สิ่งที่ควรพูดหรือไม่ควรพูดตามทัศนะของท่านพุทธทาส

กระทู้จากหมวด 'ETC' โดย A.K.Thathap, 20 มกราคม 2012.

  1. A.K.Thathap

    A.K.Thathap Active Member

    EXP:
    128
    ถูกใจที่ได้รับ:
    36
    คะแนน Trophy:
    28
    "...ทีนี้ถ้าจะใช้คำว่าอย่างไรดี ก็มีหลักว่าเราไม่พูดว่าอะไรเป็นอะไรโดยส่วนเดียว
    เราไม่พูดว่าซ้ายหรือขวา บวกหรือลบหรืออะไรเด็ดขาดลงไปโดยส่วนเดียว
    เราถือความถูกต้องหรือความพอดีเป็นหลัก นี่ พุทธศาสนาพอจะจำไว้ว่าไม่พูดโดยส่วนเดียว
    แล้วยังระวังมาก เกี่ยวกับเรื่องที่จะพูดจากัน หรือสั่งสอนผู้อื่นนี้
    พระพุทธเจ้าท่านมีหลักว่า ถ้ามันดีจริง มีประโยชน์แล้วก็เป็นอันว่าต้องพูด
    ต้องพูดเสมอไป (เหมือนกับที่เราพูดว่า เหมือนที่เราเถียงกัน ทะเลาะกัน ชกต่อยกันด้วยยืนยันว่า "จริงนี่หว่า")
    ถ้าจริงแล้วเราก็ต้องพูด แล้วก็ต้องยืนยัน เพราะฉะนั้นต้องดูอีกทีว่าที่จริงนั้นมันมีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์
    แล้วก็จริงนั้นมันน่าฟังหรือไม่น่าฟัง ถ้าเอาเรื่องพระพุทธเจ้าที่ตรัสไว้ เราก็จะพบหลักเกณฑ์อย่างนี้
    คือถ้าเรื่องนั้นมันไม่มีประโยชน์ แล้วมันก็ไม่จริงด้วย แล้วมันก็ไม่น่าฟังเด้วย เป็นอันว่าไม่พูดเลย
    เขาเรียกว่าชักสะพานแปลว่าไม่พูดเลย ทีนี้ถ้าว่ามันมีประโยชน์ด้วย แล้วมันเป็นเรื่องจริงด้วย
    แล้วมันน่าฟังด้วยนี้ถึงจะพูด - พูดแน่นอน ทีนี้ถ้าว่ามันไม่มีประโยชน์ แม้มันจะจริงหรือน่าฟัง ก็ไม่พูด
    มันจึงไม่มีเรื่องพูดเล่น พูดสนุกพูดอะไรทำนองนี้ ที่ว่าจริงแต่ไม่มีประโยชน์หมายความว่ามันไม่อยู่ในวิสัย
    ที่จะเป็นประโยชน์ เรื่องจริงมันมีเยอะแยะไป แต่มันไม่อยู่ในวิสัยที่จะเป็นประโยชน์ เรื่องจริงนี้ไม่มีประโยชน์
    แล้วก็แม้จะน่าฟังก็ไม่พูด ทีนี้เรื่องนี้มันจริง มีประโยชน์ด้วย จริงด้วย แต่มันไม่น่าฟัง
    อย่างนี้ต้องดูก่อน ต้องดูสถานะกาละ บุคคลอะไรดูก่อนว่า ควรจะพูดหรือไม่ควรจะพูด
    เพราะฉะนั้นจึงเห็นได้ว่าแม้จะจริิง แม้จะมีประโยชน์ก็ยังดูเวลา กาละ สถานะอะไรกันก่อน นั่นแหละพระพุทธศาสนามีหลักอย่างนี้ เราไม่รู้จะเรียกอะไรดีก็ยกตัวอย่างให้คิดกันเอาเอง
    ให้เรียกเอาเองว่าเราไม่พูดอะไรซ้ายขวา โผงผางไปโดยส่วนเดียว นั่นแหละคือหลักของพระพุทธศาสนา ไม่กล่าวลงไปโดยส่วนเดียว มันต้องแล้วแต่เหตุผล มันต้องแล้วแต่ความเหมาะ ผู้ที่จะทำตนเป็นพุทธบริษัทที่ดี
    ต้องมีหลักอย่างนี้ จึงจะเป็นไปตามหลักของพระพุทธศาสนา เพราะฉะนั้นจึงอยู่เหนือการที่เป็น
    Optimist หรือ Persimist เป็นปฏิเสธหรือรับ หรือว่าแพ้ หรือเอาตัวรอด พูดกันไปข้างเดียว
    โดนส่วนเดียวเป็นอันว่าไม่มี นี่เป็นอีกลักษณะของบรมธรรม..."

    หนังสือธรรมะกำมือเดียวที่จำเป็นสำหรับทุกคน หน้า 222​
    คำบรรยายหลักพระพุทธศาสนา ครั้งที่ 4/2511 เรื่องบรมธรรม บรมสุข บรมครู​
    บรรยายอบรมผู้ที่จะเป็นผู้พิพากษา ณ ห้องประชุมของกระทรวงยุติธรรม​
    23 มกราคม 2511​

Share This Page