[บทความ]เคล็บลับแห่งการแต่งฟิค(ย้ายมาจากบอร์ดเก่า)

กระทู้จากหมวด 'Fiction' โดย maxlancer, 2 มกราคม 2008.

  1. maxlancer

    maxlancer ประธานรุ่น2ตุรกีเชียงใหม่

    EXP:
    1,183
    ถูกใจที่ได้รับ:
    1
    คะแนน Trophy:
    88
    พอดีผมกำลังผจญภาวะมุกตันกับฟิคก็เลยไปยกของเก่ามาลงจากบอร์ดเดิม ซึ่งคิดว่าน่าจะมีประโยชน์กับชาวบอร์ดฟิคในที่แห่งนี้ไม่มากก็น้อย (คนที่เคยอ่านมาแล้วก็ลองอ่านอีกรอบก็ได้เผื่อไอเดียจะปิ้งขึ้นมาบ้าง^^)

    ก่อนอื่นขอบอกไว้ก่อนว่าบทความต่อไปนี้เป็นบทความที่ผมเอามาจากบอร์ดประมูล ซึ่งตัวบอร์ดนั้นก็เอามาจากที่อื่นๆอีก แต่ด้วยว่ามันนานมาแล้วมากๆจึงไม่อาจหาชื่อเจ้าของบทความทั้งหมดที่แน่นอนได้ จะให้หาชื่อผู้เขียนบทความทั้งหมดก็ไม่ไหว ผมจึงขอพูดเอาไว้ตรงนี้ว่าที่ผมเอาบทความนี้มาลงไม่ได้หวังเอามาเป็นชื่อผลงานของตนเองแต่อย่างใด แต่แค่อยากให้นักแต่งมือใหม่(และมือเก๋า)ลองมาอ่านดู เพราะคาดว่าน่าจะได้ประโยชน์จากมันไม่มากก็น้อย แต่กระนั้นก็อยากขอขอบคุณท่านผู้ที่แต่งบทความเหล่านี้ให้เราได้ศึกษากัน หากท่านได้เวียนเข้ามาอ่านน่ะครับ

    อนึ่ง บทความข้างต้นนี้ ส่วนหนึ่งถูกแต่งโดยคุณcast off change hyper raymiel ต้องขอบคุณมากๆน่ะครับ

    และขอขอบพระคุณผู้แต่งบทความข้างต้นนี้ทุกๆท่านที่มิได้กล่าวชื่อมาอีกครั้งน่ะครับ

    -----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

    องค์ประกอบของฟิค

    1.โครงเรื่อง(plot)
    2.ตัวละคร(character)
    3.ฉาก(setting)
    4.แก่นเรื่องหรือแนวคดของเรื่อง(theme)
    5.กลวิธีการแต่ง(point of view)


    1.โครงเรื่อง(plot)

    คือ เค้าโครงของการดำเนินเรื่อง เรื่องสั้นมักมีเนื้อเรื่องที่ไม่ซับซ้อน โครงเรื่องที่ดีต้องมีความสัมพันธ์ ต่อเนื่องเป็นเหตุเป็นผลกัน มักมีการสร้างปมปัญหาหรือความขัดแย้ง (conflict) ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่อชีวิตของตัวละคร ความขัดแย้งที่ว่า แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะได้แก่ ความขัดแย้งภายใน และ ความขัดแย้งภายนอก

    - ความขัดแย้งภายใน คือ ความขัดแย้งภายในจิตใจของตัวละคร เช่น การที่ตัวละครต้องต่อสู้ระหว่างความดีและ ความเลวภายในจิตใจตัวเอง

    - ความขัดแย้งภายนอก คือ ความขัดแย้งระหว่างตัวละครกับสิ่งรอบข้าง ได้แก่
    ความขัดแย้งระหว่างตัวละครกับตัวละคร เช่นความขัดแย้งระหว่างคนดีกับคนเลว นางเอกกับนางอิจฉา(อะไรประมาณนั้น)

    ความขัดแย้งตัวละครกับธรรมชาติ เช่น การที่ตัวละครต้องสู่กับความทารุณของธรรมชาติ อาจจะเป็นความแห้งแล้งทุรกันดาน หรือภัยพิบัติต่างๆ
    ความขัดแย้งระหว่างตัวละครกับอำนาจเหนือธรรมชาติ เช่น การที่ตัวละครต้องสู้กับความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์หรือโชคชะตา ความขัดแย้งระหว่างตัวละครกับสังคม เช่น การที่ตัวละครต้องสู้กับความไม่เป็นธรรมในสังคม ค่านิยม หรือความเชื่อในสังคม


    2.ตัวละคร(character)

    คือ ผู้แสดงบทบาทหรือพฤติกรรมในเรื่อง อาจหมายถึง มนุษย์หรือ! รวมถึง อมนุษย์ เช่น เทวดา นางฟ้า เป็นต้น ตัวละครแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

    - ตัวละครที่มีลักษณะเดียว(flat character) เป็นตัวละครที่แสดงลักษณะนิสัยเพียงด้านเดียว ไม่การพัฒนานิสัย เช่น ถ้าเป็นคนดีก็ดีตลอด เป็นคนเลวก็เลวตลอด

    - ตัวละครที่มีหลายลักษณะ(round character) เป็นตัวละครที่มีลักษณะนิสัย อารมณ์ และความรู้สึกนึกคิดไปตามเวลา เหตุการณ์ และสิ่งแวดล้อมซึ่งจะดูสมจริงกว่า เช่น คนที่อยู่ฝ่ายดี ภายหลังเกิดความโลภ จึงหักหลังเพื่อน(อะไรประมาณนี้) หรือ คนที่อยู่ฝ่ายเลว ภายหลังมาอยู่ใกล้ชิดกับคนฝ่ายดี จึงกลับตัวกลับใจเป็นคนดี ในภายหลัง


    3.ฉาก(setting)

    ก็คือฉาก และยังอาจหมายถึง บรรยากาศหรือสถานที่ของเรื่อง ฉากที่ดีควรสอดคล้องกับเนื้อเรื่อง สมจริง ควรมีความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ภูมิศาสตร์ และสังคมเกี่ยวกับเหตุการณ์ในเนื้อเรื่องพอสมควร


    4.แก่นเรื่องหรือแนวคิดของเรื่อง(theme) หรือสารัตถะ

    คือ ความคิดสำคัญของเรื่อง เป็นสิ่งที่เชื่อมโยงทั้งหมด เข้าด้วยกัน โดยทั่วไปมักมีแนวคิดเพื่อแสดงถึงคุณค่าหรือความประพฤติของมนุษย์ เช่น ความโลภ ความพยาบาท เป็นตั้น หรือ อาจแสดงถึงภาวะบางอย่างของมนุษย์ เช่น ความอดอยาก ความทรมาน เป็นต้น


    5.กลวิธีการแต่ง(point of view)

    เป็นสิ่งที่แสดงถึงชั้นเชิงในการเขียนเรื่องของผู้แต่ง ที่ทำให้เรื่องน่าสนใจ น่าติดตาม กลวิธีในการแต่งของผู้แต่งแต่ละคนไม่เหมือนกัน จึงไม่มีรูปแบบตายตัว เช่น บางคนใช้การเปรียบเทียบระหว่างตัวละคร
    สองตัวในการนำเสนอ หรืออาจใช้การดำเนินเรื่องโดยไม่มีบทสนทนาเลย(อยากรู้ก็ดูเอาเองให้จบประมาณนั้น) หรือ กลวิธีอื่นมากมาย

    -----------------------------

    เนื้อเรื่องที่ดีทำยังไงหละถึงจะได้มา ?

    1. เลิกทำข้าวไข่ดาวทุกเช้าได้แล้ว (จงมีเอกลักษณ์)

    ไกลแสนไกลและนานเนิ่นนานมาแล้ว มีอาณาจักรแห่งหนึ่งนามสมมุติว่า "เฮงซวยแลนด์" อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุขเรื่อยมา จนกระทั่งวันหนึ่งมีพวกคนเลว (มังกรเลว, ปีศาจเลว, มอนสเตอร์เลว, หรืออะไรก็ตามแต่) ปรากฏตัวขึ้น ทำลายความสงบสุขนั้นด้วยวิธีต่างๆ นานา อาทิเช่น ลักพาตัวเจ้าหญิงของอาณาจักรไป (กรณีพระราชาแก่มีลูกสาวสวย) หรือเที่ยวไล่เผาหมู่บ้าน เผาอาณาจักร (ปากก็บอกอยากจะครองโลก ครองอาณาจักร ไม่ทราบว่าจะครองกองถ่านกันหรือไง) สถานการณ์เลวร้ายขึ้นจนกระทั่งมีนายหนุ่มคนหนึ่ง (..บางครั้งจะเป็นผู้หญิง.. แต่นานๆ ทีจะมีสักคน) ไม่รู้มาจากไหน ที่รู้คือ มันอายุเท่านู้นเท่านี้ ทำอาชีพนู่นนี่ (พ่อแม่มันก็ไม่รู้ว่าชื่ออะไร) บางครั้งนายหนุ่มที่ว่าก็เป็นลูกชาวบ้านธรรมดาที่อยากเก่ง เป็นอัศวินผู้กล้าจากอาณาจักรข้างๆ เป็นเจ้าชาย เป็นคนที่ฟ้าส่งมาเกิดเพื่อขจัดคนเลว หรือหนักหน่อยเป็นเทพหรือลูกพระเจ้าเลย นายหนุ่มเนี่ยไม่รู้มันจะเคียดแค้นอะไรหนักหนาจะต้องคิดจ้องล้างจองผลาญพวกผู้ร้าย (คนเลว, มังกรเลว, ปีศาจเลว, หรือมอนสเตอร์เลว) อาจจะเป็นเพราะโดนด่าพ่อแม่เอาไว้, โดนฆ่าล้างหมู่บ้าน, หรือผมอยากโชว์ความเก่งก็ว่าไป.. ที่นี้มันจะกระทำการใหญ่คนเดียวก็ไม่ได้จำเป็นจะต้องหาพรรคพวก (ตั้งแก๊งค์ว่างั้นเถอะ) ออกเดินทางไปตามที่ต่างๆ เพื่อรวบรวมคนมาเข้าทีม พอได้ทีม (แก๊งค์) ใหญ่โตพอควร ก็เริ่มออกเข่นฆ่าพี่น้องครอบครัวคนเลว (มังกรเลว, ปีศาจเลว, มอนสเตอร์เลว) อย่างไม่ปรานีปราศรัย ฆ่าเรียบด้วยสโลแกนที่ว่า "ข้าคือพระเอก" ตอนจบจะต้องสู้กับหัวหน้าคนสุดท้ายของผู้ร้าย ซึ่งนายหัวหน้านี่ก็โง่สุดโง่ แถมขี้ขลาดตาขาว ปล่อยลูกน้อยตายไปเป็นหมื่นเป็นแสน (บางครั้งก็ปล่อยให้วงศาคณาญาติของมันตายได้อย่างไม่รู้สึกเคียดแค้นอันใด) มันยังนั่งหน้าตาเฉยหดหัวอยู่แต่ในปราสาทของมัน รอคนเขาไปฆ่า ซึ่งนายหัวหน้าเนี่ยมักจะมีหลายร่าง และจะแปลงร่างก็ต่อเมื่อสู้ไม่ได้ (แปลงร่างสุดยอดแล้วฆ่านายพวกพระเอกตั้งแต่เริ่มก็ไม่ได้ ไม่รู้ทำไม) สุดท้ายก็จะแพ้ตามหลักธรรมะย่อมชนะอธรรม พวกพระเอกก็ได้รับการปูนบำเหน็จอย่างงดงามและอาจจะได้ปกครองประเทศนั้นไปเลย

    นี่แหละครับรูปแบบของข้าวไข่ดาวที่หลายๆ คนชอบทำกันทุกเช้า จะมีต่างกันก็ตรงระยะเวลาการทอดและซอสแม็กกี้หรือน้ำปลา หรือพิลึกหน่อยก็ซอสมะเขือเทศที่ใส่ลงไปปรุง ปัญหาของนายข้าวไข่ดาวนี่อยู่ที่คนกินครับ นายคนทำน่ะอาจจะสนุก เพราะชอบทอดไข่เป็นทุนเดิม และบังเอิญชอบกินไข่ดาวอย่างเดียว แต่คนกินครับรู้สึกเอียน หันไปทางไหนก็เจอแต่ข้าวไข่ดาว จานหนึ่งเป็นไข่ดาวแบบไข่แดงไม่สุก จานหนึ่งเป็นแบบตีไข่แดงแตกเละทั้งฟอง จานหนึ่งเป็นไข่ดาวใส่ซอสมะเขือ ฯลฯ จะหน้าตายังไงก็แล้วแต่มันก็เป็นไข่ดาวครับ กินยังไงมันก็ไข่ดาว รู้จักทำอย่างอื่นบ้างเถอะครับถึงแม้มันจะเป็นแค่ไข่เจียวก็ยังดี เพื่อให้คนกินได้รับรสชาติใหม่ๆ ที่ไม่ใช่ไข่ดาวเสียบ้าง เพราะไม่เช่นนั้นก็คงจะพาลเบื่อตายเสียก่อน เนื้อเรื่องที่เราคิดนั้นควรที่จะมีเอกลักษณ์ของตัวเองบ้าง อย่ามีเอกลักษณ์เพียงแค่ชื่อเลยนะครับ

    2. อย่าทำไก่ทอดด้วยแป้งผสมสับปะรดและมายองเนส (สูงสุดคืนสู่สามัญ)

    หลายคนหาทางออกการทำข้าวไข่ดาวด้วย การทำไก่ทอด... แต่ก็กลัวประวัติศาสตร์จะซ้ำรอยกว่าไก่ทอดนั้นจะซ้ำซาก ก็เลยต้องแหวกเป็นสูตรพิเศษเฉพาะของตัวเอง เลยปรุงซะพิลึกพิลั่นไปเลย ซึ่งปัญหานี้มักจะเห็นไปชัดกับบรรดานักออกแบบเนื้อเรื่องมือใหม่แทบทุกคน และจากบรรดามือเก่าที่ไม่รู้จักโตซะที

    ไกลแสนไกล ในโลกของผมเอง อาณาจักรนั้นสงบสุขมีพื้นที่กว้างใหญ่ชนิดสุดลูกหูลูกตา อาวุธหลักในสมัยนั้นมีเพียงแค่ดาบ แต่อาณาจักรนั้นขึ้นชื่อเรื่องเรือเหาะ เรือเหาะนั้นทำด้วยโลหะพิเศษลงคาถามนตราเอาไว้ มีขนาดของตัวเรือเป็นกิโลๆ ที่มาที่ไปไม่มีใครทราบ ว่ากันว่าพระเจ้าช่วยสร้าง (ทางออกของพวกฝ่ายอธรรมและมือใหม่คิดอะไรไม่ออกบอกพระเจ้า) นายอาณาจักรที่ว่าเนี่ยมีรถไฟ มีเรือเหาะ มีเกราะเหล็ก มีปืน มีสารพัด.. ตั้งแต่สากกะเบือยันดาวเทียมสังหาร ยิงปืนรังสีคอสมิก ขาดอยู่อย่างเดียว คือ แหล่งที่มาของนายทรัพยากรที่ท่านเอามาใช้สร้างนายสิ่งประดิษฐ์ทั้งหลายแหล่นั้น (... เอาซิ บอกว่าพระเจ้าหามาให้อีกซิ... ) สัตว์ประหลาดในโลกนั้น.. ธรรมดาๆไม่ได้ครับ ต้องพิสดารหน่อย เดี๋ยวจะไม่ทันสมัย ประมาณว่ามีสามหัว สี่แขน ห้าขา หกหาง มีปีก มีเขายุ่บยั่บ บางครั้งก็เป็น!บกระโดดไปมา หรือไม่ก็เป็นตุ๊กตาอะไรซักอย่าง ร้ายกาจสุดมีหุ่นยนต์รบอาศัยอยู่ในทุ่งหญ้า ช่างเป็นโลกที่น่ามหัศจรรย์พันลึกมากครับ (มั่วซั้วซะไม่มี)

    มันเป็นไก่ทอดที่รูปร่างแปลกและพิสดารมากครับ สีสันก็ไม่เคยพบเห็นที่ไหนมาก่อน ที่สำคัญก็คือ.. กระผมไม่กล้ากินมันครับ กลัวว่าทานเข้าไปแล้วจะชักตายคาที่ซะก่อน นี่เป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำอย่างยิ่งในการออกแบบเนื้อเรื่องนะครับ การใส่อะไรที่มันพิสดารเข้าไปโดยมุ่งหวังว่ามันจะดูใหม่ ดูแปลก (ซึ่งเหล่านี้ไม่ได้จะทำให้ดีเสมอไปนะครับ) ที่จริงแล้วคุณสามารถสร้างเอกลักษณ์ของเนื้อเรื่องตัวเองได้จาก.. "ความเป็นสามัญ" ใช้แต่ความสามัญเรียบๆ แหละครับ เป็นแค่อัศวินยุคกลางธรรมดาๆ คนหนึ่ง อยู่ในโลกที่ได้บรรยากาศของยุคกลาง อาศัยการเล่าเรื่องและการคลี่คลายปมปริศนาต่างๆ ในแบบฉบับของคุณเอง แค่นี้ก็เพียงพอแล้วหละครับ ผู้อ่านต้องการความแปลกใหม่ครับ ไม่ใช่ความมั่วซั้ว

    3. หัดทำแกงเขียวหวาน แต่ไม่ยอมค้นตำราวิธีทำ (อย่าโมเมเอาเองซะจนเกินงาม)

    ลองนึกสภาพถึงบางสิ่งบางอย่างที่ดูเหมือนแกงเขียวหวาน แต่ทว่าไม่ได้ใช้วัสดุแบบแกงเขียวหวานดูสิครับ.. ท่านคิดว่ามันจะน่ากินเพียงใดถ้าได้รู้ความจริงข้อนี้ ? หากใครสามารถกินมันลงได้... การอ่านบทความของกระผมก็คงไม่สามารถจะทำอะไรให้ท่านได้แล้วละครับ ขอให้โชคดีครับ

    ในการออกแบบเนื้อเรื่องนั้น เราจำเป็นที่จะต้องค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับบางอย่างที่เราจะนำมาใช้ในเนื้อเรื่องของเราบ้างครับ อย่าทำอะไรแบบโมเมเอาเองจนติดเป็นนิสัย หัดรู้จักเป็นคนที่มีเหตุมีผลบ้างครับ การที่เนื้อเรื่องของเรามีข้อมูลสนับสนุนและดูสมเหตุสมผลนี่แหละครับ จะเป็นส่วนสำคัญเลยที่จะช่วยเพิ่มสีสันให้กับเนื้อเรื่องของคุณให้ดูน่าเชื่อถือและรู้สึกอินกับมันได้ สำหรับในบทความนี้นั้น กระผมจะขอเน้นไปที่เนื้อเรื่องแนว Sci-Fi ก็แล้วกันครับ เพราะว่าเนื้อเรื่องแนวนี้นั้นชื่อก็บอกแล้วว่าเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ อันเป็นศาสตร์แห่งความรู้ที่สามารถพิสูจน์ได้จากการทดลอง ไม่ใช่ได้มาจากการโมเมเอา จึงจำเป็นที่จะต้องมีข้อมูลอ้างอิงพอสมควร ในส่วนนี้นั้นถือได้ว่าเป็นจุดอ่อนสำคัญที่หลายคนมักจะมองข้ามไปอยู่บ่อยๆ ทั้งๆ ที่ความสมเหตุสมผลนั้นสำคัญมาก


    4. เหลืองานให้เชอร์ล็อคโฮล์มทำบ้าง (หัดมีปริศนาเสียบ้าง)

    การที่มีการเก็บงำปริศนาในเรื่องนั้น เป็นเสน่ห์ดึงดูดใจให้ผู้อ่านติดตาม เพื่อที่จะค้นหาคำตอบของปริศนานั้น และเป็นการไม่ดีเลยถ้าหากเรื่องนั้นไม่มีปริศนาอะไรเลย หรือปริศนาภายในเรื่องดูไร้เหตุผลจนบางครั้งเข้าขั้น "งี่เง่า"

    5. คิดไม่ออก ออกไปเดินเล่นซะบ้าง

    ความเครียดเป็นศัตรูร้ายของนักออกแบบเนื้อเรื่องครับ ส่วนมากแล้วชีวิตนักออกแบบนั้นจะต้องหมกตัวอยู่ตรงคอมพิวเตอร์ ที่หน้าจอนั้นโดยมากก็มักจะรันโปรแกรม Microsoft Word อยู่ เพื่อใช้ในการพิมพ์สิ่งที่พวกเขาคิดลงไป อย่ามัวแต่นั่งที่หน้าจอเลยครับ หัดออกไปเดินเล่นข้างนอกบ้าน บางทีการออกไปเดินเล่นพักผ่อนนั้นท่านอาจจะได้พบกับไอเดียดีๆ ที่ท่านจะสามารถนำมาใช้ก็ได้ !?

    การใช้คำว่า "คะ" กับ "ค่ะ" อย่างคร่าว (เห็นว่านักแต่งมือใหม่ผิดกันบ่อยเหลือเกิน)

    "ค่ะ" เป็นเสียงต่ำ มักจะใช้ในตอนที่ตัวละครพูดรับคำกับคู่สนทนา ( คำตอบรับเช่นเดียวกับ "ครับ" ) เช่น " คุณชื่อ ..... หรือเปล่าครับ " " ใช่แล้วค่ะ "

    ซึ่งบางครั้ง อาจจะใช้ "จ้ะ" หรือ "จ้า" แทนกันได้ ซึ่งเมื่อใช้แล้วจะทำให้ประโยคมันดูเป็นกันเองมากขึ้น เป็นประโยคที่คนมีความสนิทกันพอสมควรพูดกัน

    ส่วน "คะ" เป็นเสียงสูง ย้ำ! เสียงสูง! โดยทั่วไปใช้ในประโยคคำถาม
    เช่น " ทานข้าวหรือยังคะ? " หรือ " ไม่ทราบว่า คุณคือ .... ใช่ไหมคะ? "
    และเช่นเดียวกัน อาจจะใช้ "จ๊ะ" มาแทนได้ ในบางครั้ง


    อย่าเข้าใจผิดว่าใช้ "ค่ะ" มาแทนกันได้ เป็นความคิดที่ผิดอย่างมหันต์!!

    แต่มีบางกรณีที่ "ค่ะ" กับ "คะ" ใช้แทนกันได้ แต่ต้องเปลี่ยนรูปประโยคก่อนหน้าด้วย ไม่งั้นก็จะเป็นการอยู่ผิดที่ผิดทางไม่ต่างกับการใช้สลับกัน
    อย่างเช่น
    " ไม่เห็นค่ะ "
    ถ้าจะใช้ "คะ" แทน ก็อาจจะกลายเป็น
    " ไม่เห็นนี่คะ "
    เป็นต้น

    สุดท้าย ถ้ายังไม่เข้าใจนัก ลองกลับไปทบทวนบทเรียนภาษาไทยของสมัยประถม เรื่องการผันวรรณยุกต์ของอักษรเสียงต่ำ กลาง และสูง ดูว่ามันผันอย่างไร แล้วก็ออกเสียงตามไปด้วย จะเข้าใจได้ง่ายที่สุด

    -=-=-=-=-=-=-=-=-=-=-=-=-=-=-=-=-=-=-=-=-=-=-=-=-=-=-=-
    Fiction คืออะไร?

    คำถามนี้ทุกคนก็คงรู้แหละแม้ไม่ต้องบอก Fiction แปลเป็นไทยว่า นิยายหรือเรื่องที่แต่งขึ้นมา แต่ก็อย่าเพิ่งดูถูกฟิกชั่น เพราะฟิกชั่นนี้คือต้นกำเนิดของ อนิเมชั่น ภาพยนตร์ เกม คอมมิค และอื่น ๆ อีกหลายอย่างทุกท่านชื่นชอบกันมาแล้วทั้งนั้น เพราะสิ่งเหล่านี้ล้วนเกิดจากจินตนาการทั้งหมดฟิกชั่นจึงเป็นรากฐานของการเกิดสิ่งเหล่านี้นั่นเอง องค์ประกอบหลักสำคัญ ๆ ของฟิกชั่นก็จะแบ่งได้ 3 คือ แก่นของเรื่อง เนื้อเรื่อง และ ตัวละคร

    แก่นเรื่อง คืออะไรล่ะ? แก่นเรื่องนั้นก็หมายถึงจุดมุ่งหมายของเรื่องว่าต้องการจะทำอะไร ตัวอย่างเช่น ผู้กล้าต้องการปราบจอมมาร อยากเป็นที่ 1 ของโลก อะไรทำนองนี้ ซึ่งแก่นเรื่องแปลง่าย ๆ ก็คือจุดมุ่งหมายที่ตัวเอกต้องการจะไปให้ถึงหรือทำให้ได้นั่นเอง ซึ่งแก่นของเรื่องนี้เป็นส่วนที่สำคัญที่จะขาดเสียไม่ได้ในฟิกทุกแนวและแก่นเรื่องนั้นสามารถมีได้มากกว่า 1 และอาจจะมีแก่นรองย่อย ๆ ลงไปในแก่นหลักอีกก็ได้ขึ้นกับว่าผู้แต่งจะสร้างเรื่องได้ซับซ้อนแค่ไหน ยกตัวอย่างง่าย ๆ อย่างฟิกของเรา [ Ragnarok : Tale Another with Rival ] ถ้าหากอ่านกันดี ๆ จะทราบว่าแก่นเรื่องของเราคืออะไร ? ถ้าหากไม่ทราบจะบอกให้ ตัวเอกในเรื่องนั้นมีชื่อว่า ดาร์ช และเขาต้องคอยต่อสู้กับชายหนุ่มอีกคนนึงที่เป็นคู่แค้นของเขาอยากหลีกหนีไม่ได้เองนั่นคือแก่นหลัก ๆ ที่ตัวละครเอกของเราต้องการ แต่เราก็มีแก่นรองคือจุดมุ่งหมายในแต่ละตอนในการทำภารกิจในแต่ละตอนให้สำเร็จ แต่ก็ยังเชื่อมโยงกับแก่นหลักอยู่โดยตัวเอกจะทำภารกิจด้วยจุดมุ่งหมายนี้ ซึ่งก็เปรียบได้กับต้นไม้ที่มีลำต้นใหญ่และแตกกิ่งก้านสาขาออกไปนั่นเอง


    แล้วเนื้อเรื่องล่ะ? เนื้อเรื่องนั้นก็คือ เส้นทางหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่จะนำตัวละครเราไปสู่แก่นเรื่องนั่นเอง โดย เนื้อเรื่องนั้นก็ขึ้นอยู่กับว่าผู้แต่จะกำหนดอย่างไร เช่น หากตัวเอกต้องออกไปปราบจอมมาร แต่จะทำอย่างไรถึงจะปราบมันได้ล่ะ ไปฝึกให้เก่งกล้า หรือออกรวบรวมสมัครพรรคพวกดี หรืออื่น ๆ ซึ่งเนื้อเรื่องเป็นสิ่งที่จะทำให้ฟิกนั้นสนุกสนานหรือไม่ได้เรื่องไปเลย โดยหลักการคิดเนื้อเรื่องนั้นทางที่ดีเราควร คิดว่าหากเราเป็นตัวละครที่มีความสามารถและนิสัยแบบนั้น เราจะทำยังไงเพื่อให้ได้มาเพื่อจุดมุ่งหมาย


    ตัวละคร? ไม่บอกก็คงคุ้นเคยกันดี ตัวละครคือผู้เดินเรื่องนั่นเอง โดยเราจะมีตัวละครหลัก ๆ 1-2 ตัวเป็นผู้เดินเรื่องซึ่งก็คือพระเอกหรือนางเอก


    แล้วเราจะแต่งฟิกกันยังไงดีล่ะ? ก็ดังที่บอกกันข้างต้นนั่นแหละว่าองค์ประกอบสำคัญของฟิกมี 3 ส่วนหากเราจะแต่งฟิกล่ะก็เราก็ต้องสร้าง 3 สิ่งนั้นขึ้นมาโดยเรียงลำดับจาก แก่นเรื่อง เนื้อเรื่อง และตัวละคร แต่ในบางครั้งเราก็จะสร้างเนื้อเรื่องก่อน จากนั้นก็ตัวละครและก็แก่นเรื่องในภายหลังโดยหลักการสร้าง 3 สิ่งก็จะมีดังนี้


    หลักการสร้างเนื้อเรื่อง ในส่วนของเนื้อเรื่องนี้จะแตกส่วนย่อยออกเป็นอีก 4 ส่วนคือ บทนำหรือจุดเริ่มต้น การพัฒนา จุดไคลแม็กซ์ และบทสรุปหรือจุดจบ


    บทนำนั้นไซร้คืออะไรหรือ? หลายคนรู้จักบทนำกันเป็นอย่างดีเพราะหากขาดบทนำแล้ว ก็จะยากที่ผู้อ่านจะทำความเข้าใจกับฟิกได้ บทนำจะทำหน้าที่แนะนำโลกในฟิกที่คุณจินตนาการขึ้น ให้กับผู้อ่านได้ทราบ โดยบทนำนั้นจะสร้างสถานการณ์ สถานที่ และจุดเริ่มต้นของเหตุการณ์ต่างที่จะนำไปสู่เนื้อเรื่องของเรา โดยบทนำที่ดีควรจะบอกทำให้ผู้อ่านรู้ว่า ใครเป็นตัวละครที่จะมามีบทบทสำคัญในเรื่อง ตัวอย่างบทนำของเรา ขอยกจาก[ Ragnarok : Tale Another with Rival ] อีกครั้งนะ

    ...
    ...

    ในเมื่อมีจุดเริ่มต้น... มันมักจะต้องมีจุดจบเสมอ... นั่นคือคำพูดที่ผู้พูดนั้นๆกล่าวไว้นานเนิ่นนานแล้ว... เขากำลังกล่าวถึงจุดเริ่มต้นของดาวเคราะห์ดวงเล็กๆสีฟ้าสดใสที่มีชื่อคุ้นเคยกันดีว่า " โลก " นับแต่อดีตกาลมา เมื่อจิตสำนึกแห่งความดีและความชั่วร้ายต่างๆกำลังก่อตัวขึ้นในนามของ " เทพเจ้า " และ " ซาตาน " พวกเขามีอำนาจพอที่จะสามารถสร้างทุกๆสิ่งทุกๆอย่างที่จะพรรณนาได้ด้วยความศรัธทาและเกลียดชัง...


    พวกเขาสร้างสิ่งมีชีวิตเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน แม้กระทั่งเผ่าพันธุ์ที่มีสติปัญญาที่คิดได้ด้วยตนเองหลากสายพันธ์... แต่ทว่าสิ่งที่เขาสร้างขึ้นเป็นสิ่งสุดท้ายนั้นก็คือ " มนุษย์ " นั่นกลายเป็นข้อผิดพลาดครั้งใหญ่ที่พวกเขาคาดไม่ถึงเลย เมื่อจุดเริ่มต้นที่เขาได้สร้างมนุษย์นั้น... จะกลายเป็นจุดจบของโลกมนุษย์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่มีวันจบสิ้น


    มนุษย์นั้น... พวกเขานั้นทั้งอ่อนแอ งี่เง่า ขี้ขลาดและเจ้าเล่ห์ อีกทั้งความโลภและความเห็นแก่ตัว.... ไม่นานนัก พวกเขาก็เริ่มต่อสู้กันเอง.... และก่อสงครามในที่สุด การกระทำโง่เขลาของมนุษย์นั้น ทำให้เกิดผลกระทบของการสูญเสีย.... ครั้งแล้วครั้งเล่าเมื่อการพัฒนาที่ไม่มีสิ้นสุดของพวกเขาเหล่านั้นกำลังเดินทางมาถึงยุคปัจจุบันที่พวกเรากำลังดำเนินอยู่ทุกๆวันด้วยความเชื่อที่คิดว่า โลกเรายังคงสงบสุขอยู่ทุกๆวันๆ


    ในที่สุด.... ในอนาคตอันไม่ใกล้ไม่ไกล... ปีคริสต์ศักราชที่ 2413... ผลพวงจากอาวุธสงครามระเบิดจุลสาร ( บางทฤษฎีที่บิดเบือนไปนั้นมันอาจจะเป็นระเบิดไนโตรเจนเหลว ) การระเบิดครั้งนั้นส่งผลทำให้มนุษยชาติล้มตายไปหว่า 3/4 ของโลก... ชั้นบรรยากาศของโลกแปรเปลี่ยนไปเป็นน้ำแข็งเกาะคลุมไปหมดทั่วทุกผืนแผ่นดิน


    ฤดูหนาวมาเยือนแล้ว....


    วันเวลาผ่านไปอีกหลายร้อยปีที่ไม่เคยมีใครเคยจำได้... ในที่สุดสภาพอากาศของโลกเริ่มเข้าสู่เช้าที่สดใสอีกครั้ง เมื่อโลกปรับสภาพเข้าสู่ช่วงเวลาปกติที่มนุษย์ในพื้นใต้หิมะปกคลุมมาเป็นเวลานานแสนนานเริ่มลุกขึ้นเพื่อที่จะฟื้นฟูอารยธรรมของตนเอง... ถึงแม้จะต้องกินระยะเวลาเป็นจำนวนมากก็ตามที

    ช่วงระยะเวลาที่ผ่านไปอาจทำให้หลายๆสิ่งหลายๆอย่างบนโลกแปรเปลี่ยนไป เวทมนต์... ความเพ้อฝัน... แฟนตาซี แม้กระทั่งเทคโนโลยีรูปร่างแปลกๆจะพัฒนาขึ้นในแบบที่คนเราคาดกันไม่ถึง แต่ถึงอย่างไร... มนุษย์นั้นยังคงต้องการความต้องการที่มีติดตัวตั้งแต่เกิดที่ไม่เคยจางหายไป... การฆ่าฟัน การนองเลือด สงครามของระหว่างอาณาจักรต่างที่ก่อตั้งขึ้นอย่างไม่มีที่สิ้นสุดหลังภัยพิบัตินั้นๆ


    จากคำพูดเหล่านั้นที่ชายผู้หนึ่งได้เล่าให้ฉันฟัง... มันเป็นระยะเวลาที่นานมากแล้วจนฉันจำไม่ได้แล้วว่าเขาคนนั้นคือใคร... รู้แต่ว่าเส้นผมสีดำยาวที่ปกปิดใบหน้านั้น มีเพียงรอยยิ้มที่อบอุ่นส่งให้ฉันพร้อมกับเปลวไฟจากเตาผิงในค่ำคืนยามนั้น และ คำพูดเลือนลางในความทรงจำที่ไม่เคยหายไป


    " ดวงตาสีฟ้า... ช่างงดงามเหมือนกับแม่ของเจ้านัก... ดั่งพระจันทร์ท่ามกลางท้องฟ้าดาราพราว... "

    ...
    ...

    จากบทนำนั้นจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่ายุคสมัยในนิยายของเราจะเริ่มต้นในยุคใด โดยที่ตัวเอกหรือตัวละครอื่นๆจะเริ่มกล่าวในส่วนต่อๆไปของฟิค


    การพัฒนาเป็นยังไง? ในขั้นนี้ไม่มีอะไรมามันก็คือขั้นตอนที่จะค่อย ๆ ดำเนินเรื่องราวไปเรื่อย ๆ แนะนำสิ่งต่าง ๆ ไปเรื่อย ๆ และการดำเนินการต่าง ๆ ที่จะนำเข้าไปสู่แก่นเรื่องที่เราวางเอาไว้ เช่น หากพระเอกต้องการปราบจอมมาร และคิดจะออกรวบรวมสมัครพรรคพวก ตรงส่วนนี้ก็คือช่วงที่จะพานพบตัวละครต่าง ๆ และดึงมาเป็นพวกนั่นเอง ซึ่งส่วนนี้เราก็ควรแสดงบุคลิกตัวเอกและสถานการณ์มาระดับ 1 แล้ว


    และจุดไคลแม็กซ์ล่ะ? บางครั้งจุดนี้ก็อาจเป็นจุดหักเหของเรื่อง ซึ่งเรื่องราวตรงจุดนี้จะทำให้คนอ่านรู้สึกลุ้นระทึกกับสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น ต่อไป เช่นการตัดสินระหว่างกลุ่มผู้กล้ากับจอมผู้แข็งแกร่ง จุดแตกหักของการสู้รบ อะไรทำนองนี้


    บทสรุป ส่วนนี้ทุกคนทราบกันดีอยู่แล้ว มันก็คือจุดจบของและผลลัพธ์เรื่องราวทั้งหมด โดยบทสรุปนี้ทุกคนก็สร้างสรรค์ได้ดังใจ คุณจะชอบแฮปปี้หรือไม่แฮปปี้ และบางครั้งการทำภาคต่อ ก็จะอาศัยบทสรุปนี้สร้างนำเรื่องของภาคต่อไปได้เหมือนกัน

    อย่างไรก็ดี ฟิกคุณนั้นจะสูญเปล่าไปในทันตาหากว่าผู้อ่านนั้นไม่เข้าใจในสิ่งที่คุณถ่ายทอดหรือเขียนออกมา สิ่งสำคัญยิ่งในการสร้างเนื้อเรื่องก็คือ ควรง่ายต่อการเข้า ซึ่งจะเป็นเช่นนั้นได้ผู้แต่งก็จะต้องเป็นผู้ทำให้มันเข้าใจง่ายโดยเราใคร ๆ ก็สามารถทำได้หากเข้าใจหลักการ ในเวลาที่คุณสร้างเนื้อเรื่องขอให้คำนึงถึง 5W และ How เอาไว้ ซึ่ง 5W ได้แก่ Who(ใคร) When(เมื่อไหร่) Where(ที่ไหน) What(ทำอะไร) Why(ทำไม) How(ทำอย่างไร) ซึ่งเนื้อเรื่องที่ดีควรจะมีความคมชัดในเรื่องที่ว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ ทำสิ่งนั้นทำไม และทำอย่างไรในเวลานั้น ซึ่งเหล่านี้ควรคำนึงถึงเหตุและผลเป็นปัจจัยสำคัญด้วย เพราะหากไม่มีเหตุและผลที่เพียงพอ ฟิกคุณจะดูแกรน ๆ และขาดความสมดุลและด้อยค่าในสายตาผู้อ่านไปในทันตา และหากแสดงสิ่งที่กล่าวมานี้ไม่เด่นชัดมันก็จะอ่านยากและถูกเมินได้


    หลักในการสร้างตัวละคร ตัวละครคือสิ่งสำคัญที่ขาดมิได้ ถ้าหากขาดตัวละครแล้วใครจะเดินเรื่องล่ะ แต่แน่นอนว่าทุกคนรู้จักดีอีกเช่นกัน ฟิกจะมีพระเอกและนางเอกเป็นผู้ดำเนินเรื่อง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นตัวร้ายและตัวละครอื่น ๆ ก็มีความจำเป็นเช่นกัน หากเรื่องมีแค่พระเอกนางเอกและผู้ร้ายเรื่องก็จะเซ็งแย่ เพราะเจอหน้ากันอยู่แค่เนี้ย ส่วนฟิกที่เทบทให้พระเอกมากเกินจนคนอื่น ๆ ดูเป็นแค่ตัวประกอบฉากมันก็จะเลี่ยนและดูไม่เข้าท่า การที่เรามีตัวละครหลากหลายเป็นผู้ดำเนินเรื่องและเป็นตัวเชื่อมเหตุการณ์ต่าง ๆ ให้ไปสู่แก่นเรื่องมันจะช่วยให้เรารู้สึกถึงความหลากหลายและไม่เบื่อ แม้ว่าเราจะมีพระเอกเป็นตัวหลักแต่หากน้องสังเกตการ์ตูนหลาย ๆ เรื่องจะมีบางช่วงที่เขาให้บทบาทคนอื่น ๆ มามีหน้าที่บ้าง เช่นมาช่วยพระเอก มาให้คำปรึกษา เป็นผู้กำกุญแจ ฯลฯ ซึ่งการสร้างตัวละครเราจะต้องตัดสินแนวเรื่องก่อนอันดับแรกแล้วเราจึงค่อยมาตัดสินใจเรื่องการสร้างตัวละคร โดยการออกแบบตัวละครเราควรจะคำนึงถึง ลักษณะนิสัย อายุ และบุคลิกอันเป็นจุดเด่นของตัวละครนั้น ๆ เพราะส่วนนี้จำทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างตัวละครขึ้นมาและเรื่องราวก็จะดูสนุกสนาน ส่วนเรื่องอื่น ๆ ก็แล้วแต่จะระบุเพราะตัวละครแต่ละเรื่องก็จะให้บางอย่างต่างกัน ( แล้วแต่จะยกตัวอย่าง )

    และสำคัญเราความระบุทีมาที่ไปของตัวเอกด้วยจะดีมากแต่ถ้าหากต้องการให้ที่มาที่ไปตัวเอกเป็นจุดสนใจหรือบลึกลับเราก็ไม่ต้องบอก ( ถือเป็นจุดขายไปในตัว )

    การผูกปมปัญหา Step by Step

    Basement ของ"ปัญหา" คือ สิ่งที่ทำให้เกิดความไม่พึงพอใจ ซึ่งผลักดันให้เกิดการเคลื่อนไหว

    ถ้าไม่มีจอมมาร คนจะแห่มาเป็นผู้กล้าหรือ
    ถ้าไม่มีสงคราม พระเอกคงทำไร่ไปวันๆ ไม่ได้มาแสดงฝีมืออันร้ายกาจข่มขวัญข้าศึก
    ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นเหตุการณ์ธรรมดาๆ ปกติวิสัยของมนุษย์ ที่จะไม่ทำอะไรโดยปราศจากแรงจูงใจ

    ปมปัญหา นับเป็นจุดสำคัญของเนื้อเรื่องจุดหนึ่ง ถึงคุณจะบรรยายดีแค่ไหนแต่คงไม่มีใครอยากอ่านนิยายแฟนตาซีที่เถรตรง ประเภท ผู้กล้าฝ่าฟันอุปสรรค เจอปิศาจ ฟันฉัวๆ เจอจอมมาร ฟันฉับๆ จบบริบูรณ์......................................

    แค่นี้ก็เอียนแล้ว จริงไหม

    ปมปัญหาเป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้เนื้อเรื่องดูมีเอกลักษณ์ และเป็นตัวกำหนด Theme ในการดำเนินเรื่อง ตามปกติ เรื่องสั้นจะมีปมปัญหาแค่ 1-2 ปม มักจะไม่มากกว่านี้ ส่วนเรื่องยาว(นิยาย) มักมีปมปัญหาหลัก 1-2 ปัญหา(อาจมากกว่านี้ เช่นในงานเขียนที่แบ่งเป็น Chapter ซึ่งบางเรื่อง แต่ละ Chapter อาจมีปมปัญหาหลัก แยกเป็นของตนเอง) และปมปัญหารองๆ จำนวนหนึ่ง เพื่อให้เนื้อหาดูน่าสนใจขึ้น หรืออาจใช้ในเหตุผลอื่นๆ เช่น เพื่อให้เกิดพัฒนาการของตัวละคร ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม(เช่น มีการเปลี่ยนผู้ปกครอง ทำให้สภาพเศรษฐกิจและสังคมเปลี่ยนแปลง และมีผลกระทบต่อเนื้อเรื่อง) เป็นต้น

    แต่การเติมปมปัญหาเข้าไปมากเกินไป อาจทำให้เสีย Theme หลักของเรื่อง นำมาสู่ปรากฏการณ์ที่มักพบในวรรณกรรมที่ยืดเรื่องจนเกินงาม ที่เรียกว่า "ออกทะเล" (หลายๆคนน่าจะเคยพบในการ์ตูนหลายๆเรื่องนะครับ) ซึ่งการกำหนดปมปัญหาย่อยนี้มีหลักเกณฑ์ไม่ตายตัวขึ้นอยู่กับแนวการแต่งและประสบการณ์ของผู้ประพันธ์เป็นหลัก

    หากมีปัญหา ก็ต้องแก้ไข แล้วจะจัดการกับ ปมปัญหาอย่างไร
    บางครั้ง การพยามแก้ปมปัญหารอง อาจทำให้เรื่องหลุด Theme ได้ง่ายๆ กว่าจะรู้ตัวเราอาจไปโผล่ที่เกาะแมนฮัตตันแล้วก็ได้

    การแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ คือคำตอบ อาจฟังดูแปลกซักนิด แต่ขอบอกว่า
    "มาเรียนวิทยาศาสตร์กันดีกว่า"

    ลองติ๊ต่างว่า นิยาย = งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์
    งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ 100 ทั้ง 100 เกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาให้มนุษย์ เพราะฉะนั้น วิธีที่ใช้แก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์นี่ล่ะ จะทำให้เราแก้ไขปมปัญหาโดยไม่หลงทาง
    --------------------------------------------------------------------------------------------------

    Step by Step

    1.ขั้นแรก กำหนดปัญหา ปมปัญหาหลักของเรื่อง คืออะไร
    2.ลองตั้งสมมติฐาน ว่าง่ายๆคือ ลองคิดดูว่าจะแก้ปัญหานี้อย่างไร
    3.ออกแบบการทดลองและทำการทดลอง ในงานเขียน อาจลองเขียนดูคร่าวๆก่อน ว่าถ้าใช้วิธีนี้แก้ปัญหา มันน่าจะเป็นไปได้หรือไม่ บางครั้งมันอาจออกมาไม่ดีอย่างที่คิดก็ได้ และอาจทำให้เกิดปัญหาใหม่ๆขึ้นอีก(เช่น คิดว่าจะแก้ปัญหาโดยการทำสงคราม แต่ผลที่ตามมาคือปัญหาใหม่ๆ จำนวนมาก เช่น การระดมพล แหล่งเงินทุน ยุทธ์พิชัยในการรบ etc. ) หรือในบางครั้ง ผู้แต่งอาจจงใจให้ตัวละครแก้ไขปัญหาผิดพลาด เพื่อให้เกิดปมปัญหาใหม่ขึ้น
    4.สรุปผล ว่าการแก้ปัญหาด้วยวิธีนี้ใช้ได้จริงหรือไม่ หากยังใช้ไม่ได้ มีวิธีปรับปรุงอย่างไร

    ในการทำครั้งแรกๆอาจยุ่งยากอยู่บ้าง แต่ถ้าเกิดความเคยชินแล้ว จะสามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    ก่อนจาก ขอฝากหลักการของปมปัญหา โดยสรุป ดังนี้
    1.ปมปัญหา เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ เว้นแต่คุณจะแต่งให้พระเอกเดินบนถนนราบๆ ไม่เจออะไรเลย จนจบ
    2.ก่อนจะสร้างปมปัญหารอง ให้ดูด้วยว่ามันจะไม่ทำให้เนื้อเรื่องออกทะเล
    3.ไม่ควรสร้างปมปัญหาพร้อมกันทีละหลายๆปมเพราะทั้งผู้แต่งและคนอ่านจะสับสนกันหมด
    4.สร้างปมปัญหาแล้ว แก้ซะด้วย ไม่ใช่จบแบบคาราคาซัง
    5.การแก้ปัญหา "อาจ" แกล้งให้ทำไม่สำเร็จบ้าง เนื้อเรื่องจะได้ดูมีมิติ ไม่ใช่พระเอกเก่งเวอร์ คนอ่านจะเอียนเอา

    ต่อไปนี้ ที่จะพูดกัน ณ ตรงนี้คือ ความรู้พื้นฐานเล็กๆน้อยๆของอาวุธต่างๆในการแต่งฟิคหรืออื่นๆ


    ก่อนที่เราจะเข้าเรื่องขอทำความเข้าใจไว้ตรงนี้ก่อนว่าที่เราจะพูดทั้งหมดในที่นี้ คือหลักพื้นฐานที่มีในความเป็นจริง โดยใช้พื้นฐานจากคนธรรมดา ๆ ไม่ได้มีพลังโอเวอร์สุดยอดหรอกนะคะ ส่วนในฟิกจะพูดกันท้ายเรื่องนั่นแหละ เอาล่ะถ้าพร้อมแล้วก็เริ่มงานกันเลย

    อาวุธ คือ เครื่องมือที่ใช้ในการทำร้าย ป้องกัน หรือต่อสู้ และถ้าพูดถึงการต่อสู้แล้วก็จำเป็นต้องมีอาวุธ เพราะอาวุธคือสิ่งจำเป็นสำหรับการต่อสู้ หลายคนที่นิยมแต่ฟิคชั่นในแนวเชิงการต่อสู้จะสังเกตเห็นได้ชัดเลยว่าถ้ามีการต่อสู้เมื่อใด ก็ต้องมีอาวุธมาให้เราเห็นเมื่อนั้น โดยอาวุธที่เราพบเห็นกันก็มีหลายประเภท เช่น ดาบ หอก ทวน กระบี่ พลอง กระบอง สนับมือ ปลอกแขน ขวาน ค้อน เคียว ลูกตุ้ม แส้ มีด ง้าว หลาว คทา อาวุธซัด กรงเล็บ โล่ และ ปืน ซึ่งวันนี้ผมจะพูดถึงอาวุธที่กล่าวไปข้างต้นนั่นแหละ


    จากพจนานุกรมราชบัณฑิตย์ฐาน ได้นิยามอาวุธเหล่านี้ไว้ว่า (ไว้ว่างจะหารูปมาประกอบ)

    ดาบ คือ มีดยาวปลายแหลมชนิดหนึ่ง สันแอ่นปลายงอนเล็กน้อย มักใช้เป็นอาวุธสำหรับฟันแทง

    หอก คือ อาวุธสำหรับแทงชนิดหนึ่ง ทำด้วยโลหะ มีด้ามยาว

    ทวน คือ อาวุธชนิดหนึ่งคล้ายหอก แต่เรียวเล็กและเบากว่า ด้ามยาวมาก

    กระบี่ คือ มีดรูปดาบ มีฝัก ที่ด้ามถือมีโกร่ง (โกร่ง = โลหะรูปโค้งที่ด้ามกระบี่หรือดาบบางชนิด สำหรับป้องกันไม่ให้อาวุธถูกมือ)

    พลอง คือ เรียกไม้ใช้เป็นอาวุธยาวประมาณ ๔ ศอกว่า ไม้พลอง

    กระบอง คือ ไม้สั้นสำหรับใช้ตี มีรูปกลมบ้าง เหลี่ยมบ้าง คล้ายพลอง แต่สั้นกว่า.

    สนับมือ คือ เครื่องสวมมือทำเป็นรูปเหมือนแหวน ๔ วงติดกันสำหรับสวมนิ้วมือเวลาชก.

    ปลอกแขน คือ สิ่งที่ทำเป็นวงสำหรับสวมหรือรัดป้องกันแขน

    ขวาน คือ เครื่องมือสำหรับตัด ฟัน ผ่า ถากไม้ ทำด้วยเหล็กมีสันหนาใหญ่

    ค้อน คือ ชื่อเครื่องมือสำหรับเคาะ ตอก ตี ทุบ

    เคียว คือ เครื่องมือทำด้วยเหล็กรูปโค้ง มีคม

    ลูกตุ้ม คือ ไม้หรือเหล็กยาวๆ มีลูกกลมข้างปลาย ใช้สำหรับเป็นอาวุธ

    แส้ คือ อุปกรณ์ที่ปลายถักหรือฟั่นเป็นเกลียว ยาวอย่างไม้เรียว

    มีด คือ เครื่องมือสำหรับฟัน ผ่า จัก เหลา

    ง้าว คือ ดาบด้ามยาว

    หลาว คือ ไม้ที่เสี้ยมแหลม เป็นอาวุธสำหรับแทงหรือพุ่งเข้าใส่

    อาวุธซัด คือ อาวุธที่ใช้โดยต้องปล่อยไปหรือเหวี่ยงไปโดยแรง

    โล่ เครื่องปิดป้องศัตราวุธ

    คทา คือ ไม้สำหรับถือ ใช้ตี โดยมากมีรูปกลม

    กรงเล็บ คือ กลุ่มเล็บของแมวหรือนกเป็นต้นเมื่อขยุ้มเหยื่อ มีเค้าคล้ายกรง

    ปืน คือ อาวุธสำหรับยิงให้ลูกออกจากลำกล้องด้วยกำลังดินระเบิดหรือแรงอัดดันด้วยลมเป็นต้น

    ซึ่งอาวุธแต่ละอย่าง ก็มีรูปแบบและลักษณะการใช้งานแยกย่อยไปในประเภทของตัวมันเองอีกทีหนึ่ง โดยเราจะขอไล่ไปทีละหัวข้อละกัน

    1. ดาบ เป็นอาวุธที่หลายคนนิยมใช้ และพระเอกในฟิกหรือในอนิเมชั่นหลายเรื่องนิยมมาก สาเหตุก็คงเพราะ ดาบเป็นสัญลักษณ์แห่งอำนาจ หรือ ผู้นำ ละมั้ง ในสมัยก่อนอัศวินอังกฤษเวลาแต่งตั้ง ต้องเอาดาบของพระราชามาแตะไหล่ เมืองจีนก็มีกระบี่อาญาสิทธิ์ ส่วนเมืองไทยยังมีพระแสงอาญาสิทธิ์ แต่ถ้าเรามองดูจากลักษณะการใช้งานแล้วมันก็เป็นอาวุธสู้ประชิดตัวที่มีวงโจมตีในระดับกลางและมีการพลิกแพลงรูปแบบการโจมตีได้ดี โดยการโจมตีของอาวุธประเภทดาบจะมีทั้งหมด 9 รูปแบบ คือ ฟันผ่าลง ฟันทวนขึ้น ฟันตัดซ้าย ฟันตัดขวา ฟันเฉียงลงซ้าย ฟันเฉียงลงขาว ฟันเฉียงขึ้นซ้าย ฟันเฉียงลงขวา และ แทง ซึ่งไม่ว่าจะเป็นเพลงดาบไหนก็จะมีท่าโจมตีไม่พ้น 9 แบบนี้ ความยาวของดาบที่เรียกว่าขนาดมาตรฐานจะอยู่ราว ๆ เมตรกว่า แต่ไม่น่าจะเกิน เมตรครึ่ง โดยปกติดาบที่มีความยาวพอเหมาะ ควรจะมีความยาวใบมีดเท่ากับแขนของผู้ถือดาบ แต่บางครั้งดาบเองก็มีความยาวมากกว่าเมตรครึ่ง ดาบสามารถแบ่งประเภทออกตามลักษณะอีก ได้แก่


    1.1 เกรทซอร์ด อันนี้ไม่ได้แปลว่าดาบสุดยอดนะ เกรทซอร์ดหมายถึงดาบที่มีใบมีดยาวและใหญ่แถมน้ำหนักเยอะอีกตะหาก เป็นอาวุธที่นิยมใช้บนหลังม้า การโจมตีของดาบประเภทนี้แม้มันตัวดาบจะไม่คมมากแต่ด้วยน้ำหนักของมันเมื่อฟาดมาก็สร้างความเสียหายได้ไม่น้อย เกรทซอร์ดเป็นดาบที่ใช้อยู่ทางแถบยุโรป ถ้าพูดให้เห็นภาพก็ประมาณของพระเอกใน ไฟนอลแฟนตาซี 7 นั่นแหละ


    1.2 บาสตาด คำว่า Bastard แปลว่าเลว แต่เราไม่แน่ใจเหมือนกันว่า Bastard Sword จะแปลว่าดาบชั้นเลวหรือเปล่า แต่คิดว่าไม่น่าใช่นะ ส่วนมากดาบบาดตาสเป็นดาบที่ทหาร หรือ อัศวินนิยมพกพา ใบมีดไม่ใหญ่โตนักความยาวก็พอเหมาะ

    1.3 บอร์ดซอร์ด ดาบที่มีใบมีดขนาดใหญ่ แต่ความยาวยังพอเหมาะอยู่ ใบมีดของบอร์ดซอร์ดทำหน้าที่เป็นโล่ขนาดเล็กได้เลยทีเดียว แต่ก็หนักเอาเรื่องอยู่ และการโจมตีก็เน้นน้ำหนักเข้าว่าเช่นกัน


    1.4 เครย์มอร์ ดาบยาวแต่ใบมีดเล็ก น้ำหนักจะเบากว่าพวกต้น ๆ ที่กล่าวมาด้านบนทำให้ฟันได้เร็วกว่า


    1.5 คาตานา หรือดาบญี่ปุ่นนี่แหละ เป็นดาบที่ได้ชื่อว่าสมดุลในแทบทุกด้าน ทั้งรูปทรงน้ำหนัก และความคม ดาบญี่ปุ่นจัดได้ว่ามีความคมเป็นเลิศ เพราะตัวดาบที่โค้งงอของมันจะฟันเฉือนเนื้อสร้างบาดแผลฉกรรจ์ได้เป็นอย่างดี และด้วยน้ำหนักที่เบา ทำให้กวัดแกว่งได้อย่างคล่องแคล่ว ดาบญี่ปุ่นมักไม่เน้นแรงกระแทกแต่เน้นความเร็วในการฟันและเป็นดาบฟันเฉือนได้ดีเพราะใบมีดมีความบาง และสำคัญคือโลหะที่ใช้ทำดาบมีคุณสมบัติบางอย่างที่สร้างความเจ็บปวดอย่างรุนแรงให้กับบาดแผลที่ถูกดาบประเภทนี้ฟันได้ (เคยดูมาจากรายกาย 1 จำชื่อไม่ได้แล้วเพราะนานมากแล้ว) แต่ดาบญี่ปุ่นมีข้อเสียคือ เมื่อฟันไปเรื่อย ๆ ความคมของมันจะลดลงเพราะเลือดจะมาเคลือบที่ผิวดาบทำให้ความคมมันลดลง เพราะฉะนั้นดาบญี่ปุ่นจึงต้องมีการเช็ดขัดเป็นอย่างดีเพื่อให้พร้อมใช้งาน


    1.6 โชเทล ดาบโค้ง ๆ แบบทางอาหรับ ความคมก็จัดว่าโอเค และเป็นดาบสั้นทำให้ฟันได้รวดเร็ว และรูปลักษณ์ที่โค้งทำให้กรีดเนื้อได้ดีเชียวล่ะ


    1.7. ดาบสั้น เป็นดาบที่สั้นกว่าความยาวดาบมาตรฐานแต่ความยาวยังมากกว่ามีดอยู่ ดาบสั้นมีความสามารถในเชิงปัดป้องและสู้วงในได้ดีกว่าดาบที่ยาวมาตรฐาน หรือยาวกว่า


    2. หอก เป็นอาวุธที่ใช้แทงศัตรูนอกระยะ โดยส่วนปลายจะมีส่วนที่เป็นคมอยู่ ปกติหอกเป็นอาวุธที่ใช้ได้ทั้งบนพื้นและบนหลังม้า การโจมตีของหอกในการต่อสู้ประชิดจัดเป็นพวกระยะไกล แต่หอกนั้นจะทรงประสิทธิภาพในด้านของการแทง แต่ก็ใช้จะฟันไม่ได้ แต่เพราะว่าส่วนที่เป็นคมของมันมีเพียงส่วนปลายเท่านั้นประสิทธิภาพในการฟันจึงต่ำ และหากฟาดไปก็อาจจะโดนส่วนที่ไม่ใช่คมก็ได้ เพราะงั้นวิชาหอกจึงเน้นกระบวนท่าแทงเป็นหลักส่วนการฟาดของหอกจะใช้เป็นการปัดป้องเสียส่วนใหญ่


    3. ทวน เป็นอาวุธอีกชนิดหนึ่งที่ใกล้เคียงกับหอก แต่ต่างกันตรงที่ทวนเป็นอาวุธที่ใช้แทงโดยเฉพาะ และมีความยาวกว่าหอก โดยทวนจะใช้บนหลังม้าเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยใช้ความเร็วของม้าเพิ่มความแรงในการแทง (เกราะยังทะลุ) เพราะทวนหากใช้บนพื้นมันจะเก้งกางเอาการอยู่ และมันคงไม่สะดวกนักถ้าต้องมาเจอกับการเข้าประชิดตัวของอาวุธแบบอื่นอย่างดาบเป็นต้น


    4. กระบี่ อาวุธที่คล้าย ๆ ดาบแต่จะมีขนาดเล็กว่าดาบ มีคุณสมบัติในการแทงสูงกว่าฟัน ซึ่งตรงข้ามกับดาบที่มีความสามารถในการฟันมากกว่าแทง กระบี่ก็มีหลายรูปทรง เช่น กระแบบนายร้อย กระบี่แบบกีฬาฟันดาบ กระบี่แบบจีน ฯลฯ ซึ่งลักษณะการใช้งานกระบี่ก็ไม่ต่างไปจากดาบมากนัก โดยภาษาอังกฤษจะเรียกว่า Saber โดยทางยุโรปจะมีท่วงท่าการใช้กระบี่ไปเชิงการแทงมากกว่าฟัน เพราะด้วยรูปร่างของกระบี่แล้วมันค่อนข้างเล็กปลายแหลม และเรียวโดยเฉพาะ กระบี่อย่างสไปรัล (แบบดาบของหน้ากากโซโล) กระบี่แบบนั้นจะอาศัยการโจมตีที่ส่วนปลายเป็นหลัก จะสังเกตเห็นได้ว่าท่วงท่าของกระบี่จะต้องชี้ปลายดาบไปด้านหน้าในมุมที่พร้อมพุ่งตัวเข้าไปแทงและท่วงท่าการฟันจะใช้มือข้างเดียวถือ และการโจมตีจะด้วยการฟันก็เป็นการตวัด (สังเกตในกีฬาฟันดาบ) แต่ถ้าสู้กันจริง ๆ ก็ไม่เสมอไปซะทีเดียวมันก็ขึ้นกับบุคคลด้วย และเพราะน้ำหนักของกระบี่จะเบากว่าดาบทำให้การโจมตีนั้นดูว่องไวกว่า แต่ถ้าพูดถึงความแข็งแรงแล้วดาบจะดีกว่า

    5. พลอง เป็นอาวุธที่ใช่แรงในการฟาดเป็นหลัก ตัวพลองเองไม่มีคมมีด แต่ก็สร้างความเสียหายให้กับอีกฝ่ายได้ด้วยความเร็วในการฟาด และถึงแม้ว่าจะไม่มีคมก็ตามแต่ก็สร้างบาดแผลอย่างกระดูกหัก กระดูกแตก หรือถ้าเข้าที่หัวหรือท้ายทอยอย่างแรงล่ะก็ ได้ไปสวรรค์แน่ ๆ พลองจัดเป็นอาวุธยาวซึ่งทวงท่าการใช้พลองจะมีทั้งแทงและฟาด หากเคยดูหนังจีนกำลังภายใน โดยเฉพาะวัดเส้าหลินจะเห็นบ่อยว่า มีการใช้พลองเป็นอาวุธและร้ายกาจเพียงใด อนึ่งพลองเป็นอาวุธที่ต้องใช้ 2 มือ
  2. maxlancer

    maxlancer ประธานรุ่น2ตุรกีเชียงใหม่

    EXP:
    1,183
    ถูกใจที่ได้รับ:
    1
    คะแนน Trophy:
    88
    Re: [บทความ]เคล็บลับแห่งการฟิค(ย้ายมาจากบอร์ดเก่า)

    6. กระบอง กระบอกกับพลอง หลายสับสนคิดว่ามันคืออันเดียวกันแต่ จริงแล้วพลองกับกระบองเป็นอาวุธคนล่ะชนิดกัน หากไม้ที่ยาวไม่เกิน 4 ศอกเราจึงจะเรียกกระบองได้ กระบอกเองใช้หลักการสร้างความเสียหายแบบเดียวกับพลอง แต่กระบองถือมือเดียวได้ และยังสามารถติดของบางอย่างเพิ่มเพื่อสร้างความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ กระบองมีหลายรูปแบบ เช่น

    6.1 กระบอง 2 ท่อน อันนี้คงเคยเห็นกัน อาวุธคู่ใจนายหนุ่มซิงตึ้ง หรือบรูสลี สำหรับกระบอง 2 ท่อนจะต้องอาศัยการเหวี่ยงเพื่อให้เกิดพลังทำลาย การควงกระบอง 2 ท่อนจริงแล้วไม่ใช่แค่เท่ ๆ แต่เมื่อเราควงมันให้มีความเร็วแล้วเมื่อฟาดออกไปความเร็วจากการเคลื่อนที่ด้วยการหมุนหรือควง จะส่งผลให้เกิดโมเมนตัมขึ้น และยิ่งมีน้ำหนักมา ความเร็วมากโมเมนตัมก็มากตาม กระบองที่เป็นท่อน ๆ นี้ยังมีแบบ 3 ท่อน 4 ท่อน ไปจนถึง 9 ท่อนแต่หลักการใช้ก็เหมือนเดิม กระบองหลายท่อนนี้มีไว้ลบจุดบอดระยะไกลของกระบอง และจุดบอดระยะใกล้ของพลองนั่นเอง

    6.2 กระบองทอนฟา กระบองที่มีแท่งจับยื่นออกมาจากตัวกระบองโดยด้ามจับจะทำมุม 90 องศากับตัวกระบองเป็นกระบองถือมือเดียว แต่จะให้ผลดีมาก ถ้าใช้ 2 อันพร้อม ๆ กัน (ใครนึกภาพไม่ออกให้ไปดูอาวุธของเอลี่ ในเรื่องเรฟ ไม่ก็อาวุธของไซก้า ในไรเดอร์ไฟส์ล่ะกัน) หลักการสร้างความเสียหายเช่นเดิม แต่จะเป็นการหมุนตัวกระบองโดยจับที่จับไว้และออกแรงหมุนให้กับตัวกระบอง ยิงออกแรงหมุนเร็วเท่าไหร่ความแรงที่ออกมาก็ได้มากเท่านั้น และกระบองชนิดนี้ยังทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันแขนได้อีกด้วย และยังมีปุ่มยื่นไปด้านหน้าเพื่อใช้ชกได้อีก นับว่าเป็นอาวุธสู้ประชิดในระยะประชิดอย่างแท้จริง แต่ทอนฟาไม่มีวิชาเป็นของตัวเอง ทอนฟาจะถูกใช้คู่กับวิชาหมัดมวย แถมยังเป็นอริอย่างยิ่งกับพวกดาบและอาวุธยาว และจะอันตรายยิ่งหากอยู่ในมือผู้ใช้หมัดมวยชั้นสูง


    6.3 กระบองยักษ์ ที่เรียกชื่อนี้เพราะเราเองก็ไม่ทราบชื่อจริงของกระบองนี้ แต่กระบองชนิดนี้จะเห็นว่าเหล่ารูปปั้นยักษ์ตามวัด หรือพวกรูปวาดของยักษ์จะถือกระบองชนิดนี้อยู่ กระบองลักษณะนี้จะมีขนาดใหญ่ บางครั้งติดหนามแหลมไว้ด้วย กระบองแบบนี้จะสร้างความเสียหายจากน้ำหนักของตัวมัน และแรงของผู้ฟาด แต่แม้ว่ามันจะช้าแต่เรื่องพลังหายห่วง


    7. สนับมือ อาวุธที่ใช้สำหรับปกป้องหมัดเวลาชกและเสริมพลังทำลายให้หมัด ไม่สามารถทำอย่างอื่นได้นอกจากชกเท่านั้น ไม่มีวิชาเป็นของตนเองเช่นกัน จะใช้คู่กับวิชาหมัดมวย เป็นอาวุธประชิดระยะประชิด อีกชิ้น 1 แต่ถ้ากรณีฝีมือพอ ๆ กันทอนฟายังดูได้เปรียบกว่าอยู่ เพราะทอนฟาเพิ่มระยะการโจมตีได้อีกเล็กน้อย แต่สนับมือทำไม่ได้ (แต่ถ้าแขนยืดได้เหมือนดัสซิมในสตรีทไฟร์เตอร์นี่อีกเรื่อง)


    8. ปลอกแขน อันนี้จัดเข้าค่ายเครื่องป้องกันมากกว่าอาวุธ แต่ก็เป็นของที่ใช้คู่กับวิชาของปลอกแขนเช่นกัน แต่ดูไม่ค่อยออกเพราะวิชาของปลอกแขน ก็จะทำนองเพลงหมัดมวยเช่นกัน เพียงแต่เสริมปลอกแขนมาเพื่อเป็นเกราะให้กับแขนตนเองเพื่อต้านทานอาวุธของอีกฝ่าย


    9. ขวาน ของที่เห็นบ่อยสำหรับคนตัดไม้ แต่ว่าทางยุโรปจะมีขวานที่เรียกขวานสงคราม ขวานใหญ่ หรือขวานด้ามยาวที่ใช้เฉพาะการศึกอยู่ด้วย ขวานเป็นอาวุธที่ทรงพลังในการฟาดลงมากที่สุดเพราะน้ำหนักจะอยู่ที่ส่วนปลาย และไม่สามารถแทงได้ และขวานยังมีแบบด้ามสั้นที่ไว้ใช้ประชิด และแบบใช้ขว้างอีกด้วย แผลที่ได้จากขวานแม้ไม่ยาวแต่จะลึกเพราะลักษณะปากแผลจะเปิดกว้าง ไม่ตายตรงนั้นก็อาจจะเสียเลือดตายเอาก็ได้


    10. ค้อน หลักการใช้งานของมันก็ใกล้เคียงกับขวาน แต่ต่างกันตรงมันไม่มีส่วนที่เป็นคม และใช้ความหนักส่วนปลายของมันให้เป็นประโยชน์ แต่ค้อนสงครามจะติดลิ่มไว้เพื่อใช้เจาะเสื้อเกราะของอัศวิน ด้วยความเสียหายที่เกิดจากค้อน จะไม่เกิดบาดแผลใหญ่ แต่จะเกิดบาดแผลเชิงช้ำในหรือ กระดูกหักหรือแตกมากที่สุด (ก็มันค้อนนี่หว่า ขนาดคอนกรีตยังแตก แล้วคนจะเหลือหรือ)


    11. เคียว จริง ๆ แล้วอาวุธแบบนี้ไม่ค่อยเห็นมากนักแต่เคียวที่มีด้ามจับยาว ๆ เป็นสัญลักษณ์แห่งผู้นำความตายหรือยมทูตนั่นเอง อาวุธแบบเคียวจะมีอำนาจในการฟันและแทง แต่มุมแทงต้องอยู่ที่ปลายแหลมของเคียวเท่านั้น อาวุธตระกูลเคียวมันสามารถใช้ลักษณะ พิเศษที่โค้ง ๆ ของมันนี่แหละทำให้อาวุธอย่างดาบหรือพวกอาวุธด้ามยาวไม่สามารถป้องกันแบบติดตัวได้ โดยเฉพาะเคียวแบบยมทูต ใบมีดจะยาวเป็นพิเศษต้องระวังเวลาตั้งรับต้องระวังหน่อย ส่วนเคียวแบบด้ามสั้น ก็มีให้เห็นบ้างบางที่ติดลูกตุ้มเสริมเพื่อโจมตีระยะไกลอีกตะหาก จริง ๆ แล้วเคียวมีลักษณะการใช้งานเหมือนง้าวเลยล่ะ เน้นไปที่การฟันมากกว่าแทง เพียงแต่ลักษณะใบมีดต่างกัน


    12. ลูกตุ้ม อาวุธที่มีความหนักปลายเช่นเดียวกับค้อน หรือขวาน ใช้หลักการสร้างความเสียหายด้วยแรงกระแทกเช่นกัน ลูกตุ้มบางทีก็เป็นหนามแหลมไว้สำหรับเจาะเสื้อเกราะ บางที่ก็จะเป็นลูกตุ้มและมีโซ่คล้องไว้เวลาใช้ก็ทำการเหวี่ยงลูกตุ้มออกไปให้กระแทกเป้าหมายโดยการควงจะเพิ่มแรงให้กับลูกตุ้ม บางที่ก็เป็นกระบองที่มีลูกเหล็กกลม ๆ มีหนามแหลม อาวุธชนิดใช้อยู่ทางแถบยุโรป

    13. แส้ อาวุธคู่กายแม่สาวซาดิสม์ เอ๊ยไม่ใช่แล้ว แส้เป็นอาวุธที่ใช้ฟาดจากนอกระยะ การโจมตีของมันจะอาศัยแรงเหวี่ยงและน้ำหนักที่ส่วนปลายของแส้ แส้ที่ถูกหวดออกไปจะมีความเร็วขนาดแหวกอากาศจนเราได้ยินเสียง เฟี๊ยบ เลยที่เดียวและเมื่อกระทบเป้าหมายก็จะดัง เพี๊ยะ!! นั้นเพราะแส้เคลื่อนไหวด้วยความเร็วเหนือเสียงและเกิดโซนิคบูมเล็ก ๆ ที่ส่วนปลายที่กระทบเป้าหมาย และเพราะความที่มันเชือกก็เลยมีความอ่อนย้วยและสามารถผูกรัดได้ อาวุธประเภทดาบ และอาวุธด้ามยาวจะป้องกันแส้ได้ยาก เพราะถึงแม้จะยกมาป้องกันมันย้วยเข้าตัว อยู่ดี เพราะความอ่อน (นึกถึงเวลาที่เราฟาดเชือกไนร่อน ใส่ตัวเสาที่มีขนาดเท่ากระบอง ดูสิ มันจะวกไปพันติดหนึบเลยล่ะ) แต่แส้จะทรงพลังก็ต่อเมื่อออกแรงฟาดได้อย่างเต็มที่ (สุดแขนผู้ใช้) คือต้องง้างก่อนจะฟาด เมื่อโจมตีแล้วต้องดึงกลับมาเพื่อฟาดใหม่


    14. มีดสั้น เป็นอาวุธโจมตีมีคมที่สั้นแต่จู่โจมระยะประชิดได้ดี และยังว่องไว แต่มีดเป็นอาวุธที่โจมตีฉาบฉวย และระยะวงโจมตีก็สั้น แต่ถ้าโดนจุดสำคัญ ๆ ก็ม่องได้เหมือนกัน ใช้ได้ทั้งฟันและแทงแต่ต้องโดนจัง ๆ เพราะถ้าหากโดนไม่จังแล้วก็คงยากที่ล้มศัตรู ได้เพราะบาดแผลที่ได้จากการฟันของมีดสั้นจะไม่สาหัสเท่าโดนดาบฟัน แต่ถ้าโดนแทงนี้ก็คงสาหัสเอาการอยู่

    15. ง้าว เป็นดาบที่มีด้ามยาว หรืออีกนัยหนึ่งคือดาบที่ใช้บนหลังม้านั่นล่ะ ง้าวเป็นอาวุธแบบเดียวกับหอก เน้นไปที่การฟันมากกว่าแทง แถมทรงอานุภาพกว่าหอกอีกด้วย


    16. หลาว อันนี้ก็เป็นอาวุธประเภทที่ใช้แทงได้อย่างเดียวเช่นเดียวกับทวน แต่จะสั้นกว่า และยังใช้พุ่งไปเสียบเป้าหมายได้ดีอีกตะหาก และยังเป็นที่มาของคำกล่าวที่ว่า "พุ่งหลาว" ก็มาจากการเปรียบเทียบการกระทำที่เหมือนกับการขว้างสิ่งนี้ออกไปนั่นเอง


    17. อาวุธซัด เป็นอาวุธที่ต้องโจมตีด้วยการปล่อยออกไปจากมือเพื่อโจมตี เช่น ตระผมลอาวุธลับ อย่างดาวกระจาย อาวุธซัดจะมีขนาดเล็กเพื่อให้ง่ายต่อการเก็บซ่อน การโจมตีของอาวุธพวกนี้จะอยู่นอกระยะกว่า หอก หรือทวนซะอีก แต่จะไกลแค่และแม่นยำแค่ไหนขึ้นกับความสามารถของผู้ขว้าง ส่วนใหญ่อาวุธลับนิยมอาบยาพิษด้วยเพื่อให้ผลในการสังหาร เพราะบาดแผลทีได้จากอาวุธลับบางครั้งก็ยากที่จะเข้าจุดสำคัญจึงต้องใช้ยาพิษมาเสริม แต่ถ้าคนขว้างแม่นจริงก็ไม่จำเป็น


    18. โล่ อันนี้เป็นอุปกรณ์ป้องกันอาวุธมากกว่าจะเป็นอาวุธ แต่บางครั้งวิชาที่ใช้โล่โจมตีก็ใช่จะไม่มีโดยมากจะเป็นการใช้โลกระแทกเพื่อดันศัตรู โดยโล่ที่ใช้โจมตีบางที่จะซ่อนกลไกไว้ เช่น ใบมีดหรือเหล็กแหลม บางที่ก็ใช้โล่ที่มีโซ่ตรึงไว้ขว้างออกไปโจมตี (อย่างโล่ของไลบร้าในเซนต์เซย่า) เพื่อเพิ่มความเสียหายให้มากขึ้นอีกระดับหนึ่ง


    19. คทา อาวุธนี้ไม่เห็นใช้ในสนามรบจริงตามประวัติศาสตร์ แต่จะเห็นใช้บ่อยในฟิก การ์ตูน หรืออนิเมชั่นสำหรับพวกนักเวทย์ เพราะไม้เท้าหรือคทานี้เป็นตัวทำหน้าที่เป็นตัวขยายมนต์ตราให้กับผู้ถือคทา เป็นการเสริมอำนาจพลังของเวทย์มนต์ทีใช้ออกมาให้มีกำลังแรงขึ้นนั่นเองสังเกตว่าบางครั้งเมื่อนักเวทย์ไม่มีคทาก็จะใช้เวทย์ไม่ได้ หรือพลังโจมตีของเวทย์อ่อนลงไป ก็เนื่องมาจากขาดตัวขยายพลังนั่นเอง แต่สำหรับจอมเวทย์ที่ไปถึงขั้นสูงก็ยิ่งพลังได้แม้ไร้คทา แต่พลังตอนถือคทาก็จะแรงกว่าตอนไม่ถืออยู่ดีแหละ การโจมตีของคทาทำได้แค่ฟาดซึ่งก็คงไม่ก่อให้เกิดความเสียหายมากเท่าใดนักอะนะ (ยกเว้นคนฟาดแรงดี กับคทามันแข็ง)


    20. กรงเล็บ อาวุธนี้จะติดกับมือเหมือนกับ แต่ไม่เหมือนสนับมือตรงที่มันสามารถใช้โจมตีด้วยการฟันได้ เพราะตัวกรงเล็บจะเป็นคมมีด หรือเหล็กแหลมที่ยื่นยาวออกมาจากหมัดหรือมือพอสมควร ซึ่งคาร์ต้าก็จัดเป็นอาวุธประเภทกรงเล็บเช่นกัน วิชาของกรงเล็บมีเป็นส่วนตัวแต่ก็ยังผสมหมัดมวยได้ด้วย เมื่อเทียบไปแล้วกรงเล็บก็เหมือนมีดติดแขนดี ๆ นี่เอง


    21. ปืน อันนี้เป็นอาวุธเล่นนอกระยะของจริงเลยล่ะ ปืนจัดเป็นอาวุธที่น่ากลัวเพราะมันเล่นได้หลายระยะ และลูกกระสุนที่พุ่งมาก็มีความเร็วมากซะด้วย แต่จุดอ่อนใหญ่คือถ้ามันไม่มีลูกก็บ่ มีไกด์ และหากประชิดตัวมาก ๆ มันก็จะใช้การได้ไม่ดี ในกรณีสู้ประชิดมาก ๆ มีดจะเจ๋งกว่าปืน ปืนมีหลายประเภทแต่คิดว่าคงไม่ต้องอธิบายมากนักเพราะทุกคนก็คงรู้จักกันเป็นอย่างดี ข้อเสียของปืนก็มีอยู่ที่ว่าปากกระบอกปืนสามารถเล็งได้แค่เป้าหมายเดียวเท่านั้น หากถูกรุมเข้ามามาก ๆ หรือจากหลายทิศทางปืนเองก็ลำบาก ยกเว้นปืนกลที่แก้ปัญหาการถูกดาหน้าเข้ามาแต่ถ้าถูกรุมจากทิศอื่นด้วยก็ยังแย่อยู่ดี และเรื่องของแรงถีบปืนที่ตามมาอีกปืนที่มีพลังแรง ก็มีแรงถีบตามมามาก ปืนขนาดใหญ่แม้พลังแรง แต่เรื่องน้ำหนักไม่ต้องพูดถึง และบางรุ่นก็ไม่สามารถยิงในระยะประชิดได้ แถมปัญหาเรื่องมุมยิงก็เป็นปัญหาใหญ่มากสำหรับปืนอีกเรื่อง 1 และหากสู้ในที่ ๆ มีสิ่งกีดขวางมาก ๆ เปอร์เซนการหวังผลของปืนก็จะด้อยลงไป แต่ถ้าเป็นที่ยิงเป็นลูกระเบิดก็พอแก้ปัญหาตรงนี้ได้ แต่ก็ไม่สามารถยิงในที่แคบ ๆ หรือใกล้ตัวได้เพราะจะโดนตัวผู้ยิงเองด้วย

    อาวุธอีกชิ้นที่ไม่ได้พูดถึงคือ ธนู เพราะหลักการของธนูก็ไม่ต่างกับพวกอาวุธปืนซักเท่าใดนัก ต่างกันที่กระสุนที่ยิงออกไป ความแม่นยำขึ้นกับผู้ยิงเช่นกัน ส่วนความแรงขึ้นกับคันธนูว่าแข็งแรงขนาดไหน

    หลักการได้เปรียบเสียเปรียบของอาวุธ

    ถ้าพูดถึงหลักการได้เปรียบเสียเปรียบแล้ว อาวุธทุกชนิดมีจุดบอดอยู่ในตัวเองทั้งสิ้นและ หากสู้กันจุดบอดนี้เองที่จะเป็นตัวตัดสินแพ้ชนะได้เลยทีเดียว ตามหลักแล้ว อาวุธยาว จะได้เปรียบอาวุธสั้น และอาวุธสั้นก็จะได้เปรียบอาวุธยาว ฟังแล้วอาจงง แต่การได้เปรียบเสียเปรียบของอาวุธจริง ๆ อยู่ที่คำว่า "ระยะ" พูดถึงระยะนั้นเป็นหัวใจสำคัญในการต่อสู้เลยก็ว่าได้ เพราะการในการต่อสู้ทุกคนจำเป็นต้องหาระยะที่ตนเองโจมตีได้ และบีบไม่ให้อีกฝั่งโจมตี เราจะยกตัวอย่างง่าย ๆ สมมุติว่า นาย A ใช้หอก แต่นาย B ใช้มีดสั้น แน่นอนว่าใคร ๆ ก็ต้องคิดว่านาย A ได้เปรียบ แต่หากว่านาย A ถูกนาย B เข้าประชิดได้นาย A ก็เดี้ยงแน่นอน เพราะอาวุธยาวอย่างหอก ทวน ง้าว และอาวุธด้ามจับยาวทั้งหลายแหล่ จะมีจุดบอดที่ระยะประชิดทั้งสิ้น ทั้งนี้เพราะจุดโจมตีของอาวุธยาวอยู่นอกระยะ และซ้ำร้ายอาวุธพวกนี้ค่อนข้างแกว่งได้ช้า เพราะยิ่งยาวมากเท่าไหร่ความเร็วในการแกว่งก็ลดลงเท่านั้น ตรงกันข้ามยิ่งของสั้นก็ยิ่งแกว่งได้ไวกว่า และอาวุธที่ยาวและใหญ่ จะมีจังหวะการโจมตีเพียง 1 หรือไม่ก็ 2 เท่านั้นเวลาที่เสียไปตอนจะดึงอาวุธกลับมาฟันใหม่นี่แหละ คือจังหวะที่จะตัดสินกันเลย ฉะนั้นแล้วในการต่อสู้จริง ๆ การดึงตัวเองออกจากระยะของคู่ต่อสู้และเข้าสู่ระยะของตัวเองได้มากที่สุด นั่นแหละคือคนที่สามารถจะมีชัยได้ ฉะนั้นในกรณีข้างบน นาย A จะต้องหาทางกดนาย B ไว้ไม่ให้เข้าสู่จุดบอดของหอก ส่วนนาย B เองก็ต้องหาทางพาตัวเองเข้าสู่ระยะโจมตีของตนเองที่นาย A จะไม่สามารถโจมตีตนเองนั่นเอง ส่วนในกรณีอาวุธที่มีระยะเท่ากัน อย่างดาบกับดาบ จะตัดสินกันที่ความเร็ว ฝีมือ ประสบการณ์ และจังหวะของแต่ล่ะฝ่าย ใครเร็วกว่าก็ชนะไป หรือจะพูดอีกอย่างก็คือ ใครโดนตัวอีกฝ่ายได้ก่อนก็มีโอกาสชนะได้มาก ส่วนหลักอีกอันหนึ่งของเรื่องความสั้นยาวของอาวุธนั้นจะหลักว่า ในเรื่องของความเร็วในการกวัดแกว่ง ฟาด หรือฟัน ใครสั้นกว่าก็เร็วกว่าส่วนการแทง ใครยาวกว่าได้เปรียบ (ถ้าอยากรู้ว่าทำไมอาวุธสั้นฟาดได้ไวกว่า ก็ลอง เอาไม้ 2 อันที่ยาวต่างกันมาลงหวดดูสิ แล้วจะรู้เองว่าอันไหนมันหน่วงกว่ากัน ส่วนแทงก็น่าจะนึกออกนะว่าที่ระยะเท่ากันแต่ความยาวอาวุธไม่เท่ากันใครมันจะถึงก่อน)
    ---------------------------------------------------

    ทริกอาวุธ

    ที่กล่าวไปด้านบนคืออาวุธที่แบ่งเป็นประเภทหลัก ๆ ก็มีอยู่แค่นั้นแต่หากว่าเวลาเราแต่ฟิกชั่นอาวุธที่ถูกออกแบบมาจะมีลูกเล่นต่าง ๆ มากมายตามแต่ผู้ออกแบบจะกำหนด มาอาวุธบางแบบก็มีลูกเล่น และบางชิ้นก็ผสมอาวุธ 2 อย่างให้อยู่ในอันเดียวกันเพื่อลบจุดบอดบางอย่างให้หายไป เช่น หอกขวาน หรือที่เรียกว่า Poleaxe เป็นขวานที่มีหอกติดอยู่ที่ปลายส่วนบนโดยอาวุธชิ้นนี้ ลบจุดบอดของขวานที่แทงไม่ได้ และ เพิ่มประสิทธิ์ภาพให้หอกที่มีความสามารถในการฟันต่ำ พลอง 9 ท่อน ที่ออกแบบมาเพื่อลบจุดบอดของพลองยามสู้ประชิดมาก ๆ หรือกระบี่ที่มีโกร่งเป็นสนับมือหนามแหลมเพื่อการชก เป็นต้น ซึ่งลูกเล่นของอาวุธพวกนี้ก็แล้วแต่ผู้สร้างจะจินตนาการและยิ่งเป็นฟิกชั้นด้วยแล้ว อาวุธบางชิ้นอาจมีพลังมหัศจรรย์อะไรก็ได้ไม่จำกัดแบบเลยล่ะ
    --------------------------------------------------

    พื้นฐานวิชาต่อสู้

    สำหรับวิชาต่อสู้นั้นวิชาที่ใช้อาวุธดังที่กล่าวมาแล้วจากด้านบน อาวุธบางอย่างแม้ต่างชนิดแต่พื้นฐานการใช้งานคล้ายกันโดยแต่จะต่างไปเล็กน้อยเพราะข้อจำกัดของอาวุธ แต่การโจมตีก็ทำได้แค่ 9 แบบเหมือนกันหมด ซึ่งจะสามารถจำแนกรูปแบบการใช้งานของอาวุธพวกนั้นเข้าหมวดได้ดังนี้

    1. หมวดพวกอาวุธด้ามจับสั้น พวกนี้ก็ได้แก่ พวกดาบ กระบี่ มีดสั้น ขวานด้ามสั้น กระบอง สำหรับอาวุธพวกนี้นั้นทักษะการใช้งานจะคล้าย ๆ ดาบเพราะการจับของอาวุธพวกนี้คล้ายกัน แต่อันไหนจะกวัดแก่งหรือฟาดฟันได้ไว้กว่า ก็ต้องเทียบความยาวของอาวุธที่ถืออยู่ด้วย การโจมตีมีได้ 9 จุดเช่นกัน แต่การโจมตีแบบแทง ของ ขวานกับกระบอกจะสร้างบาดแผลได้น้อยกว่า ดาบ กระบี่ หรือมีดสั้น เพราะเป็นการกระแทก แต่ก็ไม่เสมอไปนักเพราะขวานหรือกระบองบางแบบ มีเหล็กแหลมสำหรับแทงด้วยซึ่งทั้งหมดก็อยู่ที่การออกแบบด้วยเช่นกัน วิชาของอาวุธจำพวกนี้แตกต่างกันตรงที่เน้นท่าที่อาวุธชนิดนั้นจะสร้างความเสียหายให้กับอีกฝ่ายได้มากที่สุดซึ่งอาวุธชนิดไหนสร้างความเสียหายแบบไหนผมได้กล่าวไปแล้วถ้าจำไม่ได้กลับไปดูด้านบน สำหรับวิชาดาบคู่ มีดสั้นคู่ หรืออาวุธที่ใช้เป็นคู่ ๆ มีหลักการแบบเดียวกัน จะได้เปรียบพวกวิชาที่ใช้อาวุธเดี่ยว ตรงที่มันสามารถรุกและรับได้พร้อม ๆ กันแต่ใช้ลำบากกว่าเพราะคนเรามีความถนัดของมือทั้ง 2 ข้างไม่เท่ากัน และเพราะงั้นแล้วข้างที่ไม่ถนัดจะส่งผลกับการโจมตีและตั้งรับด้วย แต่หากได้รับการฝึกฝนจนชำนาญก็จะเป็นเรื่องปกติ สำหรับผู้ที่ถือ ดาบข้าง 1 มีดสั้นข้าง 1 หรือที่เรียกว่าซ้ายขวายาวไม่เท่ากันจะได้เปรียบกว่าพวกดาบ 2 เล่มที่ความเท่ากันในความยาวปกติ เพราะมีดสั้นที่แกว่งเร็วกว่าจะมีความสามารถในการปัดป้อง และสามารถโจมตีในระยะประชิดมากได้ หรือพูดง่ายสามารถโจมตีได้ 2 ระยะนั่นเอง บางที่ก็เป็นขวานข้างหนึ่ง ดาบข้างหนึ่งอันนี้ก็แล้วแต่ความถนัด หรือถ้ายุคใหม่หน่อยก็ควงปืนคู่ไปเลย ยิงได้ 2 เป้าพร้อม ๆ กันแต่จะโดนเปล่าอีกเรื่อง 1 (แต่เวลาจะเปลี่ยนกระสุนจะทำไงหว่านายพวกปืนคู่เนี้ย) ส่วนกรงเล็บเองก็จัดอยู่ในหมวดนี้ แม้ว่าด้ามจับมันจะติดกับแขนก็ตามแต่ทักษะการใช้งานก็ใกล้เคียงกัน

    2. หมวดอาวุธด้ามจับยาว พวกนี้ก็ได้แก่ พลอง หอก ทวน ง้าว เคียว ขวานด้ามยาวและอาวุธที่ด้ามจับยาว ๆ พอ ๆ จะเป็นพลองได้ ก็จะจับเข้าสู่โหมดนี้ รูปแบบของวิชาอาวุธพวกนี้ก็เน้นไม่ต่างจากด้านบนเลย แต่ทักษะพื้นฐานจะไปหนักทางด้านวิชาพลองมากกว่า ลักษณะการโจมตี 9 จุดเช่นกัน ที่ผมบอกว่าอาวุธแบบนี้หนักทางวิชาพลอง ก็เพราะผู้ที่จะฝึกอาวุธเหล่านี้นั้นจะต้องเริ่มพื้นฐานจากวิชาพลองมาก่อน และไปเน้นหนักในอาวุธของตนเองภายหลังเพราะงั้นก็จะเห็นบ่อยที่ผู้ใช้หอกจะมีลีลาการใช้หอกแบบไม้พลองเลย และจุดต่างเล็ก ๆ ของวิชาพลองกับ อาวุธพวกหอกหรือง้าวนี้ก็คือ พวกหอกกับง้าวเน้นการโจมตีไปที่ส่วนปลาย แต่พลองไม่เน้นไปที่จุดใดเลย คือจะฟาดจะแทงก็แล้วแต่ใจเพราะยังไงมันก็ไม่มีคมจะฟาดตรงไหนก็ไม่ต่างกัน แต่ถ้าหากเป็นหอก 2 ด้านหรือ อาวุธด้ามยาวแต่มีคมอาวุธที่ปลาย 2 ด้านก็จะใช้แบบพลองเลยเหมือนกัน คือควงและฟาดเอา และวิชาพลองใช้กับดาบอีกชนิด 1 คือดาบ 2 ทาง (แบบเดธมูนในสตาร์วอร์ภาคแรก) เพราะดาบประเภทนั้นมีจุดจับอยู่ตรงกลาง และลักษณะการจับแล้วจะไม่สามารถฟันแบบดาบทั่วไปได้ ต้องใช้หลักของวิชาพลองจึงจะใช้ดาบชนิดนี้ได้

    3. หมวดอาวุธที่ใช้กับวิชาหมัดมวย ก็ได้แก่ กระบองทอนฟา สนับมือ ปลอกแขน ซึ่งก็อย่างที่บอกอาวุธพวกนี้ไม่มีวิชาเป็นของตัวเอง แต่มันมีไว้เสริมผู้ใช้วิชาหมัดมวย สามารถต่อกรกับผู้ถืออาวุธมีคมอย่างดาบ ให้สามารถต่อกรได้ และเพิ่มอำนาจการทำลายพร้อมปกป้องผู้ใช้ในเวลาเดียวกัน ปกติอาวุธพวกนี้จะนิยมใช้เป็นคู่ เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด

    4. อื่น ๆ เป็นอาวุธที่ลักษณะการโจมตีแปลกไปจากพวก ข้างบน เช่น แส้ โซ่ ลูกต้มเหล็กติดโซ่ โล่ อาวุธซัด และพวกอุปกรณ์ยิงต่าง ๆ พวกนี้เป็นอาวุธที่มีลักษณะการโจมตีที่เป็นเอกลักษณะเฉพาะ ของมันเอง อย่างแส้ มันก็เป็นอาวุธที่มีคุณสมบัติพิเศษที่อ่อนย้วยได้ แต่การเคลื่อนที่ของส่วนปลายจะเคลื่อนที่ช้ากว่าบริเวณด้ามจับเสมอ เป็นอริอย่างยิ่งกับพวกอาวุธด้ามยาวเนื่องบ้างครั้งแส้มีความยาวกว่า และยังป้องกันได้ยากตรงที่มันอ่อนย้วยได้นี่แหละ แถมยังใช้จับยึดวัตถุที่มันสามารถไปรัดได้อีกตะหาก แต่จะแพ้เปรียบพวกโล่เพราะพื้นที่รับสัมผัสของโล่มันมาก ส่วนโซ่จะใช่หลักการฟาดแบบเดียวกับแส้ แต่มันหนักกว่า และพวกโซ่ติดลูกตุ้มเหล็กก็จะอาศัยน้ำหนักของลูกตุ้มที่ผูกอยู่เป็นตัวสร้างความเสียหาย โล่ไม่นิยมเอามาใช้เป็นอาวุธ นิยมใช้คู่กับอาวุธเพิ่มการตั้งรับที่ดีขึ้นแต่ก็ใช้กระแทกได้ และหากออกแบบโล่มาในเชิงใช้โจมตีด้วยก็จะเป็นอีกเรื่องหนึ่งแต่วัถตุประสงค์ของโล่ก็คือเครื่องป้องกันมากกว่า ส่วนอาวุธซัดเป็นของที่ต้องขว้างไป หวังผลแน่นอนได้บ้างไม่ได้บ้างแล้วแต่ผู้ขว้าง และผู้ถูกขว้าง ส่วนอุปกรณ์ที่เป็นเครื่องยิง จัดเป็นการโจมตีแบบแทงอย่างเดียว

    ---------------------------
    ปัจจัยอื่น ๆ

    ในการตัดสินแพ้ชนะสำหรับการต่อสู้นอกจากอาวุธแล้ว ความเร็ว ความคล่องแคล่ว ฝีมือและประสบการณ์ของแต่ละคนก็จำเป็น นอกจากนี้ยังมีเรื่องของสภาพพื้นที่ที่ทำการต่อสู้อีก หากว่าอาวุธเราไม่เหมาะใช้งานในสภาพพื้นที่นั้นก็อาจเป็นจุดบอดให้กับเราเองได้หรือ ถ้าอาวุธเราแพ้เปรียบแต่อาศัยพื้นที่เข้าช่วยก็มีสิทธิที่จะมีชัยได้ นอกจากนี้การใช้กลยุทธ์ต่าง ๆ ก็จะช่วยเราได้อีกทาง 1 ด้วยซึ่งทั้งหมดก็ขึ้นกับปฏิภาณไหวพริบของแต่ละบุคคล ที่จะคิดแผนการที่จะเอาชนะหรือเอาตัวรอดจากการต่อสู้ให้ได้ สำหรับพื้นที่เหมาะนั้นหากสู้ในที่โล่ง อาวุธทุกชนิดใช้การได้ดีหมด แต่หากต้องสู้ในพื้นที่ปิด หรือแคบมาก ๆ หรือมีสิ่งกีดขว้างขึ้นมาล่ะก็ อาวุธยาว ๆ ก็อาจได้รับผลกระทบทำให้ควงได้ไม่ถนัด หากสู้ในที่ ๆ มีสิ่งกีดขว้างเยอะ ๆ พวกอาวุธซัดหรืออาวุธยิง ก็อาจจะไปถูกสิ่งกีดขวางเหล่านี้ได้ (ยกเว้นแม่นสุด ๆ หรือฟลุ๊ก ๆ สุด) ถ้าหากทางแคบไร้สิ่งกีดขว้าง อาวุธซัดหรืออาวุธยิงค่อนข้างได้เปรียบเพราะ อีกฝ่ายมีที่หลบน้อย การเลือกอาวุธให้เหมาะกับพื้นที่นั้นก็เป็นอักปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้มีโอกาสชนะได้มากขึ้น

    ก่อนจบแถมท้ายให้นิดหน่อยสำหรับท่านๆ ๆ ที่เขียนฟิกแนวต่อสู้ เรานั้นเวลาเราสร้างตัวละครออกมาแล้วนำมาสู้กันก็ควรจะมีการมองหลักอะไรนิด ๆ หน่อย ๆ ก่อนจะสู้กันและหาวิธีเอาชนะที่ดูแล้วสมเหตุและผลมากที่สุด โดยอันดับแรกที่เราดีไซน์ตัวละครออกมานั้น ควรมีการกำหนดความสามารถด้านการต่อสู้ สไตล์การต่อสู้ ของทุกตัวละครไว้โดยหลักการดังกล่าวจะคิดด้วยหลักการเป็น สมการง่าย ๆ ดังนี้

    ความสามารถด้านการต่อสู้ = ความสามารถตัวละคร + ความสามารถและรูปแบบการใช้งานของอาวุธ

    เมื่อความสามารถตัวละคร = สิ่งที่กำหนดขึ้นมาดังนี้

    1. เพศ
    2. ความชำนาญในการใช้อาวุธประเภทนั้น ๆ ซึ่งมีได้มากกว่า 1
    3. ประสบการณ์ในการต่อสู้
    4. วิชาและทักษะความสามารถต่าง ๆ ที่มีใช้อยู่ทั้งหมด
    5. ปฏิภาณไหวพริบ สติปัญญา และดวง
    6. ความสามารถทางด้านร่างกาย และพลังต่าง ๆ ของแต่ละบุคคลในเรื่องนั้น ๆ

    ในเรื่องของ "เพศ" นั้นก็มีแค่ 2 แบบคือชายกับหญิง (คงไม่มีเกินนี้หรอก กระเทยนับเป็นชายเหมือนกัน) ทุกคนคงทราบดีว่าโครงสร้างร่างกายของหญิงบอบบางกว่าชาย ทั้งเรื่องพละกำลังและอื่น ๆ จะดูบอบบางแต่ยกเว้นบางเรื่องที่เหล่าคุณเธอไม่ใช่มนุษย์ธรรมดานั้นแหละ แต่เพศหญิงจะมีคุณลักษณะด้านประสาทสัมผัสดีกว่าผู้ชายเพราะว่าเส้นประสาทของผู้หญิงจะมีขนาดใหญ่กว่าผู้ชาย จึงทำให้การเคลื่อนไหวดูอ่อนพริ้วกว่า ส่วนเพศชายจะมีความสามารถทางด้านร่างกายและพละกำลังเด่นกว่าเพศหญิง ส่วนถัดมาคือ "ความชำนาญในการใช้อาวุธ" อันนี้แปลตรงตัวไม่มีไรมาก "ประสบการณ์ในการต่อสู้" เป็นเหมือนกับเลเวลของตัวละครเรา ยิ่งมากก็ยิ่งเก่งยิ่งเจนศึกมากประสบการณ์ก็มีมากพวกมีทั้งฝีมือและประสบการณ์จัดได้ว่าน่ากลัวเอาการทีเดียว ถัดมาคือ "วิชาและทักษะความสามารถต่าง ๆ ที่มีใช้อยู่ทั้งหมด" อันนี้แปลว่าตัวละครที่ออกแบบมานั้นมีความสามารถพิเศษหรือวิชาอะไรติดตัวมาบ้าง เช่น มีพลังเวทย์สูงส่ง เคลื่อนไหวได้อย่างรวดเร็วดั่งเงา มีวิชาดูดพลัง มีวิชาดาบขั้น 3 ฯลฯ อะไรแบบนี้แหละซึ่งก็แล้วแต่จะกำหนด ถัดมาอีกคือ "ปฏิภาณไหวพริบ สติปัญญา และดวง" แปลง่าย ๆ ความฉลาด และ ความดวงดีของแต่ละคน และท้ายสุดคือ "ความสามารถทางด้านร่างกาย และพลังต่าง ๆ ของแต่ละบุคคลในเรื่องนั้น ๆ" อันนี้เป็นสิ่งที่จะกำหนดโดยผู้แต่งว่าตัวละครคุณมีพลังร่างกายประมาณไหน พลังเวทย์หรือพลังพิเศษใจเรื่องนั้นประมาณแค่ไหน มีความคล่องแคล่ว ความรวดเร็วซักแค่ไหนมันก็แล้วแต่ผู้แต่งจะกำหนดขึ้นมา ว่าเขาคนนั้นจะเป็นยอดคนหรือคนอ่อนแอซักแค่ไหน

    ความสามารถและรูปแบบการใช้งานของอาวุธ

    ความสามารถเป็นสิ่งที่ผู้สร้างกำหนดเอาเองได้ตามชอบใจส่วนการใช้งานอ่านด้านบนที่เขียนไว้ เพราะอาวุธที่ผมเขียนไว้นั้นครอบคลุมการใช้งานของอาวุธแทบทั้งหมดแล้ว ยกเว้นอาวุธที่อยู่ในโหมด อื่น ๆ จะต้องกำหนดเองแล้วล่ะ


    ส่วนสไตล์การต่อสู้วิเคราะห์จากอุปนิสัยของตัวละครโดยอุปนิสัยที่บ่งบอกสไตล์การต่อสู้ของแต่ละคน ได้แก่

    1. พวกเลือดร้อน บ้าบิ่น สไตล์การต่อสู้จะออกไปทางลุยไปข้างหน้าอย่างเดียวแบบไม่คิดหน้าคิดหลังอะไรมาก ลุย ๆ ๆ ลุยมันเข้าไปทำนองนั้น พวกนี้มักติดกับดักง่าย ๆ ในบางครั้ง

    2. พวกสุขุมเยือกเย็น สไตล์การต่อสู้จะตรงข้ามกับพวกแรก พวกนี้จะรุกเมื่อมีจังหวะ และทำอะไรอย่างมั่นคงไม่มีลุกลี้ลุกรน

    3. พวกรอบคอบ ฉลาด สไตล์การต่อสู้ของพวกนี้จะเป็นการวางแผนไว้ก่อนแล้ว และมักจะใช้กลยุทธ์ในการต่อสู้

    4. พวกบ้าคลั่ง หรือ พวกชอบการทำลาย พวกนี้จะสู้แบบไม่สนใจอะไรซัดทุกอย่างที่ขวางหน้าทั้งหมดจนกว่าจะไม่เหลืออะไรแล้ว

    5. พวกหลงตัวเอง สไตล์การต่อสู้ของพวกนี้จะเป็นทำนองว่าคิดว่าข้านี่แหละแกร่งสุด และมักประเมินคู่ต่อสู้ต่ำกว่าตนเองเสมอ และมักตกใจเมื่อเจอเซอร์ไพรส์เล็ก ๆ จากอีกฝ่าย

    6. พวกที่ชอบการต่อสู้ หรือชอบเอาชนะ สไตล์การต่อสู้ของพวกนี้จะชอบสู้กับคนเก่ง ๆ ที่สูสีกับตนเองและมักจะยอมรับฝีมือของอีกฝ่ายหากว่าสูสีกับตนหรือเหนือกว่าแต่บางทีก็ไม่เป็นงั้น และหากว่าตนแพ้ ก็จะยอมรับความเข้มแข็งของอีกฝ่าย หรือไม่ก็ผูกใจเจ็บตามสู้ไปเรื่อย ๆ ก็ได้ และมักไม่ยอมให้คนอื่นทำร้ายคู่ต่อสู้ของตนเองด้วย

    การเขียนนิยายให้เสร็จ

    นี่เป็นขั้นตอนแนะนำการเขียนให้ เสร็จ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่มีปัญหาการเขียนนิยาย...ไม่เคยจบสักที เรามีคำแนะนำให้ แต่การจะนำไปให้ สำเร็จ ใช้นั้นขึ้นอยู่กับตัวคุณ

    มาดูขั้นตอนการเขียนกันเลยดีกว่า

    1.ถ้าคิดพล็อตได้ ห้ามเขียนทันที ข้อนี้สำคัญมาก เพราะถ้าคุณเขียนทันที มีโอกาสสูงมากที่คุณจะเขียนไม่เสร็จ โดยเฉพาะถ้าเขียนพร้อมกับเรื่องอื่น เพราะฉะนั้นสิ่งที่คุณต้องทำคือ จดพล็อตย่อเอาไว้ ในสมุดรวมพล็อตเพื่อให้หาได้ง่าย

    มาพูดถึงพล็อตกันหน่อยแล้วกัน แน่นอนว่าพล็อตที่ดีต้องเป็นของคุณเอง อย่าไปก๊อปปี้พล็อตของคนอื่นมาเด็ดขาด บางครั้งเราจะคิดพล็อตออกเมื่ออ่านเรื่องของคนอื่น การจดเอาไว้ก่อนเป็นการดี เพราะเมื่อคุณกลับมาอ่านพล็อตย่อนั้นอีกครั้งคุณอาจจะเห็นว่ามันไร้สาระและช่างซ้ำกั
    บคนอื่นๆเสียนี่กระไร

    และอีกข้อสำคัญของพล็อตที่ดีคือต้องมี Conflict (ปัญหาขัดแย้ง) ที่น่าเชื่อถือ ซึ่งความน่าเชื่อถือกับความสมจริงนั้นไม่เหมือนกัน เพราะเรื่องที่ไม่สมจริงแบบเรื่องแฟนตาซีก็มีความน่าเชื่อถือได้ เช่น เรื่องแฮร์รี่ พอตเตอร์, หัวขโมยแห่งบารามอส ฯลฯ ความน่าเชื่อถือนั้นยิ่งต้องมีหากเป็นเรื่องชีวิตแนวสังคม แต่หากคุณไม่อยากให้มีก็เขียนเป็นเรื่องตลกได้ ซึ่งการจะทำให้มีความน่าเชื่อถือนั้น ดูจากความถูกต้องของข้อมูลครับ

    2.รอฤกษ์ดี เมื่อโอกาสงามๆมาถึงและคุณคิดจะเขียนเรื่องนั้นแล้วก็ขอให้กลับไปนั่งคิดนอนคิดฉากสำคัญๆมาให้ได้ก่อน นั่นคือ ฉากเปิด ฉากไคลแม็กซ์ และฉากปิด รวมถึงฉากอื่นๆที่จะเชื่อมฉากสำคัญเข้าด้วยกัน และเมื่อคิดได้หมดแล้วก็ให้ เขียนลำดับฉากเอาไว้ แต่ไม่ต้องกำหนดตายตัว เพราะจะทำให้ขาดความยืดหยุ่นเมื่อมีความคิดใหม่ๆเข้ามา (แต่ก็ไม่ควรให้เนื้อเรื่องเลยเถิดจนเกินไป)

    3.ขณะที่เขียน อย่าขี้เกียจ! แน่ล่ะว่าคนเราก็มีขี้เกียจกันได้ แต่เมื่อคุณคิดจะเขียนแล้วก็ควรที่จะวางเป้าหมายเอาไว้ เช่น อัพอาทิตย์ละบท ทุกวันเสาร์หรืออาทิตย์ จะทำให้การเขียนนิยายของคุณไม่กินเวลาของการเรียนหรือการทำงานมากเกินไป และควรวางขอบเขตของ 1 บทของคุณเป็นมาตรฐาน เช่น ของเรา 1 บท ก็จะมี 3 หน้าครึ่ง (ไม่น้อยกว่าสามและไม่เกินสี่หน้า) แต่บางคนอาจจะยาวหน่อยเป็น 6 หน้า หรือ 8 หน้า ก็แล้วแต่กำลังศรัทธา

    แล้วตอนที่ไอเดียกำลังกระฉูดล่ะ รีบจดเอาไว้เลย! เพราะเวลาที่นั่งหน้าจอคอมคุณอาจเกิดอาการสมองว่างเปล่าราวหน้ากระดาษไมโครซอฟเวิร์ด ขึ้นมาซะดื้อๆ คุณก็จะได้เอาที่เคยจดมาเขียนไม่ต้องเปลืองสมอง แต่ถ้าคุณเกิดอาการข้างต้นขึ้นมาจริงๆ ขอแนะนำให้ไปพักผ่อนซักหน่อย (แต่ไม่ควรตะบี้ตะบันหาความบันเทิง ไม่งั้นคุณจะติดลม) แล้วกลับมานั่งนิ่งๆ หลับตา นึกถึงฉากที่กำลังจะเขียน แล้วปล่อยให้นิ้วกระดิกบนแป้นพิมพ์ไปเอง (สำหรับคนพิมพ์สัมผัสไม่เป็นคงลำบาก -*-) เดี๋ยวพอลืมตาขึ้นมาคุณอาจจะเขียนได้มากขึ้นก็เป็นได้

    เอาล่ะ หมดขั้นตอนการเขียนที่สำคัญๆก็แค่นี้ เพราะสิ่งสำคัญคือความขี้เกียจที่จะคอยขัดขวางเราราวกับเกลียดกันมาแต่ชาติปางก่อน - -" (คนอ่านไม่ชอบคนเขียนที่ชอบดองงานหรอกนะ เดี๋ยวลูกค้าหายหมดแล้วจะจ๋อย) และถ้าใครทำตามนี้และไม่โดนความขี้เกียจกักขังหน่วงเหนี่ยวไปก่อนล่ะก็ ปุ่มปิดเรื่องก็อยู่ไม่ไกลแล้วล่ะครับ

    งั้นก็มาต่อเรื่องเทคนิคการเขียนต่อเลยละกันนะครับ (ยังไม่หมด 3 หน้าครึ่งน่ะ)

    มาพูดเรื่องอีโมติคอน (Emoticon) กันก่อนเนอะ พูดตรงๆเลยว่าเราไม่เห็นด้วยกับการใส่อีโมพวกนี้เลย (แต่ตัวเองก็เขียนนี่เนอะ-ก็ไม่เขียนในนิยายละกัน) เพราะเราคิดว่า นิยายที่ดีคือการนำเสนอเนื้อเรื่อง คำพูด ข้อคิด ฉาก เวลา ลักษณะนิสัย, อารมณ์, ความรู้สึกของตัวละคร ออกมาเป็นข้อความให้ผู้อ่านได้เข้าใจ ด้วยที่นิยายเป็นงานเขียน เพราะฉะนั้นเราก็ควรที่จะ เขียน อารมณ์และความรู้สึกของตัวละครออกมาเป็นข้อความ ไม่ใช่ตัวการ์ตูนเต็มพรืด บางคนก็บอกว่ามันน่ารักดี ดูแล้วสะดุดตา ...ก็ใช่ แต่ถ้าใส่อีโม(แทบ)ทุกประโยค ก็แสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการบรรยายของคนเขียนแล้วล่ะ

    แต่ถ้าใครอยากจะเขียน ก็ไม่ได้ว่าอะไร เพราะมันก็เป็นความชอบส่วนบุคคล เข้าใจว่ามันเป็นแฟชั่น... แต่ไม่ทำตามก็ไม่เชยหรอก จะเก่งกว่าซะอีก

    เอาล่ะ แล้วถ้ามีคนถามว่าจะบรรยายอย่างไรให้น่าสนใจ คุณคงต้องอ่านเยอะๆแล้วล่ะ

    เพราะการอ่านนั้นจะทำให้คุณซึมซับเทคนิคการเขียนของคนอื่นมา แต่ก็ควรที่จะอ่านหลายๆแนว จะได้มีสไตล์

    การเขียนที่หลากหลาย แต่อย่าไปลอกเทคนิคเขามาเด็ดขาด เพราะเราจะขาดความเป็นตัวของตัวเองไปในที่สุด

    เริ่มต้นง่ายๆ ก็ลองใช้ประโยคที่ง่ายไปหาประโยคที่ซับซ้อน ตอนนี้ก็ขอพูดถึงวรรณศิลป์ที่เรียนในวิชาภาษาไทยกันหน่อยก็แล้วกัน

    วรรณศิลป์ ก็คือ ความงามของศิลปะในการประพันธ์ในด้านการเรียบเรียงถ้อยคำ หรือการใช้ถ้อยคำที่ทำให้เกิดภาพพจน์นั่นเอง (ภาพพจน์ คือ ภาพที่เกิดจากถ้อยคำหรือคำพูด แต่เรามักจะใช้เหมือนคำว่า ภาพลักษณ์ อันนี้ผิดนะครับ)

    มาดูภาพพจน์กันก่อน ภาพพจน์ก็จะมีอย่างเช่น

    อุปมา เป็นการเปรียบเทียบ โดยใช้ "เหมือน คล้าย เท่า ดุจ ดัง ราว ราวกับ ประดุจ ฯลฯ" เช่น งามละม้ายคล้ายอูฐกะหลาป๋า (55+)

    อุปลักษณ์ เป็นการเปรียบเทียบเหมือนกัน แต่ใช้คำว่า "เป็น คือ" เช่น เธอคือนางฟ้าของฉัน หรือถ้าไม่ใช้ "เป็น คือ" ก็จะใช้คำแทนสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง เช่น หลุมรัก, เหยี่ยวข่าว เป็นต้น

    สัจพจน์ เป็นการเลียนเสียงธรรมชาติ หรือง่ายๆเลยก็เช่น เขาเกาหัวแกรกๆ เป็นต้น
    อธิพจน์ อันนี้แน่นอนว่าถ้าไม่มีนิยายเราก็แสนจะธรรมดาไปเลย เพราะมันคือการกล่าวเกินจริง (พูดง่ายๆคือเวอร์ไว้ก่อนนั่นเอง) เช่น ฉันร้องไห้น้ำตาเป็นสายเลือด แต่ถ้าเวอร์มากระวังจะกลายเป็นเรื่องตลกไปนะครับ (ยกเว้นซะว่าคุณจะเขียนให้ตลกก็เวอร์หลุดจักรวาลไปเลยยิ่งดี)

    บุคลาธิษฐาน หรือ บุคคลวัต คือการสมมติให้สิ่งที่ทำกิริยาไม่ได้ มาทำกิริยา เช่น ท่ามกลางความเงียบงันนั้น เธอรู้สึกว่าสายลมกำลังหยอกล้อพัดต้องผิวกายอยู่อย่างอ่อนโยน (เอ้อ ประโยคนี้ยาวแฮะ)

    ปฏิพากย์ หรือ ปฏิทรรศน์ เป็นการเอ่ยถึงสิ่งที่ขัดแย้ง หรือตรงข้ามกัน ถ้าใครทำได้จะรู้สึกเจ๋งมาก เช่น ฉันเดินหลงทางอยู่กลางผู้คน สับสนวุ่นวาย... หันไปหาเธอไม่เจอผู้ใด เมื่อเธอมาจากฉันไป (ให้ทายว่ามาจากเพลงอะไร เหอๆ)

    สัญลักษณ์ อันนี้ก็สำคัญ ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าใช้สิ่งใดสิ่งหนึ่งมาแทนความหมายของอีกสิ่งหนึ่ง (จะใช้มากในฉากเรตๆใช่มะ) แต่ตัวอย่างของเราเอาแบบธรรมดาไปก่อน นั่นคือ เรือจ้าง ใช้แทน ครู เป็นต้น หรือ นามนัย ที่ใช้การเอ่ยสิ่งน้อยแทนที่สิ่งทั้งหมด เช่น กระดานดำ แทน อาชีพครู เหมือนกัน


    มาดูการใช้คำกันบ้าง อันนี้ออกจะยากอยู่สักหน่อย เพราะถ้าไม่เก่งจริงนิยายของเราก็เป็นอันวืด

    การเล่นคำ จะใช้คำเดิม แต่หลายความหมายหลายๆครั้ง อันนี้น่ะยาก แต่ถ้าเอ่ยคำเดิมซ้ำๆ แต่ให้ความรู้สึกว่ามันไม่ติดขัดนี่สิ ยากกว่า

    เพราะระดับเราๆ ควรใช้ไวพจน์ (คำที่มีความหมายเหมือนกัน) ให้คล่องก็พอแล้ว

    ส่วนการเล่นเสียง จะแบ่งเป็นเล่นเสียงพยัญชนะ เสียงวรรณยุกต์ กับ เสียงสระ อันนี้ก็ยากอยู่พอควร แต่จะไพเราะขึ้นอีกถ้าใช้กับบทกวี เพราะฉะนั้นถ้าอยากเห็นตัวอย่างก็ลองไปหาผลงานของสุนทรภู่อ่านดู รับรองไม่ผิดหวัง


    มาถึงรสวรรณคดี(ไทย) กันบ้าง (มาแนวนี้ซะแล้วเรา ชักจะติดลม)

    เริ่มที่ เสาวรจนีย์ เป็นบทชมโฉม พรรณาฉาก สถานที่ หรือตัวละคร (แง่ดีเท่านั้นนา)

    ต่อด้วย นารีปราโมทย์ stepนี้นิยายรักหวานแววใช้กันเกร่อ นั่นก็คือฉากจีบกันนั่นเอง (ไปจนถึงฉาก อะจึ๋ยๆ เลยล่ะ แต่ส่วนมากในวรรณคดีไทยแค่แตะเนื้อต้องตัวเดี๋ยวก็ไปโผล่สำเภาน้อยกลางสมุทรมีฝนตกฟ้าคะนองซะได้ เข้าใจเซนเซอร์เนอะ)

    ตามด้วย พิโรธวาธัง จะมา ช้าก่อน อ้ายโจรใจทราม สมัยนี้ก็คงจะเชยไปแล้ว แค่โกรธแบบเส้นเลือดขมับเต้นตุบๆไปทั้งหัวทั้งคอ รังสีอัมหิตแพร่กระจาย หน้าแดงแบบเทพแห่งโทสะครอบงำ ก่อนด่ากันนรกแตกก็น่าจะโอเค (อธิพจน์จริงเรา)

    จบที่ ศัลลาปังคพิสัย ใครอกหักคงเขียนได้มันส์สุดๆเลยล่ะ เพราะเอาความโศกเศร้าเสียใจมาละเลงได้ตามใจชอบจนกว่าพระเจ้าจะเห็นใจได้เลย


    เป็นอย่างไรบ้างกับ รสวรรณคดี (เสาวรจนีย์ นารีปราโมทย์ พิโรธวาธัง ศัลลาปังคพิสัย-คล้องจองกันอีกแน่ะ) รู้สึกตัวอีกทีก็มาแนวนี้ซะแล้วเรา


    และส่วนที่สำคัญอีกส่วนหนึ่งนั่นก็คือ การขยายประโยคให้มีความลื่นไหล เพราะถ้าอ่านแล้วรู้สึกติดขัดนิยายของเราก็จะไม่ให้อารมณ์ได้ดีเท่าที่ควร แต่อย่าขยายพร่ำเพรื่อ ไม่งั้นก็จะทำให้รู้สึกติดขัดไปเสียแทน

    เช่น "เขาหน้าแดง"

    กับ "เขาหน้าแดงด้วยความอายไปถึงใบหูอย่างขัดเขิน"

    จะเห็นได้ว่าตัวอย่างแรกเป็นแค่ประโยคอนุบาล ส่วนประโยคหลังก็ขยายคำพร่ำเพรื่อ ถึงจะใช้คำไวพจน์ก็เถอะ (อาย,ขัดเขิน) แต่การนำมาอยู่ติดๆกันทำให้รู้สึกว่ามันฟุ่มเฟือยเกินไป ตัดเหลือแค่ "เขาหน้าแดงด้วยความอายไปถึงใบหู" ก็น่าจะพอ

    การเริ่มต้นฟิคของเรา

    ว่ากันว่า เริ่มต้นดีมีชัยไปกว่าครึ่ง ดังนั้นเราน่าจะมีการวางแผนให้ดีก่อนเริ่มเขียนนิยายเพื่อให้มีชัยกันนะครับ
    ผมจะขอแบ่งเป็นขั้นตอนง่าย ๆ สำหรับท่านที่ไม่เคยเขียนมาก่อนก็อาจจะลองสร้างผลงานของตัวเองกันดูครับ

    1. แรงบันดาลใจ

    เริ่มจากแรงบันดาลใจให้คุณสนใจการเขียนนิยาย ทุกคนย่อมมีสิ่งนี้อยู่ไม่อย่างนั้นการจะเขียนไปเรื่อย ๆ โดยไม่เบื่อไปก่อนคงจะยากมาก ทำไมคุณถึงอยากแต่งเนื้อเรื่องของตัวเองสักเรื่อง อาจเป็นเพราะความชอบ ความประทับใจในความสนุกอะไรสักอย่าง เกม การ์ตูน หนัง ฯลฯ การที่คุณอ่านเรื่องเหล่านั้นแล้วรู้สึกสนุกมากจนอยากจะลองเขียนตามขึ้นมาดู เป็นจุดเริ่มต้นของนักเขียนหลาย ๆ คน ทั้งเรื่อง original ( นิยายที่เอามาจากการ์ตูน ) กับเรื่องที่เขียนเองทั้งหมด ต่างก็ได้รับอิทธิพลจากเรื่องที่ผู้เขียนชื่นชอบกันแทบทั้งนั้น แรงบันดาลใจเหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นในขั้นแรกที่จะขาดเสียไม่ได้เลย นอกจากนั้นคุณควรจะตั้งเป้าหมายว่าเขียนเพื่ออะไร เช่น ฝึกฝีมือดู อยากสร้างผลงานเก็บไว้ หรือเขียนเพื่อความสนุกสนาน

    2. แนวเรื่อง

    ก่อนจะคิดไปถึงท่าไม้ตายของตัวละคร เรื่องของคุณต้องการระบุแนวเรื่องก่อนนะครับ จะเขียนแนวไหนเป็นตัวกำหนดเส้นทางเดินชั่วชีวิตของนิยายคุณเลยทีเดียว แนวที่มีก็เช่น สงครามบู๊ล้างผลาญมหาเทพอสูรซาตาน แฟนตาซีนักดาบโจรจอมเวทย์นักบวช หรือแนวโรงเรียนเวทย์มนต์พลังพิเศษเผ่าพันธุ์ต่าง ๆ เป็นแนวยอดนิยมที่เห็นกันได้ทั่วไป ส่วนแนวอื่น ๆ ก็มีให้เห็นกันอยู่ไม่น้อยแต่ส่วนใหญ่ไม่เกินเรื่องสองเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นแนวไหนก็ตาม คุณต้องถามตัวเองว่าอยากจะเขียนเรื่องแบบไหนล่ะ ?

    ตัวอย่าง เนกิมะ การ์ตูนสาวน้อยที่ผมติดตามอ่านรายสัปดาห์ โรงเรียนที่ใหญ่ที่สุด มีครูเป็นจอมเวทย์ปะปนกับนักเรียน แนวเรื่องก็จะสไตล์แฟนเซอร์วิส เวทย์มนต์ผจญภัยในโรงเรียนกับกิจกรรมของเหล่านักเรียนหญิงไม่ธรรมดาที่มารวมกันในชั้นเรียนของตัวเอก หรือถ้าตรงข้าม เป็นแนวมืดมนก็อย่างเช่น Berserk แนวเรื่องก็แบบตัวเอกที่เป็นเครื่องสังเวยถูกปีศาจไล่ล่า ดิ้นรนเอาชีวิตรอด ท่ามกลางสงครามของประเทศต่าง ๆ และศาสนจักร จนได้พรรคพวกมาทีละคนร่วมต่อสู้กับกองทัพปีศาจ

    3. แนวความคิดหลัก

    concept เป็นเหมือนกับจุดเด่นที่ทำให้นิยายแต่ละเรื่องแตกต่างกัน การเขียนนิยายแฟนตาซีที่มีแต่ตัวเอก พรรคพวก กับอาชีพต่าง ๆ แล้วก็จอมปีศาจ บุกตะลุยไปเรื่อย ๆ เป็นเส้นตรง จะดูซ้ำซากและเกลื่อนกลาดมากถ้าปราศจาก concept ของเนื้อเรื่อง ในบางครั้ง concept ก็เป็นจุดที่เด่นที่สุดของเรื่องหนึ่ง หรืออาจจะเป็นแค่จุดเริ่มต้นก็ได้ คำอธิบายของสิ่งนี้อาจจะดูคลุมเครือเกินไป แต่ถ้าคุณจะเขียนนิยายสักเรื่องการมี concept เจ๋ง ๆ ไม่ซ้ำใครก็คืออาวุธหลักที่จะทำให้ผู้อ่านสนุกได้เป็นอย่างดี

    ตัวอย่าง Death Note สมุดโน้ตมรณะในมือของ ไลท์ ที่คิดจะฆ่าคนชั่วสร้างโลกที่มีแต่คนดี ก่ออาชญากรรมฆ่านักโทษ กับ L นักสืบที่ไม่มีใครรู้ชื่อจริง อัจฉริยะที่จะต้องสืบค้นหาคิระให้ได้ การต่อสู้ของ ไลท์ กับ L ใครจะเป็นฝ่ายหาตัวจริงของศัตรูและกำจัดได้ก่อนกัน !? ตัวอย่างอีกเรื่องคือ ดราก้อนบอล ที่ตอนแรกเป็นการค้นหาลูกแก้วมังกรที่สามารถขอพรอะไรก็ได้ แต่หลังจากฟรีสเซอร์ เรื่องนี้ก็กลายเป็นการ์ตูนซูเปอร์ไซย่าไปเสียมากกว่า เหอะ ๆ แต่ก็สนุกจนดังไปทั้งประเทศไทย

    4. ระบบการต่อสู้

    ไม่ว่าคุณจะเขียนนิยายอะไร นอกจากแนวรักโรแมนติก คงหลีกเลี่ยงการต่อสู้ไม่พ้นแน่ ๆ แนวคิดในการสร้างระบบต่อสู้ที่สนุกและพลิกแพลงจะทำให้ฉากต่อสู้มันส์ไม่น่าเบื่อ หรือบางทีจุดนี้อาจจะเป็นจุดขายของนิยายของคุณแทนที่จะเป็นเนื้อเรื่องเลยก็ได้ เปรียบได้กับเกมไฟนอลแฟนตาซี ที่มีส่วนเกมภาษากับส่วนฉากต่อสู้ เกมนี้สนุกและโด่งดังมากก็เพราะเนื้อเรื่องที่ยอดเยี่ยม และระบบการต่อสู้ผสมผสานที่สนุกแปลกใหม่ต่างจากดรากอนเควสท์ที่เก็บเลเวลอย่างเดียว
    ระบบการต่อสู้ผมจะแบ่งเป็น 2 ประเภทก็คือ

    - เน้นกระบวนท่า ความเท่ห์ ความสวยงาม ความคิดสร้างสรรค์ จะเน้นที่ท่าระดับต่าง ๆ ยันไม้ตาย ใช้สัญลักษณ์ ตั้งชื่อวิชา วัดกันที่พลังเป็นหลัก ท่าพวกนี้เน้นที่ตัวละครกับความเท่ห์เป็นหลัก จะเขียนยังไงให้ดูโดดเด่น ดูแข็งแกร่งน่าเกรงขาม และการจับคู่พลิกแพลงผลแพ้ชนะระหว่างตัวละครกับท่าหลาย ๆ อัน
    ตัวอย่าง เคียว บลีช กับหนังจีนกำลังภายใน ท่าไม้ตายจะมีระดับขั้น รูปร่าง ตั้งชื่อ กระบวนท่าโดดเด่นแตกต่างกันไป

    - เน้นกลยุทธ์ ความสามารถ ทักษะการรุกรับวางแผน จะเน้นที่วิธีการ เงื่อนไข เทคนิคต่าง ๆ มากกว่าใช้พลังวัดกัน พลังพิเศษของตัวละครเป็นอย่างไรจะเป็นจุดเด่นของตัวนั้น จะเขียนยังไงให้พลิกล็อก เอาชนะตามเงื่อนไขแบบคนอ่านนึกไม่ถึงว่ามีวิธีแบบนั้นอยู่ การจับคู่พลิกแพลงระหว่างความสามารถหลาย ๆ อย่าง
    ตัวอย่าง HxH โจโจ้ล่าข้ามศตวรรษ ความสามารถจะมีแบ่งเป็นสายตามลักษณะการใช้งาน มีเทคนิคที่ตัวละครจะใช้ความสามารถตัวเองแตกต่างกันไปได้

    5. โครงเรื่อง

    การวางโครงเรื่องคร่าว ๆ นั้น จะมีประโยชน์เป็นอย่างมากหลังจากที่คุณเริ่มเขียนไปแล้ว โครงเรื่องในตอนเริ่มต้นไม่ต้องละเอียดนักแต่วางแผนไปยาว ๆ จนถึงบทสรุปในตอนจบได้เลย
    การวางโครงเรื่องอาจจะใช้วิธีกำหนดบทบาทขึ้นมาก่อน แล้วค่อยเลือกตัวละครของผู้สมัครที่เหมาะสมมาใส่ในบทนั้นทีหลัง
    ถ้าหากคุณสามารถกำหนดเงื่อนไข หรือลักษณะเรื่องราวที่คุณอยากได้ก่อนก็จะง่ายขึ้น ยกตัวอย่างสถานการณ์ก็คือ อยากเขียนเรื่องที่ฝั่งตัวเอกจับกลุ่มรวมกันเป็นทีม แล้วแต่ละทีมประลองต่อสู้กัน เรื่องที่มีคนชั่วสามารถใช้พลังก่ออาชญากรรมนอกกฎกติกาได้ เรื่องที่ความสามารถของตัวเอกจะต้องเป็นความลับ เรื่องที่จะต้องมีการแข่งขันที่ยิ่งใหญ่ถ่ายทอดสดไปทั่วโลก
    เขียนเงื่อนไขต่าง ๆ ลงบนกระดาษ แล้วคุณก็ลองคิดดูว่าเนื้อเรื่องแบบไหนที่จะตรงตามสิ่งที่คุณต้องการทั้งหมด โดยเทียบวิธีการต่อสู้ประกอบด้วย จากนั้นก็เขียนเหตุการณ์คร่าว ๆ โดยไม่ต้องกำหนดตัวละครตายตัวนัก เรียงไปเรื่อย ๆ จนถึงบทสรุปของเรื่องราวในแต่ละตอน

    6. กำหนดรายละเอียด

    หลังจากที่คุณพอจะได้เนื้อเรื่องคร่าว ๆ ของคุณเองแล้ว สิ่งที่คุณควรจะเตรียมไว้ก็คือ ตั้งชื่อให้กับ NPC ทั้งหลายแหล่ ( ตัวละครที่คุณสร้างเองไม่ใช่จากการรับสมัคร ) ตั้งชื่อให้กับพลังจิตที่ใช้ต่อสู้ อาวุธเครื่องมือ กำหนดรายละเอียดของสิ่งเหล่านั้น เวทย์มนต์ต่าง ๆ หรือข้อมูลของเผ่าพันธุ์ อาณาจักร องค์กร ฯลฯ สิ่งเหล่านี้จะทำให้โครงเรื่องของคุณแน่นและมั่นใจยิ่งขึ้น เขียน ๆ ไปไม่มีผิดพลาดหลงลืม หรือออกทะเลไปเลย

    ถ้าหากคุณสามารถคิดไอเดียที่จะใช้กับ concept ในเรื่องของคุณ ทำให้มันหลากหลาย ไอเดียที่จะพลิกผัน หักมุม หรือสร้างสรรค์เรื่องราวให้ประทับใจ อย่าเก็บเอาไว้ในหัวอย่างเดียวแต่ขอให้จดลงในกระดาษ พยายามสะสมไอเดียต่าง ๆ ที่คิดได้เพื่อจะนำมันกลับไปเขียนเป็นโครงเรื่องหลักในแต่ละบทย่อย ๆ ของคุณ เวลาเขียนไปเรื่อย ๆ จะมีประโยชน์มากถ้าคุณคิดอะไรไม่ออกเมื่อไหร่ก็จับที่จดไว้มาดู ถ้าคิดได้ก็ต่อเติมเข้าไปให้สนุกยิ่งขึ้น

    7. เตรียมความพร้อม

    ก่อนที่คุณจะเริ่มลงมือเขียนจริง ๆ แล้ว ลองทบทวนตารางเวลาในแต่ละวันดูก่อน คุณพอจะมีเวลาในวันไหนบ้างติด ๆ กันสักอย่างน้อย 2-3 ชั่วโมง ในแต่ละอาทิตย์จะมีวันที่เขียนได้กี่วัน เผื่อเหลือเผื่อขาดกี่วัน เทียบกับลักษณะนิสัยของคุณที่จะไปเล่นเกม เดินห้าง ทำการบ้าน ฯลฯ คุณมีเวลาว่าง ๆ เหลืออีกกี่ชั่วโมง และคุณอยากจะให้เวลากับนิยายกี่วันวันละกี่ชั่วโมง คร่าว ๆ แล้วประมาณว่าในแต่ละตอนที่คุณเขียนนั้น จะยาวสักเท่าไหร่ ความถี่ที่จะลงคือ 2-3 วันครั้งหรืออาทิตย์ละครั้ง

    หากคุณลองก๊อปปี้นิยายที่คุณเคยอ่านมาเทียบความยาวดูจะทำให้ทุกอย่างง่ายขึ้น ดูปริมาณแล้วก็ดูขนาดของไฟล์ว่ากี่ KB เพื่อที่ว่าทุกครั้งที่คุณพิมพ์ต่อจะได้รู้ความยาวคร่าว ๆ ของแต่ละตอนว่าพิมพ์ไปถึงกี่ KB แล้ว และคุณใช้เวลาไปเท่าไหร่ จะทำให้กำหนดความถี่กับปริมาณเวลาแต่ละตอนได้ง่ายขึ้น

    8. ใบสมัคร

    ออกแบบใบสมัครให้เข้ากับเนื้อเรื่อง concept ของคุณ ระบบการต่อสู้ของคุณ รายละเอียดไม่ควรจะมีน้อยเกินไปเพราะจะทำให้ผู้สมัครมองแนวทางไม่ถูก และไม่ควรจะมีมากเกินกว่าความสามารถที่คุณเองจะนำไปเขียนมากนัก ขั้นตอนนี้คุณอาจจะดูใบสมัครของกระทู้อื่น ๆ หลาย ๆ อันเป็นแนวทาง ก็จะออกแบบใบสมัครได้ตรงตามความต้องการของคุณมากขึ้น
    ใบสมัครควรจะมีการตั้งหัวข้อที่ชัดเจน อธิบายว่าคุณต้องการให้กรอกข้อมูลอย่างไร มีเงื่อนไขอย่างไร เอาขนาดไหน ใส่ได้กี่อย่าง ห้ามใส่อะไรบ้าง

    9. บทนำ

    มาถึงจุดนี้ คุณก็จะต้องเริ่มเขียนจริง ๆ แล้ว นิยายที่ไม่มีบทนำจะทำให้ผู้อ่านไม่รู้ว่าผู้เขียนจะเขียนออกมาสไตล์ไหน บางทีผู้สมัครอาจจะอยากได้แนวหนึ่ง แต่พอเขียนมาเป็นอีกแนว หรือคนที่อยากอ่านแนวของคุณกลับไม่มาสมัครเพราะคุณไม่ได้ลงบทนำให้เขาดูก่อน และที่สำคัญ ตัวคุณเองหากเป็นผู้เริ่มต้นเขียนเป็นครั้งแรก ก็จะต้องเริ่มเก็บประสบการณ์จากบทนำครั้งนี้ เพื่อนำกลับไปเตรียมตัวใหม่ในข้อ 7. ว่าคุณยังจะสามารถเขียนได้เท่าเดิมรึเปล่า หรืออาจจะเขียนได้มากขึ้น

    ผู้ที่เริ่มเขียนเป็นครั้งแรกหลายคนล้มเลิกไปก็เพราะว่า คิดอะไรไม่ออก ไม่มีเวลาพอ เหนื่อยเบื่อหรือท้อ เพราะการลงมือเขียนมันเสียเวลามากกว่าที่คิดไว้ แต่ถ้าคุณลองเขียนบทนำและวางแผนก่อนแล้วเหตุการณ์เหล่านั้นก็ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ง่าย ๆ

    10. ตั้งกระทู้

    และแล้วก็ถึงเวลาตัดสินกันเสียที คุณอาจจะใช้เวลาหนึ่งวันเต็ม ๆ ในการทำตามข้อ 1-9 หรืออาจเป็นอาทิตย์ หรืออาจจะวางแผนกันเป็นเดือนก็ได้
    การตั้งกระทู้ มีตัวอย่างที่ดี ๆ มากมายอยู่ในบอร์ด ลองเปิดดูหลาย ๆ กระทู้แล้วก็นำมาเป็นแนวทางจะช่วยได้ง่ายขึ้นมาก
    ภายในกระทู้จะมีข้อมูลตั้งแต่บทนำ การสมัคร ไอเดีย concept ของเรื่องของคุณต่าง ๆ

    แต่ถ้าอยากจะนำเสนอนิยายของคุณให้ผู้ที่ลองคลิกเข้ามาดูโดยละเอียด ลองกรอกข้อมูลตั้งแต่ข้อ 1 ถึง 9 ที่มีทั้งหมดของคุณลงไปเลยก็ได้

    สุดท้ายก็ ขอให้คุณเริ่มต้นชีวิตของนักเขียนสมัครเล่นไปได้ด้วยดีนับจากนี้ไป
    ถึงแม้จะเขียนจบไม่จบ มีคนติดตามมากหรือน้อยก็ตาม แต่ถ้าผลงานที่คุณสร้างขึ้นเป็นความภูมิใจของคุณก็นับว่าประสบความสำเร็จแล้วล่ะครับ

    เรื่องสำคัญในการบรรยายมีไม่มากหรอก

    1.เขียนในสิ่งที่"เห็น"ไม่ใช่เขียนในสิ่งที่"คิดว่าเห็น" >>> การบรรยายในนิยายมันคล้ายๆการวาดภาพแหละครับ อย่างวาดลูกบอลเนี่ย เราเป็นว่ามันเป็น"ทรงกลม" ก็ให้วาดออกมาเป็น"ทรงกลม" ไม่ใช่วาดเป็น"วงกลม"

    2.การใช้คำให้ถูกต้อง >>> ก็ตรงตัวอย่างที่บอกเลยครับ ว่าการใช้คำให้ถูกต้อง อย่างผมดำปี๋ไม่ใช่ผมขาวปี๋ นั่นแหละครับ

    3.เว้นวรรคให้ดี >>> ข้อนี้ก็สำคัญกับการบรรยายเหมือนกัน ทำให้อ่านง่ายหรือยากขึ้นอยู่กับมันกว่าครึ่ง

    4.การใช้คำซ้ำ,สรรพนาม >>> ข้อนี้สำคัญพอตัวเรื่องที่จะทำให้การบรรยายบทนั้นลื่นไหลหรือว่าสะดุดซะจนเจ้งน่ะนะ อย่างในประโยคเดียวกันถ้าจะต้องใช้คำนั้นเยอะๆ ก็ลองหาไวพจน์มาใส่บ้าง ยกตัวอย่าง

    ที่ที่เด็กหนุ่มจะไปคือภูเขาไฟที่มีเจ้าแห่งมังกรอยู่ เด็กหนุ่มคนนั้นตามหามันมานานเพื่อที่จะแก้แค้นให้กับพ่อของเขาที่ถูกมันฆ่าตาย
    ปรับแก้ใหม่เป็น
    ที่ที่เด็กหนุ่มจะไปคือภูเขาไฟซึ่งมีเจ้าแห่งมังกรอยู่ เขาตามหามันมานานเพื่อแก้แค้นให้กับพ่อของเขาซึ่งถูกมันฆ่าตาย

    การตัดคำไปบ้าง บางทีไม่ได้ทำให้ประโยคเสียหายอะไร แล้วก็เป็นการใช้คำไม่เปลืองไปด้วย

    5.การใช้คำเปลือง >>> บางประโยคไม่ต้องมีคำมากหรอก แต่มีความหมายเท่ากัน การใช้คำเปลืองไม่ใช่ว่าจะดีหรอกนะครับ ในบางครั้ง สาธยายซะยืดยาวจนกลายเป็นคนอ่านเริ่มเบื่อมากกว่าจะสนใจในความงามที่เราต้องการจะสื่อ นั่นก็เพราะว่าใช้คำเปลืองไปไงครับ
    บางครั้งการใช้ประโยคยาวๆคำเปลืองๆที่ทำให้บรรยายได้เห็นภาพมากก็ไม่ได้ดีไปตลอด บางคราวใช้ประโยคสั้นๆคำคมๆก็แฝงความหมายได้ดีมากกว่า

    ศาสตร์แห่งพิชัยยุทธ์ 1

    พูดถึงเรื่องการ์ตูน ถ้าไม่ใช่แนวรักโรแมนติก ย่อมหลีกหนีการต่อสู้ไม่พ้น คำพูดของผมนี้อาจเป็นจริงครึ่งหนึ่ง แต่ถ้านับรวมการแข่งขันทุกอย่างเป็นการต่อสู้แล้วนั้น การ์ตูนทุกชนิดย่อมต้องมีการต่อสู้เกิดขึ้นเป็นอรรถรสอย่างหนึ่งแน่นอนครับ

    การต่อสู้ มีเป้าหมายอยู่ที่ชัยชนะ โดยไม่จำเป็นต้องจำกัดวิธีการแม้จะผิดกติกาก็ตาม แต่สิ่งที่จะกำหนดกรอบของตัวละครก็คือความรู้สึกของตัวละครนั้นเองว่าจะยอมทำถึงขั้นไหนเพื่อชัยชนะได้บ้าง
    กลวิธีในการเขียนฉากต่อสู้นั้น มีอยู่หลากหลายมากมายเหลือคณานับ ต่อให้มนุษย์สูญพันธุ์ถ้ากอริลล่าแต่งนิยายได้กลวิธีเหล่านั้นก็ยังไม่หมด

    กลวิธีที่หนึ่ง – เป่ายิ้งฉุบ

    ถ้าคุณไม่รู้จักเกมนี้ ผมก็ขออภัยเป็นอย่างยิ่งที่ไม่ได้อธิบายกติกาไว้ตรงนี้ด้วยนะครับ
    เดิมที เป่ายิ้งฉุบ คือการฝึกฝนการต่อสู้โดยแสร้งทำเป็นเกม
    หมัด ใช้โจมตีตรง ๆ ด้วยกำลังที่เหนือกว่า
    นิ้ว ใช้ทิ่มแทงจุดสำคัญให้เสียหาย
    ฝ่ามือ ใช้กระแทกทำลายจากภายใน

    กลวิธีที่หนึ่งนี้ จะแบ่งแยกวิธีการต่อสู้ออกเป็น 3 แผน การอ่านแผนของศัตรูแล้วเลือกใช้แผนที่ชนะทางคือหัวใจสำคัญ
    ค้อน คือพลังที่รุนแรง แข็งแกร่ง เปรียบกับวิธีสู้ตรง ๆ ด้วยพละกำลัง
    กรรไกร คือพลังที่รวดเร็ว แม่นยำ เปรียบกับวิธีโจมตีไม่ให้ทันตั้งตัวเข้าจุดอ่อน
    กระดาษ คือพลังที่อ่อนนุ่ม ลื่นไหล เปรียบกับวิธีสลายพลังชิงความได้เปรียบ

    กระดาษห่อค้อน เหมือนกับคนต่อสู้กับเสือในป่า ไม่ว่าจะใช้กำลังยังไงก็ไม่มีทางเอาชนะได้เลย การต่อสู้จริง ๆ คงไม่มีใครเอาหมัดชกเสือ หรือจับมันซูเพล็กซ์แน่ ๆ ดังนั้นคนที่ฉลาดกว่าเสือย่อมจะเป็นฝ่ายกำชัยชนะด้วยการสร้างอาวุธ หักกิ่งไม้ในป่า ทำกับดักต่าง ๆ ปีนหนีขึ้นต้นไม้ เขาอาจจะฆ่าเสือได้โดยไม่ต้องเข้าใกล้เสียด้วยซ้ำ จะเห็นได้ว่าเสือปีนต้นไม้ไม่ได้จึงไม่สามารถออกเขี้ยวเล็บใส่มนุษย์ และค่อย ๆ ถูกหอกไม้ กับดัก แทงเลือดออกตายไปอย่างช้า ๆ นั่นคือการสร้างความได้เปรียบ หยุดอาวุธศัตรูแล้วหาวิธีทำให้ได้เปรียบขึ้นเรื่อย ๆ ก็จะชนะได้เองในตอนสุดท้าย ( แต่ถ้าเสือดาวปีนต้นไม้ได้คงไม่นับ )

    กรรไกรตัดกระดาษ เหมือนกับงูสู้กับคน นอกจากพิษที่ฆ่าคนได้แล้วไม่ว่าจะเรื่องพลัง ความเร็ว จำนวนขา งูไม่มีทางสู้คนได้เลย แต่ทำไมงูถึงเป็นสัตว์ที่น่ากลัว เพราะพวกมันโจมตีเหยื่อจากในพงไม้ และเพียงแค่กัดทีเดียวคนก็ไม่รอดแล้ว เปรียบกับเมื่อเวลาเราเจอศัตรูชิงความได้เปรียบเรื่อย ๆ คอยตอดเลือด ทำให้เหนื่อยล้า ทำให้เคลื่อนไหวลำบากขึ้นเรื่อย ๆ การเข้าไปสู้ตรง ๆ ตามเกมจะทำให้เรายิ่งเสียเปรียบลงเรื่อย ๆ และเป็นฝ่ายแพ้ในที่สุด ดังนั้นในจุดนี้ต้องแลกกันไปข้างหนึ่ง โจมตีอย่างรวดเร็วไม่ให้ได้ทันตั้งตัว หรือโผล่จากจุดที่มองไม่เห็นแล้วเอาชนะให้ได้ในทันที ไม่ปล่อยเวลาให้ศัตรูเป็นฝ่ายคุมเกม

    ค้อนทุบกรรไกร เหมือนกับเสือสู้กับงู ต่อให้งูพิษที่มีพิษฆ่าเสือได้ แต่ถ้าสู้กันจริง ๆ อย่าว่าแต่เสือเลย แมวกับพังพอนก็ฆ่างูได้ไม่ยาก เพราะพวกมันรู้ทางงูด้วยความเป็นสัตว์ป่าด้วยกัน เปรียบกับเวลาที่เจอศัตรูพุ่งเข้ามาโจมตีไม่ให้ทันตั้งตัว สิ่งจำเป็นคือความแข็งแกร่งที่จะสยบการโจมตีเหล่านั้น และพละกำลังที่เหนือกว่า เพียงเท่านี้ถ้าศัตรูยังทำได้แค่โจมตีไม่ให้ตั้งตัวอย่างเดียว ไม่ช้าฝ่ายศัตรูนั่นเองที่จะเป็นฝ่ายแพ้เพราะบุกไม่เข้าแล้วโดนโต้กลับเร็ว

    ----------------------------------------------------------------------

    ความรู้เล็กน้อยที่หลายคนอาจรู้แล้ว

    1.ไม่จำเป็นต้องใช้ซาวด์ เอฟเฟ็คทุกครั้งที่มีเสียงก็ได้ เพราะมันอาจทำให้สะดุด ที่สำคัญมันจะเป็นการเปลืองหน้ากระดาษทางสนพ.บางแห่งถ้าหากส่งไปอาจให้มาปรับเรื่องนี้

    2.จากข้อหนึ่งที่ไม่จำเป็นต้องมีอีกข้อคือ นิยาย ไม่ใช่การ์ตูนที่เจอ ตูม ผ่าง ก็มีซาวด์ เอฟเฟคทุกครั้ง(เชื่อว่าหลายๆคนแต่งนิยายเพราะต้องการระบายออกในแบบการ์ตูนแต่วาดไม่ได้หรืออะไรก็ตามทำให้มาแต่งนิยายเอา ผมคนหนึ่งละขี้เกียจวาดเลยแต่งเอา เพราะงานประจำก็วาดจนเบื่อ - -)

    3.นิยายที่ดีมีคุณภาพไม่ได้หมายความว่าต้องลงสม่ำเสมอ บางทีการเร่งลงทำให้หลายๆอย่างรวนจนเละทั้งเรื่องได้

    4.จากข้อ 3ทำให้ บางทีถ้าตัน เนื้อเรื่องไม่ลงตัว หรือบลาๆๆ ที่ไม่ส่งผลดี ก็ไม่ต้องเร่งรีบเขียนไปหรอก(หลายคนมักเป็น) แต่ไม่ได้หมายความว่าหยุดไปเลย ถึงไม่ได้แต่ง อย่างน้อยเปิดเวิร์ดทิ้งไว้ก็ยังดี มันช่วยทำให้กระตือรือร้นและอาจปิ๊งก็ได้

    5.การดูหนังฟังเพลงช่วยอะไรได้เยอะเมื่อเป็นดังข้อ 3 การออกไปเที่ยวข้างนอกดูจะไม่ได้ช่วยเท่าไหร่ เพราะจะไม่มีเวลาคิด : D อยู่กับตัวเองเยอะๆช่วยได้มากกว่า (ข้อนี้แล้วแต่คน -*-)

    6.เรื่องที่มีหน้าเยอะไม่ได้หมายความว่าจะต้องแต่งดีเสมอไป เรื่องที่แต่งดีไม่ได้หมายความว่าจะมีหน้าเยอะ (มีหลายในประมูล)

    7.บางทีแค่การบรรยายที่ไพเราะเพราะพริ้งไม่ได้ทำให้นิยายดูน่าสนใจหรอก การใส่อะไรหรือแก่นเรื่องที่อ่านแล้วชวนให้ติดตามต่างหากที่สำคัญ ยกตัวอย่างของท่านอิ๋ว Arena Chaos (ชอบโดยการส่วนตัวครับ : D)

    8.คนที่แต่งนิยาย(หลายคนที่ส่วนใหญ่แต่งดี)ในอดีตไปจากประมูลกันเยอะมากแล้ว หรือที่เหลืออยู่ก็เป็นแค่คนอ่าน

    9.คำว่า Gang ที่มาจาก Gangster ทับศัพท์เป็นไทยเขียนอย่างนี้ แก๊ง ไม่ใช่ แก๊งค์

    10.ไม่น่าเชื่อเลยว่าจะเขียนได้ถึง 10 ข้อแฮะ

    ----------------------------------------------------------------------

    คำแนะนำเล็กน้อย

    1. หากท่านแต่งฟิกในเรื่องใด ๆ ก็ตามหากแต่งให้อยู่ในโลกปัจจุบันหรือไม่ออกนอกโลกของเรา ก็ขอให้นึกถึงความจริงที่ทำได้เอาไว้ด้วย แม้ว่านี่จะเป็นเพียงฟิกแต่ว่าหากทำอะไรเกินเลยไปไม่สมเหตุและผลมันก็จะไม่งามนัก

    2. ผู้ที่แต่งฟิกในเรื่องใด ๆ ก็ตามหากอยากจะอ้างอิงถึงความรู้หรือเทคโนโลยีอะไร ก็ขอให้ศึกษาข้อมูลมาหน่อยจะดีมาก เราแต่งฟิกเพื่อความสนุกแต่ก็ควรให้ได้ความรู้ด้วย google.co.th มีอยู่ก็ใช้ซะหาข้อมูลพวกนี้มา ทำแบบนี้จะได้ประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่ายทั้งผู้อ่านและผู้เขียน

    3. การสนทนาของตัวละครเราควรมีจุดต่างของการพูดจา โดยคำนึงถึงบุคลิกและอารมณ์ของตัวละครเป็นหลัก โดยบุคลิกนิสัยและอารมณ์ของตัวละครจะเป็นตัวกำหนดคำพูดจาและกริยาท่าทาง ซึงแน่นอนว่าไม่มี่ทางเป็นไปได้ที่คนเราจะนิสัยเหมือนกันทุกคน แม้จะมีบางส่วนคล้ายแต่ก็ต้องมีส่วนต่างจนดูเป็นเอกลักษณ์ของตัวละครนั้น ๆ

    4. แบ็กกราวน์นั้นก็สำคัญ การคำนึงถึงฉากหลังของเรื่องก็จะช่วยให้ฟิกดูมีชีวิตชีวาเหมือนกัน แม้ไม่เห็นภาพแต่เราก็ใช้การบรรยายเอาก็พอจะทำให้ผู้อ่านนึกภาพออกได้บ้าง รวมทั้งหลักภาษาและการเขียนภาษาไทยอันนี้ก็ขอย้ำเลยว่า ควรศึกษาภาษาไทยให้ดี ๆ กันหน่อยเราคนไทยต้องอนุรักษ์ภาษาไทย การเขียนให้ถูกหลักไวยกรณ์มันก็ถือว่าจะเป็นแต่ถ้าหากจะพิมพ์ผิดไปบ้างก็ไม่เป็นไรแต่อย่าให้มันมากนัก เดี๋ยวเขารู้หรอกนะว่าเราเรียนตกภาษาไทย (ทั้งนี้ต้องขอขอบพระคุณท่านอาจารย์สอนภาษาไทยเมื่อครั้งสมัยเรียนมัธยมเป็นอย่างยิ่งที่เขี้ยวเข็นพวกเรา แม้ในตอนนั้นเราจะไม่ชอบใจแต่ตอนนี้เรารู้สึกซึ้งในพระคุณท่านอย่าสูงยิ่ง ขอกราบขอบพระคุณท่านไว้ ณ ที่นี้ด้วย)

    5. ชื่อนั้นสำคัญไฉน การตั้งชื่อเรื่องมันก็มีส่วนดึงดูดคนอ่านนะ แต่ถ้าหากชื่อเรื่องไปอย่าง นำเรื่องไปอีกทาง แล้วเนื้อเรื่องไปอีกทาง ฟิกนี่จะเละตุ้มเปะจนดูไม่งามเอาซะเลย และฟิกที่มีเรื่องราวต่อกันอยู่ควรมีการกล่าวอ้างหรืออิงถึงเหตุการณ์ในตอนเก่า ๆ ที่ผ่านมาเล็กน้อยเพื่อแสดงความสัมพันธ์ที่มาจากคราวที่แล้วและส่งผลมาถึงคราวนี้

    6. แล้วขนาดกับเรื่องสถานที่ล่ะ อันนี้ขอติหลาย ๆ ท่านหน่อยเพราะว่าแต่งโดยไม่ได้คำนึงถึงหลักเหตุและผลไปนิด เรื่องเกี่ยวกับหุ่นยนต์ขอให้ท่านคิดเทียบขนาดให้ดี ว่า 18 เมตร 16 เมตร 20 เมตร 106 เมตร ต่างกันชั้นไหน และปืนที 18 เมตรแบกได้ กับปืนที่ 106 แบกได้มันก็คนละขนาดกันนะ ความแรงปืนมันก็ขึ้นกับขนาดของเตาที่จ่ายไฟให้ได้ซึ่งแน่นอนเครื่องใหญ่ ๆ จะสามารถให้พลังได้มากกว่าอยู่แล้ว และถ้าจะเอาดาบเข้าไปฟัน ขอให้นึกภาพดี ๆ นะ 18 กับ 106 มันผิดไซด์กันขนาดไหน และดาบใครจะใหญ่กว่า นึกถึงมดสู้กับยักษ์เลย ส่วนฉากต่อสู้ขอให้นึกหลักความจริงเข้าว่าอย่าไปยึดติดอะไรกับเกมมากนัก เกมมันมีข้อจำกัด และสถานที่ ๆ สู้กันน่ะบางทีกลางเมืองนะ และคนในเมืองไปไหนกันหมดและท่าที่ซัด ๆ กันออกมาสร้างความเสียหายขนาดไหน และรอบ ๆ บริเวณจะพังบรรลัยแค่ไหน แล้วนิสัยคนน่ะมันก็ไม่เหมือนกันหรอก บางตระกูลไทยมุงทั้งหลายจะต้องดูให้แน่ก่อนว่าเกิดอะไรขึ้นแล้วถึงจะหนี เรื่องอายุตัวละครก็สำคัญ สำหรับบางเรื่องตัวละครที่อายุน้อยมากไปมันก็ไม่เหมาะ ลองนึกความจริงเอาไว้ให้มากหน่อยว่า ความคิดสติปัญญา การตัดสินใจ ประสบการณ์ และภาวะทางจิตมันจะรับได้หรือเปล่า

    7. อันนี้สำหรับท่านที่ทำการรับสมัครตัวละคร ขอความกรุณาอ่านความสามารถของที่เขาสร้างตัวละครให้ดี ๆ ก่อน อย่าเอะอะอะไรก็ตามใจฉันไปซะหมด หากเขาอ่านแล้วมันไม่ตรงกับสเป็กที่เขาวางไว้ ผู้สร้างก็จะเสียอารมณ์เอาได้

    8. รายละเอียดปลีกย่อยของฟิก ก็เป็นส่วนช่วยเสริมให้ฟิกดูดีขึ้น เช่นข้อมูลสถานที่ และข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้ช่วยให้ฟิกดูมีความสมจริงมากขึ้น และการเขียนฟิกอย่าเอาแต่ความสนุกอย่างเดียวเราควรสอดแทรกสิ่งดี ๆ เช่นข้อคิด หรือคติเตือนใจลงไปด้วย ซึ่งจะทำให้ฟิกเรามีคุณค่าเพิ่มขึ้นอีกไม่น้อยเลย

    ----------------------------------------------------------------------

    สุดท้ายนี้เราเชื่อว่าข้อความนี้จะสร้างประโยชน์ให้ทุกคนไม่มากก็น้อยล่ะนะ เราขอบอกน้องใหม่ ( ? ) ทุก ๆ คนไว้ที่นี่ด้วยว่า ไม่มีใครแต่งฟิกเก่งแต่เกิดหรือสร้างผลงานที่ยอดเยี่ยมได้ในงานครั้งแรก หลายๆคนเองก็ผ่านประสบการณ์ทางด้านนี้มาพอสมควรโดนติซะก็ไม่ใช่น้อย แต่ขอให้ทุก ๆ คนที่มีใจจะแต่งฟิกอย่าได้ท้อถอยกับการล้มแค่ครั้ง 2 ครั้งตราบใดที่เรายังมีใจสู้ซักวันเราก็จะไปถึงจุดที่เราฝันไว้อย่างแน่นอน เพราะเราเชื่อว่าทุกคนมีจินตนาการที่ดีเยี่ยมแต่ยังถ่ายถอดได้ไม่เก่งเท่านั้นเอง สุดท้ายนี้ขอให้ทุกคนรังสรรค์ผลงานได้ดังทีใจหวังทุกคนน๊า~

    -----------------------------------------------------------------------
    โอย หมดซักที เยอะมากกกกกกก
  3. playmaker7

    playmaker7 New Member

    EXP:
    4
    ถูกใจที่ได้รับ:
    0
    คะแนน Trophy:
    0
    ขอบคุณครับ เป็นประโยชน์มากจริงๆ
  4. pop30711

    pop30711 New Member

    EXP:
    1,155
    ถูกใจที่ได้รับ:
    0
    คะแนน Trophy:
    0
    ขอบคุณมากครับ ไว้ซักวันจะนำไปประยุกต์ในการเขียนนิยายบ้าง
  5. lukkung

    lukkung New Member

    EXP:
    28
    ถูกใจที่ได้รับ:
    0
    คะแนน Trophy:
    0
    ชอบจัง ที่รวบรวมอาวุธต่างๆ ไว้อย่างละเอียด
    อ่านแล้ว มีไฟที่อยากเขียน fic ของตัวเองขึ้นมาตะหงิดๆ
  6. pisko

    pisko New Member

    EXP:
    814
    ถูกใจที่ได้รับ:
    0
    คะแนน Trophy:
    0
    ขอบคุณมากครับ ช่วงนี้กำลังซุ่มฟิคอยู่ ไว้ได้ฤกษ์จะเอามาลงที่ AF ที่แรกนี่แหละ หุหุ
  7. XErnasa

    XErnasa New Member

    EXP:
    22
    ถูกใจที่ได้รับ:
    0
    คะแนน Trophy:
    0
    ...ร้องไห้เลยค่ะ TT-TT ซาบซึ้งมาก... อ่านไปได้ครึ่งทางก็น้ำตาซึมไม่รู้ตัว (นี่อ่านบทความหรือนิยายอยู่เนี่ย _ _" )

    ส่วนตัวเป็นคนที่มีปัญหาเรื่องการเขียนนิยายอยู่แล้ว
    แบบว่า คิดได้นะคะ เรื่องแบบนี้เป็นแบบนี้ไปต่ออย่างนี้
    แต่พอลงมือเขียนจริง... กลับนั่งค้างอยู่หน้าจออย่างเดียว... ไม่รู้ว่าจะเขียนอย่างไรให้เป็น "นิยาย" น่ะค่ะ T^T

    ชอบบทความมากมาก ขอเซฟเก็บไว้นะคะ ยามเขียนไม่ออก ก็จะมาอ่านบทความนี้หล่ะ

    ขอบคุณค่ะ V3V

    ปล. ชอบข้าวไข่ดาวจัง ตรงส่วนอธิบาย "คะ" กับ "ค่ะ" ก็ชอบ เพราะบางทีก็เจอใช้ผิดเหมือนกันค่ะ ^ ^
  8. cdaz

    cdaz นักเล่นแร่ แปรภาพ

    EXP:
    2,015
    ถูกใจที่ได้รับ:
    0
    คะแนน Trophy:
    86
    ขอบคุณมากครับ
    ของผมเสียวๆ จะหลุดไปทางไก่ทอดพิศดาร เพราะรสนิยมส่วนตัวชอบพวกเนื้อเร่องแปลกๆ (และทำอาหารเมนูแปลกๆ ออกมากินจริงๆด้วย ไม่ใช่แค่เปรียบเปรย)

    ส่วนเรื่องข้อมูลไม่รู้ทำไมผมเป็นอย่างนี้คือยิ่งหาข้อมูลเยอะ ยิ่งตัน ถนัดนั่งเทียนก่อนค่อยหาข้อมูลมาซ่อมตรงที่ไร้สาระ
    ถ้าค้นข้อมูลเป็นตั้งๆ ก่อนผมจะเกิดอาหารผีเนิร์ดเข้าสิง พลังจินตนาการสูญหายหมด เหอๆๆ
  9. Eindeloze

    Eindeloze New Member

    EXP:
    40
    ถูกใจที่ได้รับ:
    0
    คะแนน Trophy:
    0
    เคยอ่านมาหมดแล้วครับ ... ก็ที่บอร์ดประมูลนั่นแหละ

    แต่ก็ขอบคุณที่นำมันมาโพสเพื่อเป็นประโยชน์โดยส่วนรวมของผู้อื่นนะครับ
  10. Lucrecia

    Lucrecia New Member

    EXP:
    78
    ถูกใจที่ได้รับ:
    0
    คะแนน Trophy:
    0
    ยาววววว ....

    ^w^

    ขอบคุณนะค่ะ ที่มาแนะนำ

    จะได้มีแนวทางแต่งอีกหลายๆ เรื่อง
  11. tasaki13

    tasaki13 New Member

    EXP:
    71
    ถูกใจที่ได้รับ:
    0
    คะแนน Trophy:
    0
    ^00^ ขอบคุณครับ จะเอาไปลองทำตามนะครับ
  12. kuralua

    kuralua Member

    EXP:
    220
    ถูกใจที่ได้รับ:
    0
    คะแนน Trophy:
    16
    ขอบคุณของรับ หุๆๆ แจ่มเลย
  13. Ryuune

    Ryuune Well-Known Member

    EXP:
    1,084
    ถูกใจที่ได้รับ:
    0
    คะแนน Trophy:
    86
    ขอบคุณค่ะ กำลังจะลงฟิคตัวเอง(เขียนได้ราว ๆ 8 ตอนแล้ว แต่ยังไม่ได้ลงที่นี่) จะได้เป็นแนวทางแก้ไขก่อนลง
  14. preciousnani

    preciousnani New Member

    EXP:
    62
    ถูกใจที่ได้รับ:
    0
    คะแนน Trophy:
    0
    เขียนได้ดีจริงๆนะคะ เพราะเราก็เคยเข้าไปสู่วังวนน้ำหมึกของนักเขียนพักหนึ่ง
    รู้สึกว่าช่วงแรกที่เริ่มจรดปากกาลงไปนั้น (สมัยที่ยังไม่มีเวลานั่งหน้าจอคอมฯนานๆ)

    มีครบเลยค่ะ ทั้ง ข้าวไข่ดาว,ไก่ทอด,แกงเขียวหวาน รวมทั้งอาจมีเมนูอื่นๆ เช่น
    กระเพราไก่ตามมาด้วย ซึ่งทั้งซ้ำซาก จำเจ แหวกแนวเกินไป และไม่มีข้อมูล

    ยิ่งพออ่านทำให้รู้สึกว่ากว่านักเขียนคนหนึ่งจะผูกเรื่องราวเรื่องหนึ่งให้กลายเป็น
    นิยายกลั่นมาเล่มหนึ่งได้นั้น จะต้องมีความรู้ที่จะนำมาเขียนมากมาย

    เทใจสนับสนุนกับบทความข้างบนค่ะ ^^
  15. GatheringUrza

    GatheringUrza New Member

    EXP:
    11
    ถูกใจที่ได้รับ:
    0
    คะแนน Trophy:
    0
    ชอบทฤษฏีเป่ายิงฉุบมาก ๆ ดูเป็นเหตุเป็นผลและค่อนข้างใช้งานได้จริงทีเดียว ในเรื่องของความสมดุลรุกรับได้เปรียบเสียเปรียบ

    อ่านเพลิน ๆ ดีครับ เป็นสิ่งที่ดีมากหากตั้งใจอ่านจนจบ (แสดงว่าแกอ่านไม่จบใช่ม้ายยย)

    ปล.[นอกเรื่อง]ผมไม่ชอบระบบกรองคำผิดที่ถือวิสาสะเปลี่ยนข้อความเลย เช่นตระกูล <<~ คือถ้าสามัญสำนึกดีพอเขาคงไม่ต้องพึ่งระบบพวกนี้กันหรอกครับ มันทำให้คำอื่นผิดความหมายไปทั้งที่ไม่ใช่คำหยาบสักนิด สมัยก่อนระบบนีนิยมมาก ไม่รู้เพื่ออะไร เอิ๊ก ๆ
    ปปล. แต่มันก็เป็นระบบของบอร์ดเก่าอะน่อ คงติด ๆ มา
  16. violetblood

    violetblood New Member

    EXP:
    130
    ถูกใจที่ได้รับ:
    0
    คะแนน Trophy:
    0
    ขอบคุณมากค่ะ อธิบายได้ละเอียดจริงๆ
  17. aurora

    aurora คาตะโอโม่ย

    EXP:
    1,631
    ถูกใจที่ได้รับ:
    0
    คะแนน Trophy:
    86
    ไล่อ่าน....

    เป็นบทความที่ดีมากครับ ผมเองก็เคยมีแต่งนิยายไว้เรื่องนึงเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ปัจจุบัน Now ดองing และคิดว่าได้กฤกษ์กลับมาเขียนต่อซะที

    แต่คงต้องรีไรท์ใหม่หมด เพราะลองย้อนกลับไปอ่านดู รู้ว่ามันแย่ขนาดไหน...เหอๆๆ
  18. mikijung

    mikijung New Member

    EXP:
    18
    ถูกใจที่ได้รับ:
    0
    คะแนน Trophy:
    0
    ขอบคุณค่ะสำหรับบทความ

    แล้วจะนำเคล็ดลับนี้ไปใช้ต่อค่ะ

    ^__^
  19. primavista

    primavista Member

    EXP:
    102
    ถูกใจที่ได้รับ:
    0
    คะแนน Trophy:
    16
    ขอถามหน่อยครับ ก่อนแต่งควรจะแนะนำตัวละครกับความสามารถที่ใช้ได้ไหมครับ หรือว่า อธิบายไว้หลังบททีเดียว
  20. maxlancer

    maxlancer ประธานรุ่น2ตุรกีเชียงใหม่

    EXP:
    1,183
    ถูกใจที่ได้รับ:
    1
    คะแนน Trophy:
    88
    ขอโทษจริงๆครับ กระทู้ติดหมุด มันมองไม่ค่อยเห็น=="

    ในกรณีที่ถามมา ก็แล้วแต่นะครับว่า อยากจะแต่งแบบไหน ในบางครั้งอาจจะแค่เกริ่นตัวละครคร่าวๆ แล้วก็เผยแค่คสามสามารถเท่าที่ตาเห็นก่อนก็ได้ แล้วก็ค่อยๆเผยเยื้องลึกเบื้องหลังทีเดียวตอนหลัง จะช่วยทำให้ตัวละครดูน่าติดตาม (ตัวอย่างเช่น บลีซเทพมรณะ ด้านความสามารถของดาบ ปลกปล่อย หรือ เรื่อง RAVE ที่ค่อยๆเผยว่าพระเอกเป็นลูกของราชวงค์ และ ก็ค่อยๆเผยพลังของดาบทีละเล่ม)
  21. mewwe

    mewwe Banned

    EXP:
    114
    ถูกใจที่ได้รับ:
    0
    คะแนน Trophy:
    0
    ฟิคของเราถูกหลักบ้างแหละนะ แต่ว่ามีแบบว่าตัวละครในเรื่องมาคุยกับคนเขียนจะดีไหมเนี่ย หรือถูกติอย่างหนักจนน้องมิววี่ช็อกตาย(เวอร์)

    ช่วยมาติชมบ้างนะ (บอกหลายรอบแล้วทำไมไม่เห็นมีคนมาเมนท์เลยอะ)

    <-<-<-กดที่รูปหนังสือได้เลย จะได้ไม่ลำบากมาเข้าฟิคชั่น/มิววี่นิยาย
  22. Shion

    Shion Gamer

    EXP:
    609
    ถูกใจที่ได้รับ:
    3
    คะแนน Trophy:
    38
    โอ้ว บทความยาวมากเลย กว่าจะอ่านจบ
    ขอบคุณสำหรับบทความ ครับ
  23. lovetoto

    lovetoto Well-Known Member

    EXP:
    755
    ถูกใจที่ได้รับ:
    0
    คะแนน Trophy:
    86
    เป็นบทความที่สามารถทำให้คนที่หมดกำลังใจแต่งได้อ่านแล้วรู้สึกอยากแต่งขึ้นมาอีก...(ทำไมตูอ่านบ่อยจังฟะ!! -*-)
  24. artast

    artast A.K.Thathap

    EXP:
    227
    ถูกใจที่ได้รับ:
    0
    คะแนน Trophy:
    16

Share This Page