin Admin Staff Member

    EXP:
    2,537
    ถูกใจที่ได้รับ:
    93
    คะแนน Trophy:
    113
    ระบบแปลอัตโนมัติของ Honeywood ได้กลายมาเป็นต้นแบบสำคัญสำหรับระบบแปลภาษาของเกมอีกหลายต่อหลายเกมในอนาคต

    เมื่อทีมโปรแกรมเมอร์บอกว่า ไม่สามารถใส่ตัว i แบบผอมๆ เข้าไปในเกมได้ Hoenywood ก็เอา font ของ Xenogears แก้ให้เขาเองเสร็จสรรพ

    xeno3.jpg

    ในปี 1999 Honeywood ก็ได้รับโปรเจคใหญ่อีกครั้ง Final Fantasy VIII ด้วยธีมของเกมที่ค่อนข้างเป็นปัจจุบัน และสไตล์ที่สมจริงกว่าเกมอื่นๆ ที่ผ่านมามาก สไตล์การแปลภาษาก็เป็นสไตล์ใหม่สำหรับทีมของเขาเช่นกัน

    ในเกมนี้ ทีมแปลภาษา ทั้งทีมในโตเกียวและใน LA ให้เวลากับการเตรียมตัวเยอะมาก มีการหาข้อมูลศัพท์ทางศาสนาไว้แต่เนิ่นๆ และใช้ชื่อระดับเวทมนตร์ที่ถูกต้องตรงตามฉบับญี่ปุ่น (จาก ไฟ 2 ไฟ 3 เป็น ไฟร่า ไฟก้า เป็นต้น) รวมไปถึงการมีทีม Editor อย่างเป็นทางการ

    ff8.jpg

    ในช่วงแรกมีการแบ่งงานกันอย่างเท่าเทียมระหว่างสาขา LA และโตเกียว แต่เมื่อการแปลภาษาดำเนินไป งานเริ่มโอนเอียงมาทางสาขาโตเกียวมากขึ้นๆ เพื่อการทำงานที่ใกล้ชิดกับผู้เขียนบทฉบับดั้งเดิม

    Square ในช่วงปี 1990 นั้นมีงานให้ทำล้นมือจริงๆ ระหว่างที่แปล Final Fantasy VIII ทีมแปลภาษายังต้องแปลเกมอีก 3 เกมไปพร้อมๆ กันด้วย ได้แต่ Chocobo Racing, SaGa Frontier 2 และ Legend of Mana

    งานชิ้นใหญ่ชิ้นต่อมาของ Honeywood คือ Final Fantasy IX ถึงจะบอกว่าเป็นการกลับไปสู่แนวแฟนตาซี แต่บทของเกมนั้นไม่ได้ง่ายขึ้นเลย สิ่งที่ท้าทายของ Final Fantasy IX คืออารมณ์ของเกมที่เหมือนหนังสือนิทานผสมกับเวทีละคร

    ff9-2.jpg

    ทีมแปลภาษาจำเป็นต้องศึกษาหาข้อมูลเป็นจำนวนมหาศาล เพราะหลายๆ อย่างที่ Final Fantasy IX อ้างอิง เรียกว่าต้องเป็นแฟนพันธุ์แท้กันเลยทีเดียวถึงจะเข้าใจ เช่นประโยคพูดของเจ้าหญิง Cornelia ("I Want to Be Your Canary")

    ตัวเกมยังมีการสอดแทรกประโยคเด็ดจากภาพยนตร์ดังหลายๆ เรื่อง เช่น Star Trek ("Dammit Jim, I'm a doctor, not a miracle worker") และ Monty Python ("Bah! Only only a flesh wound!") นับเป็นเกมแรกเลยทีเดียวที่ทีมเขียนภาษาญี่ปุ่น ต้องอาศัยการแปลจากภาษาอังกฤษในหลายๆ ส่วน

    ในหลายๆ ครั้ง ทีมภาษาญี่ปุ่นยังเอาศัพท์จากภาษาอังกฤษกลับไปใช้เองเสียด้วย เช่น "Machina" เป็นศัพท์ที่คิดค้นขึ้นสำหรับ Final Fantasy X ซึ่งทีมภาษาญี่ปุ่นถูกอกถูกใจมาก จนต้องเอาไปใช้ใน FF X-2 ภาษาญี่ปุ่นด้วย

    vivi2.jpg

    Hoeywood ลาออกจาก Square หลังจากการรวมตัวกันกับ Enix ได้ไม่นาน เขาแปลภาษาให้ Final Fantasy XI อยู่ถึง 4 ปี และที่สำคัญ การแปลภาษา เกม Dragon Quest VIII ที่เราได้เห็นกันนั้น คงไม่มีทางเกิดขึ้นได้เลยหากขาดความสามารถและประสบการณ์ของเขาไป

    จบแล้วครับ :D
    BoN, tales และ Azemag ถูกใจสิ่งนี้
  5. ratatosk

    ratatosk All hile Kino!

    EXP:
    684
    ถูกใจที่ได้รับ:
    3
    คะแนน Trophy:
    88
    แม้จะเกิดข้อผิดพลาดมามากมาย แต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ยอดเยี่ยมมากครับ
    ผมเพิ่งมารู้ตัวว่า ff7 ภาษาอังกฤษมีจุดผิดเพี้ยนอย่างไม่น่าเชื่อเอาก็เมื่อไม่กี่ปีมานี้เองเหมือนกัน
  6. Agleam

    Agleam Member

    EXP:
    246
    ถูกใจที่ได้รับ:
    11
    คะแนน Trophy:
    18
    ได้รู้เบื้องหลังที่ไม่เคยอ่านจากที่อื่น ชอบมากเลยคับ

    ว่าแต่ถ้ามีโหวตขึ้นกระทู้แนะนำแบบพันทิพย์น่าจะดีนะเนี่ย
  7. basseafood

    basseafood ตั้งได้แค่ 50 ตัวเอง??? น้อยจริง!!!

    EXP:
    698
    ถูกใจที่ได้รับ:
    34
    คะแนน Trophy:
    98
    รู้สึกศรัทธาใน Chrono Cross มากกว่าเดิมค่ะ โปรแกรมที่รันออโต้ ตามตัวละ 40 กว่าตัวนี่มันล้ำจริงๆ แสดงให้เห็นเลยว่าเกมส์นี้ตัวละครแต่ละตัวมีสไตล์ของตัวมันเอง ไม่ได้มักง่ายมัวนิ่มแบบหลายๆเกมส์ที่เอาใครมาก็พูดแบบเดิม = 3 ="

    เมื่อไหรจะเอามาขายบน PSN ซักทีน้า??? Chrono Cross เนี่ย
  8. ffpokemon

    ffpokemon Editor

    EXP:
    1,691
    ถูกใจที่ได้รับ:
    79
    คะแนน Trophy:
    113
    พอได้มาอ่านเบื้องหลังแล้วอึ้งไปเลยทีเดียว FFVII แปลกันอยู่สองสามคน... โคตรเทพเลยครับ

    แต่พออ่านไปอ่านมานี่ผมว่าคนผิดคือผู้บริหารนะ คิดได้ไง เอาโปรแกรมเมอร์มาแปลภาษา
    ที่ถูกน่ะ ต้องจ้างนักแปลมืออาชีพมา คุยกับโปรดิวเซอร์แล้วแปลสคริปอย่างเดียวพอ ไม่ต้องยุ่งกับโปรแกรม
    พอแปลเสร็จได้สคริปอังกฤษ ก็ให้ทีมโปรแกรมเมอร์ที่เขียนภาคญี่ปุ่นนั่นแหละ ยัดลงไป

    แต่ Hoeywood นี่พี่แกทำได้ทุกอย่างตั้งแต่แปล โปรแกรม ฟอร์มทีม ศึกษาเกม สมควรชาบูเป็นอย่างยิ่ง

    สงสัยว่าสมัยก่อนคนญี่ปุ่นจะเน้นขายในประเทศเป็นหลักจริง ๆ ตลาดโลกเอาไว้ทีหลัง (น่าเสียดาย เงินทั้งนั้น)

    กับ FFT นี่ผมยังจำได้แม่นจนถึงทุกวันนี้
    Fire/Ice/Thunder/Stop Bracelet
    Dycedark's elder brother
    Bizen Boat
    Glacier Gun ยิงออกมาเป็นไฟ / Blaze Gun ยิงออกมาเป็นน้ำแข็ง
    Lancer
  9. jpenguin

    jpenguin Admin Staff Member

    EXP:
    2,537
    ถูกใจที่ได้รับ:
    93
    คะแนน Trophy:
    113
    ? พวกนี้จริงๆ แล้วต้องเขียนว่ายังไงบ้างเหรอครับ Lancer นี่สะกดไม่ถูก?
  10. eol

    eol earth of lolicon!!

    EXP:
    1,040
    ถูกใจที่ได้รับ:
    0
    คะแนน Trophy:
    86
    โอ้ววว เมพกันมากมาย !!!! ชาบู ชาบูคนแปล ........

    แต่ FF7 ผมอ่านผมก็งงนะ ยังไม่เก่ง Eng เอาแค่พอแปลออกนิดๆ หน่อย แค่นั้น 555+ (ดีกว่าเล่นยุ่นล่ะน่า .. อ่านไม่ออกเลย)
  11. ffpokemon

    ffpokemon Editor

    EXP:
    1,691
    ถูกใจที่ได้รับ:
    79
    คะแนน Trophy:
    113
    Fire/Ice/Thunder/Stop Bracelet มันเป็นท่าพ่นไฟ, พ่นน้ำแข็ง, พ่นสายฟ้า, ดับลมหายใจ
    ที่ถูกต้องเป็น Fire/Ice/Thunder/Stop Breath อันนี้เป็นเพราะคำทั้งสองในภาษาญี่ปุ่นมันสะกดคล้าย ๆ กัน

    Dycedark มันเป็นพี่คนโตอยู่แล้ว ความจริงฉากนั้นมันให้จัดการ Dycedark ที่เป็นพี่คนโตของแรมซา (elder brother, Dycedark) ต่างหาก เรื่องนี้คนในบอร์ด GameFAQs เอามาเล่นเป็นมุขหากินเลย เวลามีกระทุ้ถามว่า ใครทำนู่น ใครทำนี่ ใครเก่งสุด ใครอยู่เบื้องหลัง ก็จะมีคนมาตอบ Dycedark's elder brother ประจำ

    Bizen Boat ความจริงแล้วชื่อดาบมันเป็นชื่อเฉพาะ ไม่ควรแปลคำว่า Boat ควรใช้ Bizen Osafune

    Glacier Gun / Blaze Gun สลับชื่อกัน

    Lancer ความจริงแล้วคือ Dragoon เหมือนกับภาคอื่น

    นอกจากนี้ยังมี Ghost เป็น Gust, Molbol เป็น Moldball, Artermis Bow เป็น Ultimus Bow, Dispel เป็น Despair, ฯลฯ
  12. jpenguin

    jpenguin Admin Staff Member

    EXP:
    2,537
    ถูกใจที่ได้รับ:
    93
    คะแนน Trophy:
    113
    D: ทำไมเป็น Boat ไปได้เนี่ย เพราะคาตาคานะมันย่อเป็น ブロード จาก broadsword รึเปล่า?
  13. ultimaweapon

    ultimaweapon ULTIMA WEAPON

    EXP:
    4,247
    ถูกใจที่ได้รับ:
    8
    คะแนน Trophy:
    88
    ^ Osafune จริงๆเป็นชื่อเฉพาะครับ มาจากชื่อช่างตีดาบ 備前長船兼光 (บิเซนโอซาฟุเนะคาเนมิทซึ) ในชื่อมีคำว่า fune ที่แปลว่า"เรือ"อยู่ เลยโดนจัดไปยังงั้น....
    jpenguin ถูกใจสิ่งนี้
  14. evol

    evol Well-Known Member

    EXP:
    951
    ถูกใจที่ได้รับ:
    2
    คะแนน Trophy:
    88
    จะมาเห็นความสำคัญของการแปลภาษาจากเกมก็ต้องเจอเกมอย่าง Xenogear นี่ล่ะ
    เล่นเอาทีมแปลถึงกับร้องจ้ากนี่ก็สมควร เพราะผู้เล่นอย่างเราๆ ถึงกับอ้วกมาแล้วนินะ (ฮา)
  15. Highwind

    Highwind Member

    EXP:
    39
    ถูกใจที่ได้รับ:
    6
    คะแนน Trophy:
    8
    คารวะพี่เจที่เอามาแบ่งปันครับ

    เพิ่งรู้เกมภาษาอมตะตลอดกาลอย่างไฟนอล 7 จะถูกแปลงออกมาเป็นภาษาอังกฤษอย่างกระท่อนกระแท่นขนาดนี้ แต่มันก็ยิ่งเป็นหลักฐานชั้นดีที่แสดงว่าตัวเกมสนุกสุดยอด ขนาดที่ภาษาไม่สันทัด แต่ก็เนื้อเรื่องสามารถเข้าถึงผู้เล่นเกมได้ทั่วโลก

Share This Page