5 คำถามที่คุณต้องตอบให้ได้ก่อนซื้อ ประกันสะสมทรัพย์

กระทู้จากหมวด 'ETC' โดย muthita, 15 พฤษภาคม 2024.

  1. muthita

    muthita Member

    EXP:
    107
    ถูกใจที่ได้รับ:
    0
    คะแนน Trophy:
    16
    ประกันชีวิตคือการประกันที่ให้ความคุ้มครองชีวิตและได้เงินเอาประกันเมื่อเสียชีวิตหรือเมื่ออยู่ครบสัญญาตามประเภทของประกันชีวิต เป็นประกันที่ให้ความคุ้มครองระยะยาว แตกต่างจาก ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ที่เราจะได้เงินเอาประกันเมื่อเจ็บป่วย หรือ ประกันอุบัติเหตุ เมื่อประสบอุบัติเหตุ


    ประกันสะสมทรัพย์ คือการประกันชีวิตประเภทหนึ่งที่บริษัทประกันจะจ่ายเงินให้แก่ผู้เอาประกันภัยเมื่อมีชีวิตอยู่ครบกำหนดสัญญา หรือจ่ายเงินเอาประกันภัยให้แก่ผู้รับประโยชน์เมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตลงภายในระยะเวลาเอาประกันภัย ประกันชีวิตสะสมทรัพย์เป็นประกันที่ให้ทั้งการคุ้มครองชีวิตและการออมทรัพย์ โดยในส่วนของการออมทรัพย์นั้นผู้เอาประกันภัยจะได้เมื่อครบกำหนดสัญญา


    ถ้าคุณต้องการบริหารความเสี่ยงในชีวิตโดยการซื้อประกันสะสมทรัพย์ เรามี 5 คำถามที่คุณต้องตอบเพื่อที่จะทำให้คุณมั่นใจว่าประกันชีวิตสะสมทรัพย์เหมาะสมกับคุณ

    1. ระดับความเสี่ยง ถ้าคุณยอมรับความเสี่ยงต่ำ การเปิดบัญชีเงินฝาก หรือการซื้อประกันชีวิตเป็นการลงทุนที่ดีกว่าการซื้อหุ้นหรือกองทุน เพราะได้รับผลตอบแทนคงที่ไม่ว่าสภาพเศรษฐกิจเป็นอย่างไร

    2. สภาพคล่องกับวินัยทางการเงิน ถ้าคุณให้ความสำคัญกับสภาพคล่อง เงินฝากออมทรัพย์จะมีสภาพคล่องที่สุด รองลงมาคือเงินฝากประจำ และประกันชีวิตตามลำดับ แต่ถ้าคุณให้ความสำคัญกับการมีวินัยทางการเงิน ประกันชีวิตจะทำให้คุณมีวินัยทางการเงินมากที่สุด รองลงมาคือเงินฝากประจำ และเงินฝากออมทรัพย์

    3. สิทธิประโยชน์ทางภาษี ดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายเมื่อได้รับดอกเบี้ยเกินกว่า 20,000 บาท/ปี ดอกเบี้ยเงินฝากประจำจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% ตั้งแต่บาทแรก กรณีเงินฝากประจำปลอดภาษีคุณจะได้รับยกเว้นภาษีเฉพาะยอดเงินฝากไม่เกิน 600,000 บาท ภาษีหัก ณ ที่จ่ายของดอกเบี้ยเงินฝาก สามารถนำมายื่นภาษีเงินได้ประจำปีเพื่อขอคืนภาษีได้ แต่สำหรับผลประโยชน์ที่ได้จากประกันชีวิตจะได้รับการยกเว้นภาษีทั้งหมด ยิ่งกว่านั้นเบี้ยประกันชีวิตที่คุ้มครองตั้งแต่ 10 ปี สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 100,000 บาท/ปี และไม่เกิน 200,000 บาท/ปี กรณีประกันชีวิตแบบบำนาญ

    4. ความคุ้มครองที่ต้องการ ประกันชีวิตโดยพื้นฐานแล้วมี 4 แบบดังนี้

    ความคุ้มครอง

    แบบประกันชีวิตที่เหมาะสม

    ช่วงชีวิตที่เหมาะสม

    คุ้มครองการเสียชีวิต

    แบบตลอดชีพ

    เริ่มทำงาน, สร้างครอบครัว

    คุ้มครองการเสียชีวิต

    แบบชั่วระยะเวลา

    สร้างครอบครัว

    คุ้มครองการเสียชีวิตพร้อมสะสมทรัพย์

    แบบสะสมทรัพย์

    เริ่มทำงาน, สร้างครอบครัว

    คุ้มครองการมีชีวิตยืนยาว

    แบบบำนาญ

    ก่อนเกษียณ


    1. ความสามารถในการจ่ายเบี้ยประกัน นอกจากความคุ้มครองที่คุณต้องการ คุณต้องพิจารณาระยะเวลาคุ้มครอง จำนวนเงินเอาประกัน เงินคืนเมื่อครบสัญญา และความสามารถในการจ่ายเบี้ยประกันด้วย

    แบบประกันชีวิต

    ระยะเวลาคุ้มครอง

    เงินคืน

    เบี้ยประกัน

    แบบตลอดชีพ

    คุ้มครองถึงอายุ 90, 99 ปี

    มีเงินคืน

    ค่อนข้างต่ำ

    แบบชั่วระยะเวลา

    คุ้มครองระยะเวลาหนึ่ง เช่น 5, 10, 15, 20 ปี

    ไม่มีเงินคืน

    ต่ำที่สุด

    แบบสะสมทรัพย์

    ความคุ้มครองระยะยาว เช่น 10, 20 ปี

    มีเงินคืน

    สูง

    แบบบำนาญ

    เป็นเงินออมเมื่อเกษียณอายุ 55, 60 ปี

    มีเงินคืน

    สูง


    ถ้าคุณยอมรับความเสี่ยงต่ำ ต้องการสร้างวินัยทางการเงิน ต้องการสิทธิประโยชน์ทางภาษี ต้องการความคุ้มครองชีวิตและออมเงินในเวลาเดียวกัน อยู่ในช่วงเริ่มทำงานหรือกำลังสร้างครอบครัว มีความสามารถในการจ่ายเบี้ยประกันต่อเนื่องระยะยาวประกันชีวิตสะสมทรัพย์ ประกันออมทรัพย์เป็นทางเลือกของคุณ


    นอกจากการประกันชีวิตที่ได้รับเงินเอาประกันเมื่อครบสัญญาหรือเมื่อคุณเสียชีวิต คุณสามารถซื้อประกันเพิ่มเพื่อรับความคุ้มครองด้านอื่นได้อีก เช่น ประกันสุขภาพเหมาจ่ายทำประกันอุบัติเหตุ ( ประกันPA ) ประกันอัคคีภัยบ้าน ประกันโรคร้ายแรง และ ประกันชีวิตผู้สูงอายุ สำหรับผู้เอาประกันที่มีอายุ 50 - 75 ปี คุ้มครองกรณีเสียชีวิต แต่สามารถเพิ่มเติมสัญญาสุขภาพและอุบัติเหตุได้

Share This Page