รู้จัก ประกันลดหย่อนภาษี กับการวางแผนทางการเงินเพื่อประโยชน์ 2 ต่อ

กระทู้จากหมวด 'แลกเปลี่ยน & แจกของ' โดย muthita, 15 เมษายน 2024.

  1. muthita

    muthita Member

    EXP:
    78
    ถูกใจที่ได้รับ:
    0
    คะแนน Trophy:
    6
    หากพูดถึงการวางแผนการเงิน ประกันน่าจะเป็นตัวแปรสำคัญมาก เพราะเป็นวางแผนเกษียณฉบับมนุษย์เงินเดือนที่สามารถให้ความคุ้มครองชีวิต สวัสดิการด้านการรักษาพยาบาล และยังเป็นหนึ่งในช่องทางการออมที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝากในธนาคารอีกด้วย ที่สำคัญยังสามารถนำค่าใช้จ่ายในการทำประกันไป ลดหย่อนภาษีประกันชีวิต ได้อีกด้วย


    ประกันสะสมทรัพย์ยื่นลดหย่อนภาษีได้เท่าไหร่ หากคุณเป็นคนที่มีรายได้แล้ว ถือเป็นคำถามสำคัญในการเลือกทำประกัน หรือประเภทของการประกันชีวิต ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตมีหลายรูปแบบ ได้แก่ ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ ซึ่งเน้นให้ความคุ้มครองชีวิตในระยะยาว, ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา เน้นการคุ้มครองชีวิตในช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น และประกันสะสมทรัพย์ลดหย่อนภาษีเป็น ประกันที่เน้นด้านการออมเงินควบคู่ไปกับการประกันชีวิต โดยจะให้ความคุ้มครองชีวิตในระยะเวลาที่กำหนดและเมื่อครบกำหนดเวลาแล้ว หากผู้ทำประกันยังมีชีวิตอยู่ก็จะได้รับเงินก้อนพร้อมดอกเบี้ยตามข้อตกลง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นอัตราที่สูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝากในธนาคาร ซึ่งถือเป็นอีกประเภทของการทำประกันชีวิตที่ได้รับความนิยมมาก โดยเฉพาะในยุคที่ดอกเบี้ยเงินฝากต่ำกว่าเงินเฟ้อ ทั้ง 3 ประเภทของการทำ ประกันลดหย่อนภาษี เงินได้ประจำปีสูงสุดได้ไม่เกิน 100,000 บาท


    หากสนใจการทำประกันชีวิตแบบควบการลงทุน ประกันสะสมทรัพย์ยื่นลดหย่อนภาษีซึ่งตอบโจทย์คนที่ต้องการทำประกันและต้องการผลตอบแทนที่สูงขึ้นจากการลงทุนด้วย ดังนั้นเบี้ยประกันชีวิตประเภทนี้จึงถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วนได้แก่ ส่วนที่เป็นค่าใช้จ่ายของบริษัทประกัน, ส่วนที่ 2 เป็นส่วนของความคุ้มครองที่จะให้กับผู้เอาประกัน และส่วนที่ 3 เป็นเงินที่จะถูกแบ่งไปใช้เพื่อลงทุน การลดหย่อนภาษีเงินได้จากการทำประกันประเภทนี้จึงคิดเฉพาะเบี้ยส่วนที่เป็นความคุ้มครองเท่านั้น และต้องเป็นความคุ้มครองที่มีระยะเวลามากกว่า 10 ปีขึ้นไป โดยจะต้องนำเบี้ยในส่วนนี้ไปรวมกับเบี้ยประกันชีวิตประเภทอื่นก่อนยื่นลดหย่อนภาษี ไม่เกิน 100,000 บาท


    นอกจากนี้ยังมีประกัน "ประกันบำนาญ" ซึ่งเป็นที่นิยมของกลุ่มคนที่ต้องการหลักประกันด้านรายได้หลังเกษียณการทำงาน ประกันชีวิตประเภทนี้กำหนดให้ผู้เอาประกันต้องจ่ายเบี้ยไปจนครบกำหนดอายุที่ระบุไว้ หลังจากนั้นทางบริษัทจะจ่ายเงินให้เป็นงวดหลังเกษียณ โดยสามารถนำค่าใช้จ่ายจากการทำประกันประเภทนี้ไปหักลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 15% ของรายได้ แต่ต้องไม่เกิน 200,000 บาท และเมื่อนำไปคำนวณรวมกับสิทธิลดหย่อนเพื่อการเกษียณอายุอื่น ๆ เช่น กองทุน RMF หรือกองทุน SSF สิทธิลดหย่อนภาษีจะต้องไม่เกิน 500,000 บาท


    สามารถเลือกแผนประกันที่เหมาะสมกับคุณได้ที่ธนาคารกรุงไทย https://krungthai.com/th/personal/insurance/life-insurance และนอกจากการทำประกันชีวิตกับธนาคารกรุงไทยที่สามารถช่วยลดหย่อนภาษีได้แล้ว ผู้ที่ต้องการเพิ่มเติมสิทธิลดหย่อนภาษียังสามารถใช้การลงทุนในกองทุนรวมระยะยาวที่สามารถลดหย่อนภาษีได้ ซึ่งมีทั้งกองทุนแบบ SSF และ RMF เข้ามาใช้เพิ่มเติมสิทธิในการลดหย่อนภาษี ซึ่งขณะนี้ บลจ.กรุงไทย ได้ออกแบบกองทุนประเภทนี้ให้มีความหลากหลายและตอบโจทย์กับนักลงทุนทุกสไตล์ อาทิ กองทุนเปิดกรุงไทย SET50 เพื่อการเลี้ยงชีพ เป็นกองทุน RMF ที่เน้นการลงทุนระยะยาวในตลาดหุ้นไทย กลุ่ม SET 50 และกองทุนรวมกรุงไทยเพื่อการออม ชนิดเพื่อการออม 70/30 เป็นกองทุนแบบผสมสำหรับคนที่ไม่ชอบความเสี่ยงมากนัก จะเน้นกระจายการลงทุนไปในตลาดหุ้นและตลาดตราสารทางการเงิน รวมถึงยังมีกองทุนรวมเพื่อวางแผนเกษียณฉบับมนุษย์เงินเดือน ลดหย่อนภาษีให้เลือกอีกมากมาย หรือแม้แต่สิ่งที่ต้องเตรียมเมื่อไปต่างประเทศ โดยสามารถสอบถามได้จาก บลจ.กรุงไทย หรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.ktam.co.th

Share This Page