"เหตุผลในการศึกษาวิทยาศาสตร์" ในความเข้าใจของฉัน

กระทู้จากหมวด 'ETC' โดย artast, 28 พฤษภาคม 2011.

  1. artast

    artast A.K.Thathap

    EXP:
    227
    ถูกใจที่ได้รับ:
    0
    คะแนน Trophy:
    16
    เหตุผลในการศึกษาวิทยาศาสตร์นั้น
    มีหนังสือมากมายบอกว่าวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องที่สนุก
    โดยยกข้อสนับสนุนมากมายมาเป็นหลักฐาน อย่างเช่น "ความสนุกสนาน" เป็นต้น

    อย่างไรก็ตามการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ มักจะตามมาด้วยการนอนกลางวันเสมอ

    และการนอนหลับ ไม่ใช่พฤติกรรมที่มนุษย์แสดงออกมาเวลาที่สนุก

    เป็นหลักฐานที่จับต้องได้ง่าย ทำให้คนคิดว่าวิทยาศาสตร์ไม่สนุกครับ


    ต่อมาถ้าเราจะมองในแง่ของการใช้ประโยชน์

    "
    ทนาย" ไม่จำเป็นต้องรู้กฎทางเคมีเวลาตัดสินคดีความ
    "
    หมอ" ไม่จำเป็นต้องรู้ว่าจะลงมีดผ่าตัดด้วยแรงกี่นิวตัน
    ดังนั้นการเรียนวิทยาศาสตร์เพื่อ "ความสนุก" หรือเพื่อ "ใช้ประโยชน์"


    จึงอาจจะยังเป็นเหตุผลซึ่งยังไม่เพียงพอ ที่จะทำให้เราเห็นคุณค่าของวิทยาศาสตร์


    หรือบางทีมันอาจเป็นเพียงการหาเหตุผล เพื่อปกป้องสิ่งที่ตนรักก็เป็นได้


    มันคือเหตุผลของคนที่ชอบวิทยาศาสตร์ ซึ่งพูดออกมาจากใจจริง

    ทว่าบางทีมันอาจไม่เพียงพอสำหรับเรา

    แล้วเหตุผลสำหรับเรานั้น ผมเชื่อว่ามีอยู่อย่างแน่นอน

    เพราะวิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่มี
    "คุณค่า" ต่อเราไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
    และผมเชื่อว่าในที่สุดผู้อ่านจะเข้าถึงหัวใจ ซึ่งเป็นพหูพจน์ของวิทยาศาสตร์นี้ได้


    หัวใจดวงที่เหมาะสมกับเรา และรอการค้นหาอยู่ครับ


    ปล.ผมเคยเขียนไว้ที่ Scihearts น่ะ
  2. Azemag

    Azemag Aze McDowell

    EXP:
    2,368
    ถูกใจที่ได้รับ:
    262
    คะแนน Trophy:
    163
    ความสนุกสนานอาจจะไม่ใช่ประโยชน์หลัก แต่ก็เป็นผลพลอยได้ที่ได้จากกระบวนการเรียนรู้


    ความสนุกมิได้อยู่ที่การเรียนทฤษฎี หากแต่เกิดจากการทดลองปฏิบัติจริง
    ผลลัพธ์แห่งความสุข สนุกสนานจะปรากฎขึ้นก็ต่อเมื่อผู้นั้นมีความชอบในสิ่งที่ตัวเองทำ

    ทำด้วยความเต็มใจจริงๆ


    แต่ก็นั่นแหละครับ กระบวนการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในหลักสูตรการศึกษาของไทยแทบจะทุกระดับมันมีปัญหา
    มันเลยทำให้วิทยาศาสตร์ไม่สนุกเอาเสียเลยสำหรับผู้เรียน (หรือแม้กระทั่งผู้สอนก็ไม่สนุกด้วยเช่นกัน)
  3. lionheart

    lionheart มือเบสกากๆ

    EXP:
    301
    ถูกใจที่ได้รับ:
    0
    คะแนน Trophy:
    16
    ตอนเด็กๆผมเคยคิดเหมือนกันครับว่า เรียนคณิต วิทย์ไปทำไม ไม่เห็นได้ใช้อะไร

    พอโตๆมาหน่อยเริ่มคิดได้ครับ

    คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สำหรับผมมันมีคุณค่า คือ เรียนรู้ไว้เพื่อ "ฝึก และ พัฒนา" สมองครับ

    เป็นวิชาพื้นฐานของการใช้เหตุผล ส่งเสริมการคิด การสร้างความเข้าใจต่อตนเองและโลก

    ทุกวันนี้ถ้าผมเจอเด็กๆหรือน้องๆบ่นเรื่องนี้ ผมก็จะพยามชี้ให้เค้าเห็นครับ ว่ามันอาจไม่มีประโยชน์ให้เห็นโดยตรง แต่มันแฝงคุณค่าในตัวมันเองไว้อยู่ครับ

    :)
  4. ffpokemon

    ffpokemon Editor

    EXP:
    1,691
    ถูกใจที่ได้รับ:
    79
    คะแนน Trophy:
    113
    ในฐานะที่เรียนทางด้านวิทยาศาสตร์มา และรักวิชานี้เป็นอย่างมาก ผมขอแสดงความเห็นอย่างใจจริงครับ
    ว่าเนื้อหาวิชาวิทยาศาสตร์ที่หลักสูตรของประเทศไทยใส่มาให้เราเรียนตอนประถม-ม.ต้น-ม.ปลาย นั้น "ไม่เหมาะสม" อย่างแรง

    (ซึ่งจะว่าไปก็ไม่ใช่แค่วิชาวิทยาศาสตร์หรอก ผมมองว่าหลักสูตรวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาไทย สังคม ฯลฯ ก็ทำมาห่วยพอ ๆ กัน)

    นั่นเป็นหนึ่งในสาเหตุที่คนมากมายเรียนแล้วไม่ชอบ ไม่สนุก ไม่เห็นประโยชน์ และไม่ได้เอาไปใช้จริงครับ



    หลักสูตร มัธยมของประเทศไทยมักจะเน้นไปที่การยัด "เนื้อหา" เข้าไปเยอะ ๆ เพื่อให้เด็กสามารถทำโจทย์ได้ แล้วคิดว่าเด็กจะเก่ง
    แต่จริง ๆ แล้วสิ่งสำคัญกว่าการทำโจทย์ได้ คือการที่เด็ก "คิดเป็น" ในแนวทางของวิชานั้น ๆ ครับ

    การยัดเนื้อหาเข้าไปเยอะแยะ เช่นวิชาเคมีก็ยัดเข้าไปตั้งแต่ตารางธาตุ โครงสร้างอะตอม สารประกอบ มวลสารสัมพันธ์ พันธะเคมี จลศาสตร์เคมี
    สมดุลเคมี ไฟฟ้าเคมี เคมีอินทรีย์ กรด-เบส สารประกอบเชิงซ้อน การอ่านชื่อสาร ความจุความร้อน ฯลฯ ทั้งหมดนี้ผมยังมองไม่ออกเลยว่า
    คนที่ไม่ได้ทำอาชีพในสายวิทยาศาสตร์จะรู้ไปหมด ทำโจทย์ได้หมด ไปทำไม และสำหรับอาชีพที่จะใช้ก็ไปเรียนซ้ำอีกใน Gen Chem ของมหาลัยอีก


    เชื่อไหมครับว่าผมมีเพื่อนที่เรียนเคมีได้เกรด 4 ตลอด ทำโจทย์ได้หมด แต่ยังเข้าใจว่านักบินอวกาศกินอาหารแคปซูลสองเม็ดแล้วอิ่มได้
    เพื่อนคนนี้ยังเข้าใจว่าถ้าเอาทองแดงจุ่มไปในสารละลายซิลเวอร์ไนเตรดแล้วจะเกิดปฏิกิริยาเสมอเพราะ E0 ของโลหะเงินสูงกว่า

    เพื่อนอีกคนนึงเรียนได้เกียรตินิยมอันดับหนึ่งแต่เวลาเอาไขมันมาทำปฏิกิริยากับเบสเพื่อทำสบู่แล้วมันไม่เติมน้ำ

    นี่แสดงว่าแนวคิดเรื่องกฏทรงมวล แนวคิดเรื่องศักย์ไฟฟ้าของขั้วขึ้นกับความเข้มข้นมัน เรื่อง ฯลฯ มันไม่ได้อยู่ในหัวของคนพวกนี้เลย
    ในหัวคนพวกนี้ไม่ได้มี "แนวคิด" ของวิชาเคมีเลย มีแต่ "สูตร" ที่เอาไว้ทำข้อสอบเฉย ๆ



    ถ้าให้ผมเป็นคนวางหลักสูตร ผมจะตัดรายละเอียดปลีกย่อยที่มันไม่ได้เสริมแนวคิดพื้นฐานที่ใช้ต่อยอดไปสู่ความรู้อื่น ๆ ทิ้งให้หมด
    พวกการทดลองของรัทเทอร์ฟอร์ด สเปกตรัมของไฮโดรเจนอะตอม การอ่านชื่อแอลเคน แอลคีน แอลไคน์
    พวกนี้ผมมองว่าไม่เห็นมีประโยชน์กับคนทั่วไปเลย ยกเว้นแต่คนนั้นจะเรียนต่อคณะวิทยาศาตร์ ซึ่งค่อยไปเรียนเอาตอนมหาลัยก็ได้
    เวลาตอน ม.ต้น ม.ปลาย จะได้มาทำความเข้าใจกับแนวคิดสำคัญ ๆ เช่นกฏทรงมวล โมเลกุล สมดุลเคมี พันธะเคมี เทอร์โมไดนามิกส์เคมีพื้นฐาน

    แล้วถ้ามีเวลาเหลือก็เอาไปให้ความรู้กับสิ่งรอบตัว เช่นพลาสติกประกอบจากสารอะไร น้ำมันประกอบจากสารอะไร ในกระจกมีอะไร
    ในร่างกายเรามีสารเคมีหลัก ๆ อะไร ทำอย่างนู้นอย่างนี้แล้วจะเกิดผลที่น่าสนใจอย่างไร



    นี่ขนาดวิชาที่เห็นภาพได้ง่ายอย่างวิชาเคมียัง "เละ" ขนาดนี้
    คงไม่ต้องพูดถึงคณิตศาสตร์ และฟิสิกส์เลย สองวิชานี้มีเด็กนักเรียนเกลียดมากที่สุดเพราะอะไร

    เพราะหลักสูตรไทยมัน "สอนอะไรก็ไม่รู้" ไงเล่า แทนที่จะเอาแนวคิดที่จำเป็นต่อการต่อยอดมาสอน
    กลายเป็นว่ายัดเนื้อหาซะเต็มไปหมด ท่องสูตรกันไม่หวาดไม่ไหว แล้วสุดท้ายก็ไม่ได้ใช้ เด็กมันจะไม่เกลียดได้ยังไงล่ะคร้าบ



    ปล.ส่วนตัวผมชอบวิชาเคมีมากครับ และเรียนจบทางสายนี้มาโดยตรง แต่ขอยอมรับอย่างจริงใจเลยว่า
    ตอน ม.ปลายผมเรียนเคมีในห้องเรียนไม่สนุกเลย การนั่งอ่าน text ภาษาอังกฤษเองต่างหากที่ทำใช้ผมสนุกกับมันจริง ๆ
  5. gomora

    gomora Board Protector

    EXP:
    726
    ถูกใจที่ได้รับ:
    0
    คะแนน Trophy:
    0
    ผมเสริมความเห็นสั้นๆ 2 อันสำหรับ การศึกษาวิทยาศาสตร์ บ้านเราในตอนนี้นะครับ

    การศึกษา : "เงินเดือนครู มันอยู่ไม่ได้"
    คุณครู : "สอบตกมาก ครูผู้สอนถูกพิจารณา"


    วิทยาศาสตร์ แก่นคือ วิธีการ พิสูจน์ สิ่งที่เราสงสัย ด้วยขั้นตอน 4 ขั้นตอน
    1. สังเกต
    2. ตั้งคำถาม
    3. ทำนายผล
    4. ทดลองด้วยกระบวนการที่ทำซ้ำได้ หลายๆครั้ง แล้วสรุปผล

    ส่วนเรื่องสมการต่างๆ ที่ ดูแล้วไม่น่าจะได้ใช้ในชีวิตประจำวัน จริงๆ แล้วมันคือการยก case การทดลองต่างๆที่เคยเกิดขึ้น
    และได้รับการพิสูจน์ มาแล้ว ว่าเป็นจริง ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน (อนาคตอาจจะเปลี่ยนแปลงไปได้ :)) มาให้เราได้เรียนรู้กันเองครับ

    ซึ่ง เครื่องมือที่ใช้ในบรรยายผลลัพธ์ผลการทดลองต่างๆ นั้น คือ คณิตศาสตร์ ในรูปแบบ ของ สมการน่าปวดหัวต่างๆ นั่นเอง :)


    จากข้างต้น ผมรับรองได้ครับว่า ยังไงๆ คุณๆก็ยังต้องใช้วิทยาศาสตร์ และหลักการเหล่านี้ ในชีวิตประจำวันแน่นอนครับ
    เพียงแต่ ไม่ได้อยู่ในรูปของสมการเท่านั้นเอง :)
  6. identity

    identity Active Member

    EXP:
    580
    ถูกใจที่ได้รับ:
    0
    คะแนน Trophy:
    36
    ไม่รู้จะพูดอะไรให้ยาวยืดดี แต่บอกได้คำเดียวเลยว่าการที่ผมได้เรียนวิทยาศาสตร์คือเรื่องที่ดีที่สุดในชีวิต :medance.: :medance.: :medance.:

Share This Page